ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยสวนดุสิต"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 130:
พ.ศ. 2484 โรงเรียนได้ย้ายจาก[[วังจันทรเกษม]] (ที่ตั้ง[[กระทรวงศึกษาธิการ]]ปัจจุบัน) มาตั้งอยู่ในบริเวณ[[วังสวนสุนันทา]] บนพื้นที่ประมาณ 37 ไร่ (รวมพื้นที่โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ) บนกรรมสิทธิ์ที่ดินของ [[สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์]] ซึ่งเป็นบริเวณที่ตั้งของมหาวิทยาลัยในปัจจุบันและเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนการเรือนพระนคร” ย้ายสังกัดจากกองอาชีวศึกษาไปสังกัดกองฝึกหัดครู [[กรมสามัญศึกษา]] เปิดสอนหลักสูตร ป.กศ., ป.กศ. ชั้นสูง
 
*<b>วังสวนสุนันทา [[พระราชวังดุสิต]]</b> เมื่อ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เสด็จมาประทับที่พระราชวังสวนดุสิตเป็นการถาวรหลังจาก[[การเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่สอง]]แล้ว ทรงมีพระราชดำริที่จะสร้างพระราชอุทยานขึ้นทางด้านหลังของ[[พระที่นั่งอัมพรสถาน]] โดยให้มีลักษณะแบบสวนป่าแต่อยู่ในวังเพื่อเป็นที่ประทับของพระมเหสี พระราชธิดา และข้าบาทบริจาริกาของพระองค์ภายในสวนนี้ด้วย และพระราชทานนามสวนนี้ว่า “[[สวนสุนันทา]]” เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่[[สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี]] สวนนี้เป็นหนึ่งในสี่สวนสร้างล้อมรอบพระราชวังดุสิตตามความเชื่อเรื่องสวนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ซึ่งมีอุทยานสวรรค์ 4 แห่งประกอบด้วย สวนนันทวัน หรือ นันทวนุทยาน หรือ สวนสุนันทา(ที่ตั้งของมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน รวมไปถึงเป็นที่ตั้งของ[[กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย]] [[กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น]] และกองการสื่อสาร [[กรมการปกครอง]] ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย) สวนจิตลดาวันหรือ สวนจิตรลดา (ที่ตั้งพระตำหนักสวนจิตรลดาปัจจุบัน) สวนปารุสวัน(ที่ตั้งกองบัญชาการตำรวจนครบาลปัจจุบัน) และสวนมิสกวัน (ที่ตั้งกองบัญชาการกองทัพภาค1ปัจจุบัน) ที่ตั้งสวนสุนันทาแต่เดิมคงจะเป็นที่ว่างระหว่างถนน 4 สาย คือ ถนนตะพานทอง (ถนนสามเสนใน) ถนนดวงดาวใน (ถนนนครราชสีมา) ถนนใบพร (ถนนอู่ทองนอก) และ ถนนซังอี้ (ถนนราชวิถี) จึงโปรดให้ขยายเขตพระราชฐานออกไปถึงถนนตะพานทอง และขยายถนนให้ใหญ่ขึ้นเท่าถนนซังอี้และถนนใบพร เอาถนนดวงดาวในมาเป็นถนนภายในพระราชวัง พร้อมทรงคาดการณ์ว่าเมื่อสร้างเสร็จแล้วจะโปรดฯ ให้รื้อกำแพงพระราชฐานด้านหลังออก รวมบริเวณสวนสุนันทาเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของพระราชฐาน แต่ได้เสด็จสวรรคตเสียก่อนการรื้อกำแพงด้านหลังจึงระงับไป มีเพียงทางติดต่อจากเขตพระราชฐานทางด้านถนนบ๊วยเพียงประตูเดียวรัชกาลที่ 6 จึงได้พระราชทานนามประตูนี้ว่า “สุนันทาทวาร”
ในสวนสุนันทานี้มีตำหนักรวมทั้งสิ้นจำนวน 32 ตำหนัก (อยู่ในฝั่งโรงเรียนการเรือนพระนคร 15 ตำหนัก) พระตำหนักที่สำคัญในพื้นที่โรงเรียนการเรือนพระนคร เช่น พระตำหนักพระราชชายา [[เจ้าดารารัศมี]](ปัจจุบันรื้อถอนไปแล้วตั้งอยู่บริเวณทางเชื่อมอาคาร 2 และ 3), พระตำหนัก[[สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า]](แต่ไม่ได้เสด็จมาประทับ) ปัจจุบันคืออาคารศิลปวัฒนธรรม, สมเด็จพระราชปิตุจฉา [[เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์]](ปัจจุบันรื้อถอนไปแล้วตั้งอยู่บริเวณสระว่ายน้ำสวนดุสิต) เป็นต้น และรัชกาลที่ 6 โปรดฯ ให้สร้างท้องพระโรง ([[พระที่นั่งนงคราญสโมสร]]) ในปี พ.ศ. 2465