ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจเอ็นอาร์ คลาสซีเอ็กซ์ 50"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Moothai9 (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่เนื้อหาด้วย "กรุณาอย่านำเสนอข้อมูลมั่ว และอย่าคัดลอกรูปที่มี..."
บรรทัด 1:
กรุณาอย่านำเสนอข้อมูลมั่ว และอย่าคัดลอกรูปที่มีลิขสิทธ์มาใช้งานตามอำเภอใจโดยไม่ได้รับอนุญาตมิเช่นนั้นจะถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย
{{ตรวจลิขสิทธิ์}}
เตือนครั้งสุดท้าย ย้ำ เตือนครั้งสุดท้าย
{{DISPLAYTITLE:รถจักรไอน้ำแปซิฟิก CX 50}}
{{เพิ่มอ้างอิง}}
 
{{กล่องข้อมูล รถจักร|สีตัวอักษร=#FFFFFF|สีพื้นหลัง=#006600|ชื่อ=รถจักรไอน้ำแปซิฟิก ซีเอ็กซ์ 50, รถจักรไอน้ำ CX50|ภาพ=แปซิฟิค 824 4.jpg|ขนาดภาพ=300|คำอธิบายใต้ภาพ=รถจักรไอน้ำแปซิฟิก CX50 หมายเลข 824 ขณะทำขบวน 903 ใน[[ถนนอโศก-ดินแดง]] ใน[[เขตราชเทวี]], [[กรุงเทพมหานคร]] ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2561|ชื่อทางการ=รถจักรไอน้ำแห่งการรถไฟแห่งชาติญี่ปุ่น ชั้น CX50|ชนิด=[[รถจักรไอน้ำ]]|แรงม้า=592 แรงม้า|น้ำหนักจอดนิ่ง=51.3 ตัน|น้ำหนักทำงาน=31.5 ตัน|น้ำหนักกดเพลา=10,500 กก.|วางล้อ=[[4-6-2]] (แปซิฟิก)|กว้าง=3,750 มม.|สูง=3,850 มม.|ยาว=19,335 มม.|ห้ามล้อ=[[สุญญากาศ]] (ลมดูด) ([[ลมอัด]], เฉพาะหมายเลข 824 และ 850 หลังปี พ.ศ. 2555)|ความจุ=10 มลบ.|ความเร็ว=65 กม./ชม.|ผู้สร้าง=[[สมาคมอุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น]], {{ธง|ญี่ปุ่น}} [[ประเทศญี่ปุ่น]]|ราคา=|ใช้งาน=พ.ศ. 2485-พ.ศ. 2486, พ.ศ. 2492-พ.ศ. 2494|ทั้งหมด=39 คัน|เลข=283-292, 821-850|ใช้งานใน={{ธง|ไทย}} [[ประเทศไทย]] โดย [[การรถไฟแห่งประเทศไทย]]|ที่นั่ง=|ห้องขับ=มี 1 ห้องขับ,ฝั่ง|ตัดบัญชี=37 คัน|คงเหลือ=2 คัน|ปรับปรุง=2 คัน|รวม=77 ปี}}
[[ไฟล์:DX50 351-353 and CX50 283-292.jpg|thumb|ชิ้นส่วนของรถจักรไอน้ำแปซิฟิก CX50 รุ่นหมายเลข 283-292 ใช้ร่วมกับ[[รถจักรไอน้ำแมคอาเธอร์]] และ[[รถจักรไอน้ำมิกาโดะ DX50]] รุ่นหมายเลข 351-378]]
'''รถจักรไอน้ำแปซิฟิก ซีเอ็กซ์ 50 (CX50 steam locomotive)''' '''(JNR Class CX50)'''<ref>http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=4418&postdays=0&postorder=asc&start=60</ref> ส่วนใหญ่เรียกว่ารถจักรนี้ว่า '''รถจักรไอน้ำแปซิฟิก''' เป็นชุด[[รถจักรไอน้ำ]]สุดท้ายของ[[การรถไฟแห่งประเทศไทย]]ที่ใช้ใน[[ประเทศไทย]] สร้างโดย[[สมาคมอุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น]] [[ประเทศญี่ปุ่น]] จุดประสงค์หลักของรถจักรชุดนี้คือใช้ลากรถโดยสารเช่นขบวนรถธรรมดา