ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การออกแบบอย่างสากล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ลบส่วนประเทศไทย ไม่สากล
บรรทัด 1:
'''การออกแบบเพื่อทุกคน''' (Universal Design) หมายถึง การออกแบบผลิตภัณฑ์ และสภาพแวดล้อม ที่ปราศจากการออกแบบหรือดัดแปลงเป็นพิเศษ เป็นการออกแบบที่ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้าง ขวางเท่าที่เป็นไปได้มากที่สุด โดยไม่มีข้อจำกัดทางด้านอายุและสภาพร่างกาย<ref>"Ronald L. Mace on NC State University, College of Design". Design.ncsu.edu. Retrieved 2013-07-26.</ref>  &nbsp;ทั้งนี้แนวคิดดังกล่าว ถูกผลักดันจากกลุ่มผู้สูงอายุ และคนพิการ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของการออกแบบเพื่อทุกคน การทำความเข้าใจเรื่องผู้สูงอายุและคนพิการ จึงเป็นเรื่องสำคัญ
=== '''การออกแบบเพื่อทุกคน''' ('''Universal Design''')<ref>สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชินูปถัมภ์  คู่มือปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมการออกแบบสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน (Universal design Code of Practice), 2008</ref><ref>ไตรรัตน์  จารุทัศน์ ,การออกแบบเพื่อทุกคน ,2018</ref> ===
หมายถึง การออกแบบผลิตภัณฑ์ และสภาพแวดล้อม ที่ปราศจากการออกแบบหรือดัดแปลงเป็นพิเศษ เป็นการออกแบบที่ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้าง ขวางเท่าที่เป็นไปได้มากที่สุด โดยไม่มีข้อจำกัดทางด้านอายุและสภาพร่างกาย<ref>"Ronald L. Mace on NC State University, College of Design". Design.ncsu.edu. Retrieved 2013-07-26.</ref>  ทั้งนี้แนวคิดดังกล่าว ถูกผลักดันจากกลุ่มผู้สูงอายุ และคนพิการ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของการออกแบบเพื่อทุกคน การทำความเข้าใจเรื่องผู้สูงอายุและคนพิการ จึงเป็นเรื่องสำคัญ
 
พัฒนาการการออกแบบเพื่อทุกคนนี้ เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1950 ซึ่งเป็นแนวคิดการออกแบบใหม่สำหรับคนพิการในยุโรป ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา จากแนวคิดเรื่องการออกแบบที่ปราศจากสิ่งกีดขวาง (Barrier-free design) มีการพัฒนาขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคในการสร้างสภาพแวดล้อมสำหรับคนที่มีความพิการทางร่างกาย ตามแนวทางของเครือข่ายทางสังคมในการดูแลคนพิการ โดยพัฒนาจากการดูแลแบบสถาบัน (Institutional care) เช่น โรงพยาบาล สถานสงเคราะห์ เป็นต้น ไปสู่การดูแลแบบชุมชน (Community care) การออกแบบนี้จะแยกการออกแบบพิเศษเป็นการเฉพาะ โดยเฉพาะกับผู้มีข้อจำกัดทางร่างกายที่รุนแรง
 
ในปี ค.ศ. 1970 บางส่วนของยุโรปและสหรัฐอเมริกา เริ่มเปลี่ยนแนวคิดจากการออกแบบเฉพาะ  เจาะจง (Exclusive design) มาเป็นแนวคิดการออกแบบที่ครอบคลุม (Inclusive design) เป็นการทำให้ง่ายขึ้น และเริ่มใช้คำว่าการออกแบบที่สามารถเข้าถึงได้ (Accessible design) ในประเทศสหรัฐอเมริกา การเคลื่อนไหวสิทธิของคนพิการเป็นรูปเป็นร่างในช่วงกลางยุคปี 70 บนวิสัยทัศน์ของสิทธิมนุษยชน โดยพระราชบัญญัติสำหรับชนกลุ่มน้อย ปี ค.ศ. 1964 ที่มีเป้าหมายเพื่อความเท่าเทียมกันของโอกาสและการดูแล เป็นครั้งแรกที่การออกแบบนี้ได้รับการยอมรับเป็นเงื่อนไขเพื่อให้บรรลุถึงสิทธิมนุษยชน<ref>The Institute for Human Centered Design (IHCD), Boston, 2015.</ref> พัฒนาการของการออกแบบเพื่อทุกคนในแต่ละประเทศจึงมีรายละเอียดที่แตกต่างกันบ้างตามสภาพสังคม เศรษฐกิจ และการผลักดันของกลุ่มคนพิการและผู้สูงอายุ
 
