ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอธาตุพนม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Depanom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Depanom (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 22:
== ประวัติศาสตร์ ==
 
อำเภอธาตุพนมเดิมมีฐานะเป็นเมืองขนาดใหญ่ชื่อว่า '''เมืองพนม''' หรือ '''เมืองธาตุพนม'''<ref>''วชิรญาณวิเศษ'' เล่ม ๘ แผ่นที่ ๔๖ วันพฤหัสบดี ๒๔ สิงหาคม รศ. ๑๑๒ หน้าที่ ๕๔๒-๕๔๓</ref> (ภาษาอังกฤษ : M. Penom,<ref>ง้าวแถน ถนิมแก้ว. ''สงครามพันปีระหว่างลาวกับแกว''. ม.ป.ท.. ๒๕๔๒.</ref> Muong Peunom,<ref>E. Lefevre. ''Travels in Laos''. Bangkok. ม.ป.ป..</ref> Moeuong Dhatou Penom<ref>เอเจียน แอมอนิเย. ''บันทึกการเดินทางในลาวภาคสอง พ.ศ. ๒๔๔๐''. เชียงใหม่. ๒๕๔๑.</ref>) ในพื้นอุรังคธาตุหลายฉบับ รวมถึงพงศาวดารย่อและแผนเมืองเวียงจันทน์ พงศาวดารเมืองมุกดาหาร พื้นธาตุพระนม พื้นธาตุหัวอก มหาสังกาสธาตุพนมโคดมเจ้า และพงศาวดารล้านช้างออกนามเมืองว่า '''พระนม''' (พนม)<ref>องค์การค้าของคุรุสภา. ''ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๔๔ (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๗๐ (ต่อ)-๗๑) เรื่องเมืองนครจำปาศักดิ์ (ต่อ) พงศาวดารละแวก''. ม.ป.ท.. ๒๕๑๒.</ref> จารึกฐาปนาอูบสำริดเมืองจันทะปุระของพ่อออกขนานโคษออกนามว่า '''ธาตุประนม'''<ref>ศิริวรรณ์ กาญจนโหติ. ''การสร้างคำในศิลาจารึกอีสาน ช่วง พ.ศ. ๒๐๗๓-พ.ศ. ๒๔๖๖''. ม.ป.ท. ๒๕๓๒.</ref> และจารึกศิลาเลกบูรณะพระธาตุพนม พ.ศ. ๒๔๔๔ ออกนามว่า '''ภนม''' ส่วนอุรังคธาตุฉบับวัดอับเปวันนัง บ้านบกท่ง เมืองจำพอน แขวงสะหวันนะเขด แสดงฐานะของธาตุพนมว่าเป็นนครใหญ่แห่งหนึ่งโดยออกนามว่า '''นครต่อนดินพระมหาธาตุเจ้า''' หรือ '''น้ำท่อนต่อนดินพระมหาธาตุเจ้า'''<ref>อุลังกทาดผูกเดียว ฉบับวัดอับเปวันนัง บ้านบกท่ง เมืองจำพอน แขวงสะหวันนะเขด หน้าลานที่ ๑๓-๑๖</ref> หรือ '''น้ำท่อนต่อนดินพระมหาธาตุเจ้า''' หลักฐานบางแห่งออกนามธาตุพนมเป็นสร้อยต่อท้ายนามเมืองมรุกขนครว่า '''มรุกขนคร บวรพนม ประถมเจดีย์''' (มะรุกขะนะคอน บํวอนพะนม ปะถมมะเจดี)<ref>ดำรง พ. ทัมมิกะมุนี. ''พระพุทธศาสนาในประเทศลาว : ศึกษาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน''. กรุงเทพ. : สุขภาพใจ. ๒๕๕๓. น. ๔๐.</ref> ธาตุพนมเป็นเมืองโบราณบริเวณลุ่มน้ำโขง มีอาณาเขตไปถึงปากเซบั้งไฟและสายภูซ้างแฮ่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ครอบคลุมพื้นที่ตาลเจ็ดยอดในตัวเมืองมุกดาหาร มีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับเมืองศรีโคตรบูรและเมืองมรุกขนคร ก่อตั้งก่อนรัชกาลสมเด็จพระเจ้าฟ้างุ้มมหาราชแห่งล้านช้าง (ก่อน พ.ศ. ๑๘๙๖ หรือก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙) ก่อตั้งก่อนเมืองนครพนมและเมืองมุกดาหาร นับเป็นเมืองเก่าแก่ที่สุดในบรรดาหัวเมืองลาวแถบจังหวัดนครพนม มีการพบหลักฐานทางโบราณคดีตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์บริเวณตำบลกุดฉิม พบโบราณวัตถุในอารยธรรมหินตั้ง ตลอดจนพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยศรีโคตรบูร (ก่อนทวารวดีอีสาน) จามปา ขอม และล้านช้าง ทั้งในตัวเมืองและปริมณฑลกระจายหลายแห่ง เฉพาะหลักฐานสมัยศรีโคตรบูรค้นพบมากกว่า ๑๐ แห่ง ทั้งในตัวเมือง รอบตัวเมือง และตำบลใกล้เคียง