และรถเร็ว ปัจจุบัน รถจักรไอน้ำแปซิฟิก CX50 เหลือการใช้งาน 2 คัน คือหมายเลข 824 และ 850 ซึ่งจะวิ่งในวันสำคัญต่างๆ<ref>{{cite web|url=https://www.facebook.com/notes/%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2-%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%81-824-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0-850/731542180210687/|title=ประวัติความเป็นมา "รถจักรไอน้ำแปซิฟิก 824 และ 850"|publisher=ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย|date=21 มีนาคม พ.ศ. 2557}}</ref> รถจักรไอน้ำแปซิฟิกมีการนำมาใช้งานในประเทศไทย จำนวนรถทั้งสิ้น 39 คัน คือหมายเลขรถ 283-292 และ 821-850 โดยการนำเข้ามาใช้งาน แบ่งเป็นสองช่วง (ล็อต) ต่อไปนี้
 
* '''ช่วงแรก (พ.ศ. 2485 - พ.ศ. 2486)''' รถจักรหมายเลข 283 - 292 โดยทางญี่ปุ่นได้จัดหาทดแทน[[รถจักรไอน้ำฮาโนแม็ค]] ที่การรถไฟได้รับมอบตั้งแต่สมัย[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว|รัชกาลที่ 6]] (พ.ศ. 2468) เนื่องจากเกิดปัญหาเรื่องอะไหล่ของรถจักร
*[[ไฟล์:WheelArrangement 4-6-2.svg|thumb|แบบล้อของรถจักรไอน้ำแปซิฟิก]]'''ช่วงที่สอง (พ.ศ. 2492 - พ.ศ. 2494)''' รถจักรหมายเลข 821 - 850 เป็นช่วงที่การรถไฟฯ สั่งนำเข้ามาใช้โดยตรงโดยโครงการบูรณะกิจการรถไฟ<ref>http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=5368</ref>
 
== ประวัติ ==
ระหว่าง[[สงครามโลกครั้งที่สอง|สงครามโลกครั้งที่ 2]] [[กรมรถไฟ]]ได้ประสบความเสียหายในบริภัณฑ์รถไฟและสิ่งปลูกสร้างเป็นอย่างมาก เมื่อสงครามได้ยุติลง จึงปรากฏว่ากรมรถไฟขาดแคลนรถจักรและล้อเลื่อนที่จะมาใช้การรับใช้ประชาชนตามสถานะเดิมต่อไป ดังนั้นในปี พ.ศ. 2489 ด้วยความเอื้อเฟื้อของ[[สหประชาชาติ]]ได้จำหน่ายรถจักรไอน้ำที่เหลือใช้จากสงครามให้แก่กรมรถไฟจำนวน 68 คัน (รุ่นเลขที่ 380-447) เพื่อบรรเทาการขาดแคลนดังกล่าว รถจักรเหล่านี้เป็นชนิดมิกาโด (2-8-2) ซึ่งเรียกกันโดยเฉพาะในวงการของสหประชาชาติว่า “[[แมคอาเธอร์|รถจักรไอน้ำแมคอาเธอร์]]” เป็นรถจักรที่สร้างโดยบริษัทต่างๆ ใน[[สหรัฐ|สหรัฐอเมริกา]] ตามรายการจำเพาะที่กำหนดขึ้นโดยทางการทหารแห่งสหรัฐ ต่อมาในปี พ.ศ. 2492 ตามโครงการบูรณะกิจการรถไฟ ทางการได้จัดซื้อรถจักรไอน้ำจากผู้สร้างต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่น 50 คัน และในปีถัดไปอีก 50 คัน เป็นรถจักรแบบมิกาโดและแปซิฟิค เหมือนกันกับรถจักรที่เคยซื้อจากประเทศญี่ปุ่นเมื่อก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ดังกล่าวข้างต้น แต่ได้มีการปรับปรุงบางสิ่งให้เหมาะสมขึ้นอีก รถจักรจำนวน 100 คันนี้ อาจจะถือได้ว่าเป็นรถจักรไอน้ำรุ่นสุดท้ายที่จะมีใช้การในการรถไฟแห่งประเทศไทยโดยที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการรถไฟฯ มีนโยบายที่จะนำเอารถจักรดีเซลมาใช้การแทนรถจักรไอน้ำ
 
