ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จารีตและวิถีประชา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Wedjet (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
Wedjet (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 8:
จารีตประเพณีนั้นวิวัฒนามาจาก'''ศีลธรรม''' ({{lang-en|morality}}) ซึ่งเกิดแต่ความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์แต่ละคนว่าการกระทำอย่างไรชอบ อย่างไรไม่ชอบ เกิดจากมโนสำนึกและมโนธรรมของแต่ละคน<ref>มานิตย์ จุมปา. (2548). "สังคมและความประพฤติ". ''ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย''. มานิตย์ จุมปา, บรรณาธิการ. (พิมพ์ครั้งที่หก) กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 13.</ref> มีขึ้นได้เพราะแต่ละคนมีสติปัญญาจะหยั่งรู้ว่าเมื่อตนกระทำอย่างไรไปแล้ว อีกฝ่ายจะรู้สึกนึกคิดอย่างไร และจะมีปฏิกิริยาอย่างไร<ref>ปรีดี เกษมทรัพย์. (2526). ''กฎหมายแพ่ง : หลักทั่วไป.'' กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์. หน้า 6.</ref>
 
ศีลธรรมนั้นมีอยู่ในทุกสังคมมาแต่โบราณกาล และเป็นกฎเกณฑ์ควบคุมความประพฤติอย่างเดียวกับกฎหมายเช่นกัน แต่ก็มี''ความแตกต่าง''กับกฎหมายในหลาย ๆ ด้าน เช่น ศีลธรรมมีวัตถุประสงค์มุ่งเอาความสมบูรณ์ของจิตใจ เน้นมโนสำนึกเป็นหลัก ส่วนกฎหมายนั้นเน้นรักษาความสงบของส่วนรวมเป็นหลัก ซึ่งบางทีก็ไม่เกี่ยวกับมโนสำนึก เช่น การคิดปองร้ายผู้อื่นอยู่ในใจ กฎหมายไม่ถือว่าผิด แต่ทางศีลธรรมว่าเป็นผิดเป็นชั่ว อย่างไรก็ดี ศีลธรรมกับกฎหมายนั้นก็มี''ความสัมพันธ์''กันในฐานะที่เป็นวิวัฒนาการแห่งกัน เป็นต้นว่า มีกฎหมายหลายบทหลายมาตราที่กำหนดว่าการกระทำที่ขัดต่อ '''"ศีลธรรมอันดีของประชาชน"''' เป็นสิ่งที่กฎหมายไม่รับรู้ แต่กรณีนี้ต้องเป็นศีลธรรมที่คนหมู่ยืดถือร่วมกัน ไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง และต้องเป็นศีลธรรมอันดีด้วย<ref>มานิตย์ จุมปา. (2548). "สังคมและความประพฤติ". ''ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย''. มานิตย์ จุมปา, บรรณาธิการ. (พิมพ์ครั้งที่หก) กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 14.</ref>
 
อันศีลธรรมนั้น หากเป็นของที่คนหมู่ซึ่งประกอบอาชีพลักษณะเดียวกันถือร่วมกัน ศีลธรรมของวิชาชีพนั้นจะเรียก '''"จริยธรรม"''' ({{lang-en|ethics}}) เช่น จริยธรรมของแพทย์ จริยธรรมของนักกฎหมาย