ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาอีสาน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 29:
# ภาษาลาวตะวันตก (ภาษาลาวร้อยเอ็ดหรือภาษาอีสาน) ไม่มีใช้ในประเทศลาว เป็นภาษาที่ใช้ในท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ท้องที่ร้อยเอ็ด​ อุดรธานี ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม บุรีรัมย์ หนองคาย(บางหมู่บ้าน) และบริเวณใกล้เคียง[[มณฑลร้อยเอ็ด]]ของสยาม สำเนียงนี้มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในพื้นที่ส่วนมากของภาคอีสานสำเนียงนี้ส่วนมากจะใช้''สระเอียแทนสระเอือ''ในปัจจุบันจนได้ขึ้นชื่อว่าเป็นสำเนียงกลางหรือสำเนียงมาตรฐานของภาษาอีสาน เทียบเท่ากับ แหลงใต้ อู้คำเมือง พูดไทยกลาง ของแต่ละภาค
 
ส่วนภาษาเขียนในอดีตใช้[[อักษรธรรมล้านช้าง]]หรือตัวธรรม สำหรับบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมะหรือพระพุทธศาสนา และเขียนด้วย[[อักษรไทน้อย]]หรือตัวลาวเดิม (เป็นอักษรลาวล้านช้างโบราณ มีความแตกต่างกับอักษรลาวในประเทศลาวในปัจจุบันเล็กน้อย) สำหรับเรื่องราวทางโลก อักษรลาวล้านช้าง (ตัวลาวหรืออักษรไทน้อย) มีพยัญชนะ 20 เสียง สระเดี่ยว 18 เสียง สระประสม 2-3 เสียง บางท้องถิ่นไม่มีเสียงสระเอือแต่จะใช้สระเอียแทน ในปัจจุบันนิยมใช้[[อักษรไทย]]สำหรับเขียนบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ทั้งในทางโลกและทางธรรม เนื่องจากผู้คนส่วนใหญ่ไม่สามารถอ่านตัวอักษรธรรมและอักษรลาวออก แต่ความนิยมในการเขียนบันทึกเป็นภาษาถิ่นไม่ค่อยได้รับความนิยมนัก โดยส่วนใหญ่ภาษาเขียนในท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยจะใช้[[อักษรไทย]]และบันทึกเป็นภาษาไทยกลางเป็นหลักแทน เพราะในสมัยราชกาลที่5 มีคำสั่งให้เผาใบลานเอกสารสำคัญ ที่เขียนด้วยตัวอักษรธรรมลาวและอักษรไทน้อย ในวัดเก่าและวัดโบราณทุกจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(ภาคอีสาน)เพื่อป้องกันไม่ให้มีการแบ่งแยกดินแดน
 
==ตัวอย่างประโยคภาษาไทยถิ่นอีสาน==