ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
SystemOperation (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
ย้อนกลับไปรุ่นที่ 5872638 โดย Awksauceด้วยสจห.
ป้ายระบุ: ทำกลับ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 5:
 
== ประเภทของยา ==
แบ่งตาม พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม<ref>httpshttp://www.googlepharmanet.comco.th/searcharticles.php?sourceaction=hp&ei=8gpFXczpF4HCz7sPv5Cx2AM&q=%E0%B8%A2%E0%B8%B2&oq=%E0%B8%A2%E0%B8%B2&gs_l=psy-ab.3..0l10.834.4079..6018...1.0..0.274.653.2j0j2......0....1..gws-wiz.....10..35i39j0i131.iNEWmcREb9E&ved=0ahUKEwjMqqSS7OXjAhUB4XMBHT9IDDsQ4dUDCAU&uactarticle_no=531</ref>
 
* [[ยาสามัญประจำบ้าน]] เป็นยาที่ได้รับการพิจารณาแล้วว่าปลอดภัย โอกาสเป็นอันตรายต่อสุขภาพมีน้อย ให้วางจำหน่ายได้โดยทั่วไป และผู้ซื้อสามารถตัดสินใจซื้อด้วยตนเองตามอาการเจ็บป่วย แต่ยาที่เป็นยาสามัญประจำบ้านได้นั้นต้องมีตำรับยา สรรพคุณ ขนาด วิธีใช้ คำเตือนการเก็บรักษา และขนาดบรรจุตามที่กำหนด
บรรทัด 11:
* [[ยาควบคุมพิเศษ]] เป็นยาที่จ่ายได้เมื่อมีการนำใบสั่งยามาซื้อยา กลุ่มนี้เป็นยาที่มีความเป็นพิษภัยสูงหรืออาจก่ออันตรายต่อสุขภาพได้ง่าย จึงเป็นยาที่ถูกจำกัดการใช้
 
== ชื่อยา ==
ยาแต่ละตัวจะมีชื่อเรียกได้หลายแบบ
 
* '''ชื่อสามัญ''' เป็นชื่อตัวยาสำคัญของยา ยาแต่ละตัวจะมีชื่อสามัญทางยาได้เพียงชื่อเดียวเท่านั้น และชื่อสามัญของยาไม่สามารถซ้ำกันได้ การเรียกชื่อยาด้วยชื่อสามัญจะทำให้เกิดความผิดพลาดในการสั่งใช้ยาหรือรับยาน้อยกว่าการเรียกด้วยชื่อการค้า
 
* '''ชื่อการค้า''' เป็นชื่อที่บริษัทผู้ผลิตยาตั้งขึ้นเพื่อเป็นชื่อเรียกทางการค้า ดังนั้น ยา 1 ตัวอาจมีชื่อการค้าได้หลายชื่อขึ้นกับว่ามีบริษัทผู้ผลิตกี่บริษัท และยาบางตัวอาจมีชื่อการค้าใกล้เคียงกับชื่อสามัญของยาเพื่อให้จำชื่อตัวยาได้
* '''ชื่อย่อ''' ยาบางตัวอาจมีชื่อย่อเพื่อให้ง่ายต่อการเรียกหรือการสั่งใช้ เช่น ceftriaxone เป็น cef-3, methotrexate เป็น MTX แต่อย่างไรก็ตามไม่ควรเรียกยาด้วยชื่อย่อเพราะอาจก่อให้เกิดความผิดพลาดได้
 
== หมวดหมู่ทางเภสัชวิทยา ==
หมายถึง การจัดกลุ่มของยาตามการออกฤทธิ์หรือโครงสร้างของยา เช่น Amoxicillin (อะม็อกซีซิลิน) จัดอยู่ในกลุ่มยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียเพนนิซิลิน
 
