ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผักตบชวา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 35:
ผักตบชวาจัดเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่เข้ามาแพร่ระบาดรุกรานจนก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศในประเทศไทย มีการแพร่ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว ใน 1 เดือนผักตบชวาเพียง 1 ต้นอาจขยายพันธุ์ได้มากถึง 1,000 ต้น ถึงแม้น้ำจะแห้งจนต้นตายแต่เมล็ดของมันก็ยังมีชีวิตต่อไปได้นานถึง 15 ปีและทันทีที่เมล็ดได้รับน้ำที่เพียงพอมันก็จะแตกหน่อเป็นต้นใหม่ต่อไป<ref>[http://www.sarapee.ac.th/index.php?name=Content&pid=50 คุณและโทษผักตบชวา] โรงเรียนสารภีพิทยาคม</ref> จนกลายเป็นปัญหาทางน้ำและทวีความรุนแรงจนเป็นปัญหาระดับประเทศ ทำให้รัฐบาลต้องเสียงบประมาณในการกำจัดผักตบชวาจำนวนมาก ซึ่งไม่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้น อีกกว่า 50 ประเทศทั่วโลกก็เจอปัญหาเช่นเดียวกัน เว้นแต่ประเทศในแถบ[[ยุโรป]]เท่านั้นที่ปลอดการรบกวน และบริเวณที่ถูกผักตบชวาคุกคามมากที่สุดคือ [[ทะเลสาบวิกตอเรีย]]
 
ประเทศไทยเริ่มมีการกำจัดผักตบชวามาตั้งแต่สมัย[[รัชกาลที่ 6]] มีการออกพระราชบัญญัติสำหรับกำจัดผักตบชวา [[พ.ศ. 2456]]<ref>[http://www.pub-law.net/library/act_paktob.html พระราชบัญญัติสำหรับกำจัดผักตบชวา พ.ศ. 2456] www.pub-law.net</ref><ref>เว็บไซต์ไทยรัฐ (Th)วันเสาร์ที่ [[27 เมษายน]] [[พ.ศ. 2545]]</ref> ปัจจุบันมีหน่วยงานและองค์กรต่างๆต่าง ๆ ได้เข้ามาช่วยเหลือในการกำจัด เช่น นำไปผลิตเป็นของใช้ อาหารสัตว์ ทำปุ๋ย ฯลฯ และมีการนำแมลงมวนผักตบจากแหล่งกำเนิดที่ทวีปอเมริกาใต้ เข้ามาทดลองปล่อยในประเทศไทย เพื่อควบคุมจำนวนประชากรของผักตบชวา
 
ผักตบชวาเป็นพืชที่ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วโดยเฉพาะช่วงฤดูฝนจึงมีปริมาณมากในช่วงนั้น สารเคมีที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น ผงซักฟอก ปุ๋ย เป็นธาตุอาหารของพืชน้ำโดยเฉพาะผักตบชวาเป็นอย่างดี แพผักตบชวาจะกีดขวางการเดินทางของน้ำ อัตราการไหลของน้ำจึงลดลง กีดขวางการระบายน้ำของประตูน้ำ อีกทั้งยังทำให้ระบบนิเวศเสียหาย แม้ผักตบชวาจะสามารถดูดซึมธาตุอาหารที่เป็นตัวการทำให้น้ำเสีย แต่เมื่อมีปริมาณมากเกินไปจะส่งผลกระทบกับสิ่งมีชีวิตใต้น้ำ กล่าวคือ สัตว์ใต้น้ำจะขาดออกซิเจนและตายลง รวมถึงการบดบังแสงแดดที่เป็นส่วนหนึ่งของการสังเคราะห์แสงของพืชใต้น้ำจะทำให้พืชเหล่านั้นเน่าและตายไป ดังนั้นจึงเกิดน้ำเน่าเสียอย่างง่ายดาย<ref>{{cite web|url=http://buraphanews.blogspot.com/|title= ปัญหาจากผักตบชวา !|accessdate=24 กันยายน 2559}}</ref><ref>{{cite web|url=http://www.jr-rsu.net/article/202|title= ผักตบชวา...วัชพืชร้ายคู่สายน้ำ !|accessdate=24 กันยายน 2559}}</ref><ref>{{cite web|url=http://www.natres.psu.ac.th/radio/radio_article/radio37-38/37-380010.htm|title= บทความวิทยุรายการสาระความรู้ทางการเกษตร