'''จาก “การออกแบบที่ปราศจากสิ่งกีดขวาง (Barrier – free design)”'''
เส้น 18 ⟶ 17:
ในสหรัฐอเมริกา โรเนล แอล เมซ (Ronald L. Mace: 1941 – 1998) ผู้ก่อตั้งศูนย์การออกแบบสากลในมหาวิทยาลัยแห่งรัฐแคโรไลน่าเหนือ (North Carolina State University) สถาปนิกที่เป็นโรคโปลิโอตั้งแต่เด็ก ผู้ซึ่งใช้รถเก้าอี้ล้อเลื่อนและเครื่องช่วยหายใจ เริ่มใช้คำว่า “การออกแบบเพื่อทุกคน” (Universal Design) และหาวิธีการที่จะกำหนดให้ “การออกแบบเพื่อทุกคน” สัมพันธ์กับ “การออกแบบที่สามารถเข้าถึงได้” เขากล่าวว่าการออกแบบเพื่อทุกคนไม่ได้เป็นศาสตร์ใหม่ ไม่ได้เป็นสไตล์ใหม่ หรือไม่ซ้ำกับแนวทางใดแนวทางหนึ่ง มันเป็นการรับรู้ของความต้องการและวิธีการที่จะใช้สามัญสำนึกในการออกแบบ ทุกอย่างที่เราออกแบบและผลิตใช้งานสามารถใช้งานได้กับทุกคน มีขอบเขตการใช้งานที่กว้างขวางที่สุดเท่าที่เป็นไปได้<ref>Institute for Human Centered Design, 2008.</ref> และศูนย์การออกแบบเพื่อทุกคนมหาวิทยาลัยนอร์ทคาโรไลนาร์ (The Center for Universal Design, North Carolina State University) ได้ตีพิมพ์หลัก 7 ประการของการออกแบบเพื่อทุกคน<ref>Connell, et al, 1997; North Carolina State University, 1997.</ref> ที่ทุกคนยอมรับและอ้างอิงมาจนถึปัจจุบัน
[[ไฟล์:The_Center_for_Universal_Design,_North_Carolina_State_University.jpg|alt=|center|thumb|400x400px|ภาพแสดงหลัก 7 ประการของการออกแบบเพื่อทุกคนของ ]]
 
=== '''พัฒนาการด้านกฎหมายของการออกแบบเพื่อทุกคน''' ===
สำหรับพัฒนาการของการออกแบบเพื่อทุกคนในประเทศไทย สามารถดูจากแผนงานและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเพื่อทุกคน ซึ่งเกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้สูงอายุและคนพิการ โดยเริ่มจาก '''พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ ปี พ.ศ. 2546''' ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับสิทธิได้รับการพัฒนาตนเองและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม การรวมกลุ่มในลักษณะเครือข่ายหรือชุมชนของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุมีสิทธิได้รับการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยในอาคารสถานที่ ยานพาหนะ หรือการบริการสาธารณะอื่น รวมถึงผู้สูงอายุมีสิทธิได้รับการคุ้มครอง การส่งเสริมและการสนับสนุนในหลายๆ ด้าน เช่น การบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุข การรับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต การพัฒนาตนเองและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม การรวมกลุ่มในลักษณะเครือข่ายหรือชุมชน
 