== รถจักรไอน้ำแปซิฟิก CX50 หมายเลข 824 และ 850 ==
เดิมใช้การในเส้น[[ทางรถไฟสายใต้]] ตั้งแต่[[สถานีรถไฟบางกอกน้อย]] ([[สถานีรถไฟธนบุรี]]) ส่วนใหญ่จะทำขบวนรถเร็วไปถึง[[สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่]] และได้ปลดระวางเลิกใช้การเข้ามานอนจอดสงบนิ่งอยู่ที่[[โรงรถจักรธนบุรี]] รางข้างโรงรถจักรจอดอยู่คันในสุดของรถจักรรวม 4 คันในรางนี้ ตั้งแต่วันอังคารที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2517 ต่อมาในปลายปี พ.ศ. 2528 ทางการรถไฟฯมีแนวคิดที่จะฟื้นฟู บูรณะรถจักรไอน้ำขึ้นจำนวน 6 คันแบ่งเป็น[[รถจักรไอน้ำมิกาโดะ DX50]] 2 คันคือ 953 และ 962 รถจักรไอน้ำ แปซิฟิก CX50 2 คันคือ 824 และ 850 และ[[รถจักรไอน้ำโมกุล C56]] หมายเลข 713 และ 715  โดยศูนย์กลางซ่อมอยู่ที่โรงรถจักรธนบุรี ในยุคที่นาย[[สวัสดิ์  ม้าไว]] เป็นสารวัตรรถจักรธนบุรี โดยการขับเคลื่อนของนายช่าง [[สุเมธ หนูงาม]] ตำแหน่งวิศวกรอำนวยการลากเลื่อนในขณะนั้น ท่านได้ระดมอุปกรณ์อะไหล่ที่เก็บไว้ที่ [[โรงรถจักรทุ่งสง]] และ[[โรงรถจักรอุตรดิตถ์]] พร้อมช่างฝีมือจากทุ่งส่งจำนวน 4 นาย มาร่วมกับช่างฝีมือที่ธนบุรีเพื่อ พร้อมซ่อมบูรณะรถจักรไอน้ำดังกล่าวข้างต้น การซ่อมรถจักรไอน้ำในครั้งนั้นใช้เวลาซ่อมจำนวน 4 เดือนจึงสามารถทำการทดลองวิ่งตัวเปล่ารถจักร 962 & 953  จาก ธนบุรี - [[สถานีรถไฟวัดงิ้วราย|วัดงิ้วราย]] - ธนบุรี ในวันที่ 10 มีนาคม 2529 และทำการทดลองเดินขบวนเปล่าจำนวนตู้โดยสาร 10 ตู้ในวันที่ 13 มีนาคม 2529 สำหรับรถจักร 824 & 850 ซ่อมเสร็จทำการทดลองวิ่งตัวเปล่าจาก ธนบุรี - วัดงิ้วราย - ธนบุรี ในวันที่ 19 มีนาคม 2529 และทำการทดลองเดินขบวนเปล่าจำนวนตู้โดยสาร 8 ตู้ในวันที่ 22 มีนาคม 2529  ต่อมาในวันที่ 26 มีนาคม 2529 เป็นวันคล้ายวันสถาปนาการรถไฟแห่งประเทศไทย จึงจัดรถจักรไอน้ำมิกาโดะ DX50 หมายเลข 953 พหุกับ รถจักรไอน้ำมิกาโดะ DX50 หมายเลข 962 เดินขบวนพิเศษจากสถานี[[สถานีรถไฟกรุงเทพ|กรุงเทพ]] - [[สถานีรถไฟอยุธยา|อยุธยา]] - กรุงเทพ นับเป็นครั้งแรกที่มีการเดินรถจักรไอน้ำในโอกาสพิเศษ และเป็นการเดินรถจักรไอน้ำครั้งแรกหลังจากที่ปลดระวางไปตั้งแต่ปี 2517 เป็นระยะเวลา 12 ปี ซึ่งได้รับความสนใจจากพี่น้องประชาชนสองข้างทางรถไฟอย่างมากมาย พนักงานขับรถจักรไอน้ำในครั้งนั้น