== ข้อบ่งใช้ของยา ==
ข้อบ่งใช้ของยา หมายถึง อาการหรือโรคที่สามารถใช้ยานั้นรักษาได้ เช่น ยา [[paracetamol]] ([[พาราเซตามอล]]) มีข้อบ่งใช้สำหรับแก้ปวดหรือลดไข้ โดยยาบางตัวอาจมีข้อบ่งใช้ได้เดียวหรือหลายข้อบ่งใช้ การที่จะระบุได้ว่า ยานั้น ๆ มีข้อบ่งใช้ใด จะต้องผ่านการขึ้นทะเบียนรับรองจาก[[คณะกรรมการอาหารและยา]]ก่อน อย่างไรก็ตาม ยาบางชนิดอาจมีข้อบ่งใช้ที่ไม่ได้รับการรับรอง (off-label use) ซึ่งการใช้ยานอกเหนือข้อบ่งใช้สามารถทำได้โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณา การไม่ใช้ยาตามข้อบ่งใช้โดยไม่ผ่านคำสั่งแพทย์อาจไม่ก่อให้เกิดประโยชน์หรืออาจเกิดอันตรายจากยาได้
 
== ข้อควรพิจารณาสำหรับหญิงตั้งครรภ์ ==
ยาบางชนิดอาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออาการข้างเคียงต่อทารกในครรภ์ได้ ยาที่จะสามารถใช้ในหญิงตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัยจะต้องเป็นยาที่ผ่านการทดลองแล้วว่าไม่มีอันตรายต่อทารก สำหรับยาที่ยังไม่มีข้อมูลการทดลองการใช้ในหญิงตั้งครรรภ์จะต้องได้รับการพิจารณาประโยชน์เปรียบเทียบกับความเสี่ยงที่จะได้รับจากยาก่อนทุกครั้ง นอกจากนี้มียาบางประเภทที่ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์โดยเด็ดขาดเพราะอาจทำให้ทารกในครรภ์พิการหรือเสียชีวิตได้ ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์จึงควรแจ้งแพทย์ทุกครั้ง
 
== ข้อควรพิจารณาสำหรับหญิงให้นมบุตร ==
ยาแต่ละชนิดสามารถผ่านออกจากกระแสเลือดของมารดาเข้าสู่น้ำนมได้แตกต่างกัน หากยาผ่านออกสู่น้ำนมได้มากอาจทำให้ทารกได้รับผลจากยานั้นได้ ดังนั้นหญิงให้นมบุตรจึงควรแจ้งแพทย์ผู้ทำการรักษาทุกครั้ง
 
== ข้อ{{องค์การเภสัชกรรม}}[ห้าม]ใช้ยา ==
หมายถึง ไม่ควรใช้ยานี้โดยเด็ดขาดหากผู้ป่วยมีคุณสมบัติตรงกับข้อห้ามใช้ยาตามที่ฉลากยาระบุไว้ เช่น หากแพ้ยาใดก็ตาม ไม่ควรใช้ยานั้น ๆ โดยเด็ดขาด หรือผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะท้าย จะมีข้อห้ามใช้ยาบางชนิด
 
== ข้อ{{องค์การเภสัชกรรม}}[ควรระวัง]การใช้ยา ==
หมายถึง หากต้องการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีคุณสมบัติตรงกับข้อควรระวังการใช้ยา อาจสามารถใช้ได้ แต่จะต้องเฝ้าระวังหรือติดตามอาการไม่พึงประสงค์อย่างใกล้ชิด
 
== อาการไม่พึงประสงค์จากยา ==
หรือ Adverse drug reactions หมายถึง อาการที่อาจเกิดขึ้นได้หลังใช้ยาในขนาดปกติ โดยอาจเกิดขึ้นในผู้ป่วยบางราย อาการไม่พึงประสงค์จากยาอาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่การใช้ยาครั้งแรกหรืออาจเกิดขึ้นหลังจากการใช้ยาต่อเนื่องหลายครั้ง อาการไม่พึงประสงค์บางชนิด อาจสัมพันธ์กับกลไกการออกฤทธิ์ของยา เรียกว่า อาการข้างเคียงจากยา (side effects) ซึ่งบางครั้งอาการข้างเคียงนี้อาจสามารถหลีกเลี่ยงได้โดยปรับเปลี่ยนวิธีใช้ยาหรือขนาดยา เช่น ยาแก้ปวดบางชนิดที่มีผลระคายเคืองกระเพาะอาหาร หากรับประทานหลังอาหารทันทีจะช่วยลดการเกิดอาการข้างเคียงได้ แต่อาการไม่พึงประสงค์บางชนิดอาจเกิดขึ้นได้โดยไม่เกี่ยวข้องกับกลไกการออกฤทธิ์ของยา เช่น การแพ้ยา (drug allergy) ซึ่งถือเป็นการตอบสนองของภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อยานั้น ๆ และไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้โดยการปรับเปลี่ยนวิธีใช้ยา
 
