ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชบัญญัติ (ประเทศไทย)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Yugiboy8701 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
Yugiboy8701 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 40:
# ในการเสนอร่างพระราชบัญญัติต้องมีบันทึกวิเคราะห์ สรุปสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติเสนอมาพร้อมกับร่างพระราชบัญญัติด้วย
 
== กระบวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของรัฐสภา ==
<ref name=":1">http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4</ref>ร่างพระราชบัญญัติจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรก่อน แล้วจึงค่อยได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา
 
บรรทัด 58:
การพิจารณาโดยคณะกรรมาธิการ สามารถกระทำได้ 2 ลักษณะดังนี้
 
'''ลักษณะที่ 1 การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติโดยคณะกรรมาธิการเต็มสภา''' --> โดยจะต้องได้รับการร้องขอจากคณะรัฐมนตรีร้องขอ หรือ ได้รับการร้องขอจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสนอญัตติโดยมีจำนวนไม่น้อยกว่ายี่สิบคนร้องขอและที่ประชุมลงมติเสียงข้างมากอนุมัติให้ดำเนินการดังกล่าว ซึ่งหากมติมีมากกว่ากึ่งหนึ่ง ให้ถือว่าสภาผู้แทนราษฎรทุกคนทำหน้าที่เป็นกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้น ซึ่งกรรมาธิการลักษณะนี้ มักจะใช้สำหรับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่จำเป็นเร่งด่วนหรือร่างพระราชบัญญัติที่ไม่มีรายละเอียดซับซ้อนมากนัก หรือ ไม่ยาวมากเกินไปที่จะพิจารณา โดยเป็นการพิจารณาครั้งเดียวสามวาระ ไม่มีขั้นตอนคำขอแปรญัตติ มีผลเป็นทั้งการพิจารณาเป็นรายมาตราในชั้นกรรมาธิการและเป็นการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรนวาระในวาระที่สองในคราวเดียวกัน
 
'''ลักษณะที่ 2 การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติโดยคณะกรรมาธิการที่สภาแต่งตั้ง อาจจะเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ หรือ คณะกรรมาธิการวิสามัญก็ได้''' --> ในกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ไม่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการ ชุดนั้นเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติก็ให้เสนอคำขอ “แปรญัตติ” ต่อประธานคณะกรรมาธิการที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นภายใน 7 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่สภารับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ เว้นแต่สภาจะได้กำหนดเวลาแปรญัตติสำหรับร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้เป็นอย่างอื่น เมื่อคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว จะทำรายงานการพิจารณาของคณะกรรมาธิการเสนอต่อประธานสภา โดยในรายงานจะแสดงร่างเดิม การแก้ไขเพิ่มเติมในมาตราใดบ้าง คำแปรญัตติ การสงวนคำแปรญัตติ หรือการสงวนความเห็นของกรรมาธิการ หากกรณีมีข้อสังเกตที่ควรเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี ศาล หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่ควรทราบหรือควรปฏิบัติก็ให้บันทึกไว้ด้วยเพื่อให้สภาพิจารณา
 
==== วาระที่ 3 ขั้นลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ ====
บรรทัด 75:
หากวุฒิสภาไม่เห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร ให้ยับยั้งร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้ก่อนและส่งคืนให้แก่สภาผู้แทนราษฎร สภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ได้เมื่อเวลาผ่านพ้นไป 180 วัน นับแต่วันที่วุฒิสภาส่งร่างพระราชบัญญัตินั้นคืน (ยกเว้นถ้าร่างพระราชบัญญัตินั้นเกี่ยวข้องกับการเงิน ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาใหม่ทันที) และถ้าสภาผู้แทนราษฎรลงมติยืนยันร่างพระราชบัญญัติเดิมด้วยคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ให้ถือว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา ให้นายกรัฐมนตรีทูลเกล้าถวายพระมหากษัตริย์เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยได้ทันที <ref>https://www.baanjomyut.com/library_4/politics/11_28.html</ref>
 
=== ในกรณีที่พระมหากษัตริย์ทรงไม่เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ ===
อีกกรณีหนึ่งก็คือ ตามมาตรา 146 รัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทยปี พ.ศ.2560 หากรัฐสภาให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแล้ว แต่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว และ พระราชทานร่างพระราชบัญญัตินั้นคืนมาที่รัฐสภา หรือเมื่อพ้น 90 วันแล้วยังไม่พระราชทานร่างพระราชบัญญัตินั้นคืนมาที่รัฐสภา รัฐสภาจะต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่ต่ำกว่าสองในสามเสียง จากจำนวนสมาชิกทั้งหมดของทั้งสองสภา ให้นายกรัฐมนตรีนำร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว นำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายอีกครั้ง หากพ้นกำหนด 30 แล้ว พระมหากษัตริย์ยังมิได้ทรงลงพระปรมาภิไธย ให้นายกรัฐมนตรีนำร่างพระราชบัญญัตินั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสหมือนหนึ่งว่า พระมหากษัตริย์ ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว <ref name=":0" />
 
== อ้างอิง ==