คือนาย[[ชำนาญ ล้ำเลิศ]] (เสียชีวิตแล้ว) นาย[[กุล กุลมณี]] (เสียชีวิตแล้ว) และต่อมาก็ทำการซ่อมรถจักรไอน้ำโมกุล C56 หมายเลข 713 และ 715 เพิ่มอีก 2 คันเพื่อทำการเดินขบวนเสด็จ หมายกำหนดการ[[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี|สมเด็จพระเทพฯ]] จะเสด็จไปยัง[[อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์|ปราสาทเมืองสิงห์]] [[จังหวัดกาญจนบุรี]] ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2529 รถจักรไอน้ำทุกคันที่มีการซ่อม ได้ดัดแปลงระบบไฟฟ้า ห้ามล้อ และเครื่องยนต์ของรถจักร [[Henschel]] เพื่อต่อพหุ ทำขบวนเป็นขบวนพิเศษนำทางขบวนเสด็จจาก กรุงเทพ – [[สถานีรถไฟกาญจนบุรี|กาญจนบุรี]] – [[สถานีรถไฟท่ากิเลน|ท่ากิเลน]] และไปจอดรอที่[[ป้ายหยุดรถวังสิงห์]] หมายกำหนดการ ใช้รถจักรไอน้ำแปซิฟิก CX50 หมายเลข 824 พหุกับ รถจักรไอน้ำแปซิฟิก CX50 หมายเลข 850 ลากจูงขบวนเสด็จจาก [[สถานีรถไฟจิตรลดา|สถานีรถไฟหลวงจิตรลดา]] ไปถึงสถานีกาญจนบุรี โดย นายชำนาญ ล้ำเลิศ เป็น พนักงานขับรถคันนำ เมื่อทำขบวนเสด็จถึงสถานีกาญจนบุรี จอดเทียบให้ผู้ว่าราชการจังหวัด และข้าราชบริพาร ประชาชนเฝ้าเสด็จ และทางการรถไฟฯ ก็ได้ทำการเปลี่ยนหัวรถจักรไอน้ำใหม่โดยนำเอาหัวรถจักรไอน้ำโมกุล C56 หมายเลข 713 พหุ 715 ทำขบวนเสด็จต่อจาก สถานีกาญจนบุรี ไป ที่สถานีท่ากิเลน และเสด็จทางรถยนต์พระที่นั่งต่อไปยังปราสาทเมืองสิงห์ ซึ่งอยู่ห่างจากสถานีท่ากิเลนไปทางทิศตะวันตกประมาณ 3.5 กม. พนักงานรถจักรที่หน้าที่ขับรถชื่อนายกุล มณีกุล
 
== การบูรณะ ==
รถจักรไอน้ำได้มีการบำรุงรักษากันมาตลอดจนถึงต้นปี 2554 สภาพรถจักรไอน้ำแปซิฟิก CX50 หมายเลข 824, รถจักรไอน้ำแปซิฟิก CX50 หมายเลข 850 และรถจักรไอน้ำมิกาโดะ DX50 หมายเลข 953 สภาพหม้อน้ำโดยเฉพาะเปลือกที่จุดเหนือเตาที่เชื้อเพลิงเผาผลานความร้อนสูง เนื้อเหล็กหนา 5 มม. ปกติหนา 14 มม. และเหล็กยึดรั้งหม้อน้ำขาด ผุกร่อนจำนวนมาก อุปกรณ์ส่วนเคลื่อนไหวรั่ว แหวนแป้นสูบกำลังหักเป็นต้น ทางโรงรถจักรธนบุรี โดย สรจ.ธบ.นาย[[ศรีศักดิ์ ไผ่ศิริ]] ได้รายงานให้ผู้บังบัญชาตามลำชั้นทราบ จึงอนุมัติให้ [[บริษัท มิสซ์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด]] มาตรวจสอบหม้อน้ำ โดยการนำของนาย[[อุทัย สุนทรเอกจิต]] กรรมการผู้จัดการ บริษัทมิสซ์-ชาญวิทย์ เป็นผู้เข้ามาตรวจสอบ วิเคราะห์และรายงานผลและยึดโยงกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยเรื่องของหม้อน้ำเข้ามาเกี่ยวข้อง สรุปได้ว่าไม่สามารถเดินรถจักรไอน้ำโดยเฉพาะรถจักรไอน้ำแปซิฟิก CX50 หมายเลข 824, รถจักรไอน้ำแปซิฟิก