ปัจจุบัน ยารุ่นใหม่ ๆ ได้ถูกพัฒนามาให้สามารถออกฤทธิ์ได้อย่างเฉพาะเจาะจงมากขึ้นและมีอาการไม่พึงประสงค์ลดลง
 
== อันตรกิริยาระหว่างยา ==
หรือ Drug interactions หมายถึง ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเมื่อมีการให้ยามากกว่า 1 ชนิดร่วมกัน โดยอันตรกิริยาระหว่างยาจะเกิดขึ้นกับเฉพาะยาบางคู่เท่านั้น ผลคืออาจทำให้ประสิทธิภาพของยาตัวใดตัวหนึ่งเพิ่มขึ้นหรือลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับการให้ยาเพียงตัวเดียว และอาจก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาได้ ดังนั้น ยาบางชนิดต้องหลีกเลี่ยงการใช้ร่วมกันเพราะอาจก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาที่รุนแรง หรือหากจำเป็นต้องใช้ร่วมกันอาจต้องติดตามการใช้ยาอย่างใกล้ชิด โดยการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาอาจเป็นผลจากปฏิกิริยาที่คาดเดาได้ เช่น การที่ยาตัวหนึ่งมีผลยับยั้งหรือกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์จากตับที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงยาอีกตัวหนึ่ง แต่ยาบางคู่อาจเกิดอันตรกิริยาระหว่ายาได้โดยยังไม่ทราบกลไกที่ชัดเจน
 
== การเก็บรักษายา ==
ยาทุกตัวควรเก็บรักษาในอุณภูมิหรือสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้ยาเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ ยาบางชนิดอาจเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องได้ ขณะที่ยาบางชนิดอาจต้องเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำหรือแช่เย็น ยาบางชนิดอาจต้องเก็บให้พ้นแสงโดยบรรจุในภาชนะทึบแสง แต่โดยทั่วไปยาทุกตัวควรเก็บให้พ้นจากความร้อนและความชื้นโดยเก็บในภาชนะบรรจุที่เหมาะสม
 
== กลไกการออกฤทธิ์ของยา ==
ยาต่างชนิดกันจะมีกลไกการออกฤทธิ์ที่แตกต่างกันแม้ว่ายานั้น ๆ จะมีข้อบ่งใช่เดียวกัน เว้นแต่ว่าจะเป็นยาในกลุ่มเดียวกัน อาจมีกลไกการออกฤทธิ์ที่ใกล้เคียงกันได้
 
== เภสัชพลศาสตร์และเภสัชจลนศาสตร์ ==
เภสัชพลศาสตร์ หมายถึง การออกฤทธิ์ของยาต่อร่างกายหรือการที่ยามีผลต่อร่างกาย
 
เภสัชจนศาสตร์ หมายถึง กระบวนการที่ร่างกายจัดการกับยาที่ได้รับ ซึ่งได้แก่ การดูดซึมยาเข้าสู่ร่างกาย (adsorption) การกระจายของตัวยาไปส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย (distribution) การเปลี่ยนแปลงตัวยาในร่างกาย (metabolism) ไปจนถึงการขจัดยาออกจากร่างกาย (excretion) ซึ่งกระบวนการต่าง ๆ เหล่านี้จะสัมพันธ์กับระยะเวลาที่ยาเริ่มออกฤทธิ์ (onset of action) ซึ่งหมายถึงระยะเวลานับตั้งแต่เริ่มรับประทานยาไปจนถึงระยะเวลาที่ยาเริ่มเห็นผลในการรักษา และระยะเวลาที่ยาออกฤทธิ์กับร่างกาย (duration of action) ซึ่งหมายถึงช่วงระยะเวลาที่ยาให้ผลการรักษากับร่างกาย
 