หลังจากนั้นได้มี '''พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550''' ได้ระบุให้คนพิการมีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ ตลอดจนสวัสดิการและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ สิทธิที่จะนำสัตว์นำทาง เครื่องมือหรืออุปกรณ์นำทาง หรือเครื่องช่วยความพิการใดๆ ติดตัวไปในยานพาหนะหรือสถานที่ใดๆ เพื่อประโยชน์ในการเดินทางและการได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ โดยได้รับการยกเว้นค่าบริการค่าธรรมเนียมและค่าเช่าเพิ่มเติม สำหรับสัตว์ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องช่วยความพิการดังกล่าว เจ้าของอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ บริการขนส่ง หรือผู้ให้บริการสาธารณะอื่นที่จัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการเหล่านั้น จะได้สิทธิได้รับการลดหย่อนภาษีหรือยกเว้นภาษีเป็นร้อยละของจำนวนเงินค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายกำหนด
 
ที่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของพัฒนาการของการออกแบบเพื่อทุกคนในประเทศไทย คือการออก '''กฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพและคนชรา พ.ศ. 2548'''<ref>กระทรวงมหาดไทย. กฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการ หรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ. 2548, 2548.</ref> ของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีผลประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2548 โดยได้กำหนดให้อาคารดังต่อไปนี้จัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพและคนชรา ตามที่กฎกระทรวงกำหนดในบริเวณที่เปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไป
 
'''กฎกระทรวงกำหนด ลักษณะ หรือการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการในอาคาร สถานที่ หรือบริการสาธารณะอื่น พ.ศ. 2555'''<ref>กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. กฎกระทรวงกำหนดลักษณะ หรือการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการในอาคาร สถานที่ หรือบริการสาธารณะอื่น เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ พ.ศ. 2555, 2555.</ref> ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555 โดยกำหนดการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการในอาคารหรือสถานที่ โดยอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกที่จัดให้ต้องมีสภาพมั่นคงแข็งแรงและปลอดภัยในการใช้งาน เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการพิเศษแต่ละประเภท เพื่อคนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้
 
[[ไฟล์:กฎกระทรวง_2558.jpg|center|418x418px]]
 
=== '''การออกแบบที่ปราศจากสิ่งกีดขวาง''' '''(The "Barrier-Free" Design)''' ===
เส้น 39 ⟶ 27:
ในปี ค.ศ. 2000 รัฐบาลสหราชอาณาจักรกำหนดให้ “การออกแบบที่ครอบคลุม” (Inclusive Design) หมายถึง “สินค้า บริการ และสภาพแวดล้อมที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคจำนวนที่มากที่สุด รวมถึงการดูแลสุขภาพและที่อยู่อาศัยสำหรับทุกคน” Inclusive Design ถูกนำมาใช้ในยุโรป ซึ่งนอกเหนือไปจากกลุ่มผู้สูงอายุและคนพิการแล้ว ยังมุ่งเน้นไปที่กลุ่มอื่นๆ ที่ไม่อยู่ในกระแสหลักของการบริโภคเช่น กลุ่มเด็ก อีกด้วย
 
 &nbsp;  &nbsp;  &nbsp;   &nbsp;&nbsp; โดยสรุปแล้วแนวคิด '''การออกแบบเพื่อทุกคน''' (Universal Design) นี้ เริ่มต้นจาก '''การออกแบบที่ปราศจากสิ่งกีดขวาง''' (The "Barrier-Free" concept) หรือ '''การออกแบบที่สามารถเข้าถึงได้''' (Accessibility Design) ซึ่งเป็นการออกแบบสำหรับคนพิการหรือผู้มีความบกพร่องทางร่างกายเข้าใช้ประโยชน์ได้ และต่อมาได้ถูกขยายขอบเขตมาถึงการออกแบบสภาพแวดล้อมที่สร้างขึ้น บริการ วัฒนธรรม และข้อมูล หรือที่เรียกว่า '''การออกแบบสำหรับคนทั้งมวล''' (Design for All: DFA) '''การออกแบบที่ครอบคลุม''' (Inclusive Design) และนำมาสู่แนวคิด '''การออกแบบเพื่อทุกคน''' (Universal Design) ซึ่งเป็นการออกแบบที่ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ได้ครอบคลุมแนวคิดทั้งหมดดังกล่าว และมีหลักการหลัก 7 ประการ ที่จะอธิบายในลำดับต่อไป
 