CX50 หมายเลข 850 และ รถจักรไอน้ำมิกาโดะ DX50 หมายเลข 953 เมื่อไมมีรถจักรไอน้ำใช้การก็ขาดสีสัน ของการรถไฟฯ ประชาชนเรียกร้องต้องการเห็นรถจักรไอน้ำเดินขบวนในวันสำคัญๆ เพื่อให้เยาวชน ลูกหลานรู้เข้าใจ ได้ศึกษาเรียนรู้ระบบหลักการทำงาน รวมทั้งเห็นของจริง โดยนายช่าง[[สิทธิพงษ์ พรมลา]] วิศวกรใหญ่ฝ่ายการช่างกล ได้นำเสนอขออนุมัติ ผู้ว่าการรถแห่งประเทศไทยในขณะนั้น คือนาย[[ยุทธนา ทัพเจริญ]] เพื่อบูรณะรถจักรไอน้ำจำนวน 2 คันคือ รถจักรไอน้ำแปซิฟิก CX50 หมายเลข 824 และรถจักรไอน้ำแปซิฟิก CX50 หมายเลข 850 ในราคาประมาณ 25 ล้านบาท คำสั่งเฉพาะที่ ชก.ก.102/1144 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2555 และดูแลงานที่บริษัทเป็นเข้ามาดำเนินรับจ้างซ่อม คือบริษัท มิสซ์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ให้เป็นไปตามสัญญาว่า ซ่อมดัดแปลงและปรับปรุงรถจักรไอน้ำแปซิฟิก CX50 หมายเลข 824 และรถจักรไอน้ำแปซิฟิก CX50 หมายเลข 850 เลขที่ ชก.1/2555/02 ลงวันที่ 22 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 ผู้ว่าจ้าง นายสิทธิพงษ์ พรมลา วิศวกรใหญ่ฝ่ายการช่างกล, หัวหน้าชุดดำเนินการครั้งนี้ คือ ผทน.10 นาย[[ปลื้ม เพชรทองเกลี้ยง]], นายอุทัย สุนทรเอกจิต ผู้รับจ้าง (บริษัท มิสซ์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด) วันที่ 6 เดือน เมษายน พ.ศ. 2555 เวลา 09.09 น. ทาง บริษัท มิสซ์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ร่วมกับ โรงรถจักรธนบุรี ทำพิธี บวงสรวง กราบไหว้ ขอขมา รถจักรไอน้ำแปซิฟิก CX50 หมายเลข 824 และรถจักรไอน้ำแปซิฟิก CX50 หมายเลข 850 และ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว|รัชกาลที่ 5]], [[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน|กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน]] และ [[หลวงพ่อโบสถ์น้อย]]ก่อนที่จะทำการรื้อซ่อมรถจักรไอน้ำ สิ่งที่ถูกปรับเปลี่ยนไปคือ ทางช่างได้ดัดแปลงระบบห้ามล้อใหม่จาก[[ระบบลมดูด]] เป็น[[ระบบลมอัด]] เพื่อความปลอดภัยและจัดสรรรถพ่วงในการทำขบวนได้ง่ายขึ้น เนื่องจากรถพ่วงส่วนมากของการรถไฟฯ ใช้เป็นระบบลมอัด นอกจากนั้นยังติดตั้งเครื่องปั่นไฟ เพื่อใช้ในการเร่งปฏิกิริยาการทำความร้อนในเตาเผาด้วย
 
== รูปภาพ ==
<gallery>
ไฟล์:แปซิฟิค 824 10.jpg|รถจักรไอน้ำแปซิฟิก CX50 หมายเลข 824 ขณะทำการซ่อมบำรุงที่โรงรถจักรธนบุรี [[เขตบางกอกน้อย]], [[กรุงเทพมหานคร]]
ไฟล์:แปซิฟิค 287 2.jpg|รถจักรไอน้ำแปซิฟิก CX50 หมายเลข 287 เป็นรถจักรที่ญี่ปุ่นจัดหาให้ไทยเมื่อปี พ.ศ. 2485 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