== ขนาดยา ==
ขนาดยาที่เหมาะสมจะขึ้นกับข้อบ่งใช้ ยาชนิดเดียวกันหากมีข้อบ่งใช้ต่างกันอาจให้ในขนาดยาที่แตกต่างกันได้ ยาบางชนิดอาจเริ่มต้นใช้ในขนาดต่ำก่อนแล้วจึงปรับเพิ่มตามผลการรักษา การใช้ยาในขนาดต่ำกว่าขนาดการรักษา (dosage too low) จะทำให้ไม่เห็นผลในการรักษา ในขณะเดียวกัน การใช้ยาในขนาดสูงเกินกว่าขนาดการรักษา (dosage too high) อาจก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาได้ ยาบางชนิดอาจต้องมีการคำนวณขนาดยาเป็นพิเศษ เช่น ยาน้ำในผู้ป่วยเด็กอาจต้องคำนวณตามน้ำหนักตัวหรือพื้นที่ผิว ขนาดยาที่เหมาะสมยังขึ้นกับความถี่ในการใช้ยา ยาที่มีค่าครึ่งชีวิตสั้นอาจต้องใช้หลายครั้งต่อวันเพิ่อให้ได้ระดับยาที่ต้องการขณะที่ยาที่มีค่าครึ่งชีวิตยาวอาจใช้ในความถี่ที่ลดลง นอกจากนี้ ยังขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของผู้ป่วยแต่ละรายอีกด้วย เช่น ผู้ป่วยเด็กหรือผู้สูงอายุขนาดยาอาจแตกต่างจากผู้ใหญ่ หรือผู้ป่วยที่การทำงานของตับหรือไตบกพร่องขนาดยาอาจแตกต่างจากผู้ป่วยที่การทำงานของตับหรือไตเป็นปกติ
 
== การบริหารยา ==
หมายถึง วิธีการใช้ยาหรือการนำยาเข้าสู่ร่างกาย ยาบางชนิดอาจถูกพัฒนาขึ้นให้บริหารได้หลายวิธีเพื่อความสะดวก และวิธีการบริหารยาที่แตกต่างกันจะมีผลต่อระยะเวลาการออกฤทธิ์ของยาที่ต่างกันด้วย เช่น ยาฉีดจะออกฤทธิ์ได้เร็วกว่ายารูปแบบอื่นเนื่องจากไม่ต้องผ่านกระบวนการดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดก่อนแต่จะไม่สะดวกในการบริหารเพราะต้องใช้อุปกรณ์เช่นเข็มฉีดยาช่วยรวมถึงต้องใช้เทคนิคในการฉีดยา การบริหารยาด้วยวิธีหรือเทคนิคที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้ได้รับขนาดยาสูงหรือต่ำกว่าขนาดที่ต้องการซึ่งจะส่งผลต่อการรักษาได้
 
'''ช่องทางการบริหารยา''' ปัจจุบันการบริหารยาสามารถทำได้หลายวิธี
 
* การรับประทาน
* การฉีดโดยใช้เข็มฉีดยาเข้าสู่จุดที่ต้องการ เช่น ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง กล้ามเนื้อ ไขสันหลัง
* การเหน็บทางทวาร
* การสอดทางช่องคลอด
* การแปะบนผิวหนัง
* การทา
* การสูดดมหรือการพ่นเข้าทางจมูกหรือปาก
* การอมใต้ลิ้นหรือกระพุ้งแก้ม
* การหยอดหรือการป้ายตา
* การฝังเข้าใต้ชั้นผิวหนัง
 
<br />
== การผลิตยา ==
[[จีน]]เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในการผลิตยา API ของโลกในปี พ.ศ. 2550 ยอดการส่งออกยาของจีนคิดเป็น 2% ของทั่วโลก<ref>http://thai.cri.cn/1/2008/04/09/101@122342.htm</ref>
 
== ดูเพิ่ม ==
เส้น 93 ⟶ 28:
[[หมวดหมู่:สุขภาพ]]
[[หมวดหมู่:ยา| ]]
{{โครงเภสัชกรรม}}
{{องค์การเภสัชกรรม}}กระทรวงสาธารณสุขกองงานอาหารและยาเอกสารกำกับยาข้อห้ามในการบ่งใช้ต้องเป็นสี[[แดง]]--[[ผู้ใช้:SystemOperation|SystemOperation]] ([[คุยกับผู้ใช้:SystemOperation|คุย]]) 10:43, 3 สิงหาคม 2562 (ICT)
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ยา"