=== '''หลัก 7 ประการของการออกแบบเพื่อทุกคน**''' ===
'''การออกแบบเพื่อทุกคน''' (Universal Design) เป็นแนวความคิดสากลที่องค์การสหประชาชาติได้พยายามเผยแพร่และส่งเสริม จากแนวความคิดดั้งเดิมที่ให้คนพิการได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตในอาคารและสิ่งแวดล้อมตามโครงการ Promotion of Non-Handicapping Physical Environment for Disabled Persons และได้มีการพัฒนามาเป็นลำดับเป็น Accessible Design, Adaptable Design, Barrier Free Design ซึ่งในที่สุดก็เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปในหลักการของ Universal Design ซึ่งประกอบด้วย '''หลัก 7 ประการ'''<ref>** ในปี 1997 ผู้เข้าร่วมประชุมการออกแบบเพื่อทุกคน ได้แก่'': Bettye Rose Connell, Mike Jones, Ron Mace, Jim Mueller, AbirMullick, Elaine Ostroff, Jon Sanford, Ed Steinfeld, Molly Story, Gregg Vanderheiden. &nbsp; ได้สรุปหลัก 7 ประการ'' การออกแบบเพื่อทุกคนขึ้น ''หลัก 7 ประการดังกล่าวเป็นลิขสิทธิ์ของ The Center for Universal Design, School of Design, State University of North Carolina at Raleigh [USA].''
</ref> ดังรายละเอียด
 
==== '''หลัก 7 ประการของการออกแบบเพื่อทุกคน (The 7 Principals of Universal Design)''' ====
1. ทุกคนใช้ได้อย่างเท่าเทียมกัน(Equitable Use)            
 
2. มีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนการใช้ได้(Flexible Use)                                  
 
3. ใช้งานง่าย    (Simple and Intuitive)                            
 
4. การสื่อความหมายเป็นที่เข้าใจง่าย(Perceptible Information)
 
5. การออกแบบที่เผื่อการใช้งานที่ผิดพลาดได้ (Tolerance for Error)
 
6. ใช้แรงน้อย (Low Physical Effort)
 
7.มีขนาดและพื้นที่ที่เหมาะสมกับการเข้าถึงและใช้งาน (Size and Space for Approach and Use)
 
ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
 
===== '''1. ทุกคนใช้ได้อย่างเท่าเทียมกัน (Equitable Use)''' =====
เส้น 82 ⟶ 53:
[[ไฟล์:Flexible_Use2.jpg|center|thumb|415x415px|ภาพแสดงเก้าอี้ผู้โดยสารบนรถไฟฟ้าที่สามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้เป็นที่สำหรับรถเก้าอี้ล้อเลื่อนคนพิการได้]]
 
===== '''3. ใช้งานง่าย (Simple and Intuitive Use)  &nbsp;''' =====
เป็นการออกแบบที่ง่ายต่อความเข้าใจ โดยไม่คำนึงถึงประสบการณ์ระดับความรู้หรือทักษะการใช้ภาษาของผู้ใช้''' &nbsp;''' การควรง่ายต่อการเข้าใจ โดยไม่คำนึงถึงประสบการณ์ความรู้ภาษาหรือระดับความชำนาญของผู้ใช้ เป็นการออกแบบที่เรียบง่าย
 
ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้โดยง่ายจากสามัญสำนึก
เส้น 94 ⟶ 65:
 
===== '''5.การออกแบบที่เผื่อการใช้งานที่ผิดพลาดได้ (Tolerance for Error)''' =====
เป็นการออกแบบที่สามารถลดอันตรายจากอุบัติเหตุและผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์ หรือการกระทำที่ไม่ได้ตั้งใจ การออกแบบควรลดอันตรายหรืออุบัติเหตุต่างๆ อันอาจจะเกิดขึ้นได้โดยไม่ตั้งใจ  &nbsp;
[[ไฟล์:Tolerance_for_Error.jpg|center|thumb|326x326px|ภาพแสดงทางลาดที่มีขอบกันตกและมีพื้นผิวต่างสัมผัสชนิดเตือนก่อนถึงทางลาดป้องกันอุบัติเหตุเผื่อการใช้งานที่ผิดพลาดได้]]