ไฟล์:แปซิฟิค 284.jpg|รถจักรไอน้ำแปซิฟิก CX50 หมายเลข 284 ขณะทำการสับเปลี่ยนที่[[สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่|สถานีรถไฟชุมหาดใหญ่]], [[จังหวัดสงขลา]]
ไฟล์:แปซิฟิค 829 2.jpg|รถจักรไอน้ำแปซิฟิก CX50 หมายเลข 829 ขณะทำขบวนรถสินค้า ที่[[สถานีรถไฟอุดรธานี]], [[จังหวัดอุดรธานี]] ในปี พ.ศ. 2516
ไฟล์:แปซิฟิค 291.jpg|รถจักรไอน้ำแปซิฟิก CX50 หมายเลข 291 ขณะทำขบวนรถสินค้า บน[[ทางรถไฟสายชุมทางทุ่งสง–กันตัง|ทางรถไฟสายชุมทางทุ่งสง-กันตัง]], [[จังหวัดนครศรีธรรมราช]] ในปี พ.ศ. 2516
ไฟล์:แปซิฟิค 824 2.jpg|รถจักรไอน้ำแปซิฟิก CX50 หมายเลข 824 เมื่อคราวไปเยือน[[ทางรถไฟสายมรณะ]], [[จังหวัดกาญจนบุรี]]
ไฟล์:แปซิฟิค 821.jpg|รถจักรไอน้ำแปซิฟิก CX50 หมายเลข 821 จอดรอการตัดบัญชีที่[[โรงรถจักรทุ่งสง]], จังหวัดนครศรีธรรมราช
ไฟล์:แปซิฟิค 828.jpg|รถจักรไอน้ำแปซิฟิก CX50 หมายเลข 828 ขณะทำขบวนรถเร็วที่[[สถานีรถไฟช่องเขา]], จังหวัดนครศรีธรรมราช
ไฟล์:แปซิฟิค 840 3.jpg|รถจักรไอน้ำแปซิฟิก CX50 หมายเลข 840 จอดอยู่ที่[[โรงรถจักรหาดใหญ่]], จังหวัดสงขลา เป็นรถจักรไอน้ำที่สวยที่สุดในประเทศไทย
ไฟล์:ต้นฉบับแปซิฟิค.jpg|แบบรถจักรไอน้ำแปซิฟิก CX50 ที่ญี่ปุ่นเสนอให้ไทยเมื่อปี พ.ศ. 2492
ไฟล์:แปซิฟิค 288.jpg|รถจักรไอน้ำแปซิฟิก CX50 หมายเลข 288 ทำการสับเปลี่ยนที่ข้างโรงรถจักรหาดใหญ่, จังหวัดสงขลา
ไฟล์:แปซิฟิค 845.jpg|รถจักรไอน้ำแปซิฟิก CX50 หมายเลข 845
ไฟล์:แปซิฟิค 850 52.jpg|รถจักรไอน้ำแปซิฟิก CX50 หมายเลข 850 ขณะทำขบวนนำเที่ยวทางรถไฟสายมรณะ ผ่านสะพานถ้ำกระแซ, จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2542
ไฟล์:แปซิฟิค 841.jpg|รถจักรไอน้ำแปซิฟิก CX50 หมายเลข 841 จอดรับส่งผู้โดยสารที่[[สถานีรถไฟชุมพร]], [[จังหวัดชุมพร]] เมื่อปี พ.ศ. 2511
ไฟล์:ต้นฉบับมิกาโดใหม่และแปซิฟิคใหม่.jpg|แบบของรถจักรไอน้ำแปซิฟิก CX50 รุ่นหมายเลข 821-850 (ล่าง) หมายเหตุ: ในรุ่นต้นฉบับในโรงงานยังเป็นขอพ่วงแบบ ABC อยู่
ไฟล์:Pacific CX50 Hejaz.jpg|รถจักรไอน้ำแปซิฟิก CX50 หมายเลข 85 (855 เดิม) ดำเนินการโดย[[การรถไฟฮิญาซ]], [[ราชอาณาจักรฮิญาซ]], [[ประเทศซาอุดีอาระเบีย]] (หมายเหตุ: ชุดรถจักรหมายเลข 81-85 ใช้[[ขนาดความกว้างรางรถไฟ|ขนาดความกว้างของรางรถไฟ]] คือ 1.055 เมตร)
</gallery><br />
 
== อ้างอิง ==
<references />{{รถจักรและรถดีเซลราง}}
[[หมวดหมู่:รถไฟ]]
[[หมวดหมู่:ยานพาหนะ]]
[[หมวดหมู่:การรถไฟแห่งประเทศไทย]]
{{DEFAULTSORT:รถจักรไอน้ำแปซิฟิก CX50}}
[[หมวดหมู่:การขนส่งระบบรางในประเทศไทย]]