นักโบราณคดีและนักการพระพุทธศาสนาเชื่อว่าธาตุพนมเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาเถรวาทที่สำคัญแห่งหนึ่งของสุวรรณภูมิและภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เนื่องจากมีการค้นพบจารึกใบเสมายุคศรีโคตรบูรที่วัดศิลามงคล ตำบลพระกลางทุ่ง ปรากฏคาถา [[เย ธมฺมา]] เช่นเดียวกับที่ปรากฏในนครปฐม อู่ทอง และซับจำปา<ref>www.retc.ac.th/v3/programe/roiet57.pdf</ref> คัมภีร์อุรังคธาตุนิทานกล่าวว่าธาตุพนมถูกก่อตั้งขึ้นโดยพระยา ๕ นคร บางฉบับกล่าวว่า ๖ นคร หลังการสร้างอูบมุงภูกำพร้าสำเร็จ พระยาทั้ง ๕ ให้คนนำหลักหิน หินรูปอัสสมุขี หินรูปม้าวลาหก และหินรูปม้าอาซาไนมาปักไว้ตามทิศต่าง ๆ ขององค์ธาตุ เพื่อเป็นหลักเขตหมายเมืองมงคลในชมพูทวีป<ref>อุดร จันทวัน. ''นิทานอุรังคะทาด : นิทานอุรังคธาตุ ฉบับลาว''. ขอนแก่น. ๒๕๔๗.</ref> เมืองธาตุพนมประกอบด้วยหมู่บ้านข้าโอกาสจำนวนมาก ในสมัยศรีโคตรบูรมีทั้งหมด ๗ หมู่บ้าน มีประชากรไม่น้อยกว่า ๓,๐๐๐ คน การสร้างเมืองธาตุพนมเริ่มชัดเชนขึ้นในสมัยพระยาสุมิตตธัมมวงศา จากนั้นจึงเพิ่มจำนวนหมู่บ้านขึ้นในสมัยล้านช้างมากกว่า ๓๐ หมู่บ้าน หลายแห่งตั้งอยู่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง แต่มีศูนย์กลางปกครองที่บ้านธาตุพนมฝั่งขวาน้ำโขง ภายในตัวเมืองมีกำแพง ๓ ชั้นล้อมรอบเวียงพระธาตุ โดยมีวัดหัวเวียงรังษีตั้งอยู่ทิศหัวเมือง สันนิษฐานว่าเดิมชื่อวัดสวนสวัร (วัดสวรสั่ง สวรสั่งหรือ วัดสมสนุก) ตามคัมภีร์อุรังคธาตุ
 
คำว่า พนม ตรงกับภาษา[[เขมร]] แปลว่า [[ภูเขา]]<ref>http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_detail.php?id=2169 </ref> แต่อุรังคธาตุหลายฉบับเขียนว่า พระนม (พฺรนม) ซึ่งมาจากภาษาเขมร (พระ) และภาษาลาว (นม) หมายถึงหน้าอกของพระพุทธเจ้า<ref>http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_detail.php?id=2169 </ref> ชาว[[ลาว]]ออกสำเนียงว่า '''ปะนม''' (ประนม) คำนี้ปราฏในหนังสือพงศาวดารของแขวงสะหวันนะเขดด้วย คนท้องถิ่นนิยมเรียกนามเมืองว่า เมืองปะนม คู่กับ เมืองละคร (เมืองนครพนม) และเรียกชาวธาตุพนมว่า ไทพนม หรือ ไทปะนม สมัยโบราณเรียกที่ตั้งศูนย์กลางเมืองนี้ว่า '''กปณคีรี''' (ภูเพียงกำพร้าเข็ญใจ) บางแห่งเขียนเป็น '''ภูกามพ้า''' หรือ '''ภูก่ำฟ้า''' คนทั่วไปออกนามว่า '''ภูกำพร้า''' เป็นที่ตั้งพระมหาธาตุโบราณอันศักดิ์สิทธิ์ชื่อว่า '''พระมหาธาตุเจ้าพระนมบุรมมะเตชะเจดีย์''' หรือ '''พระมหาธาตุเจ้าพระนมบุรมมสถาน''' หรือ '''พระมหาธาตุเจ้าพระนมบุรมมหัวอกพระพุทธเจ้า''' หลักฐานบางแห่งเรียกว่า '''ธาตุภูกำพร้า''' หรือ '''อูบมุงภูกำพร้า''' คนทั่วไปออกนามว่า '''ธาตุปะนม''' หรือ '''ธาตุหัวอก''' (ดูกหัวเอิก)<ref>อุดร จันทวัน. ''นิทานอุรังคธาตุ : ฉบับลาว''. ขอนแก่น. ๒๕๔๗.</ref> คนทั่วไปออกนามว่า '''ธาตุปะนม''' หรือ '''ธาตุหัวอก''' ปัจจุบันคือ[[พระธาตุพนม]] [[วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร]] ซึ่งเดิมเรียกวัดพนม (วัดธาตุหรือวัดพระธาตุ) นับถือแต่โบราณว่าพระมหาธาตุนี้เป็นที่ประดิษฐานพระอุรังคธาตุ (อรกธาตุหรือธาตุหัวอกของพระพุทธเจ้า ๔ พระองค์) ชาติพันธุ์สองฝั่งโขงนับถือว่าเป็นพระปฐมเจดีย์แห่งแรกของลาว เอกสารพื้นเวียงจันทน์ยกย่องว่าธาตุพนมคือ[[หลักโลก]]ของชาวลาว<ref>เอกสารพื้นเวียงจันทน์กล่าวว่าก่อนราชวงศ์เวียงจันทน์จะล่มสลายได้เกิดนิมิตอาเภทขึ้นคือ ยอดพระธาตุพนมหักลง ต่อมาสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ได้เสด็จมายกยอดฉัตรขึ้นใหม่ จำนวนชั้นมี ๗ ชั้นเท่าของเดิม ภายหลังเมื่อสยามปกครองธาตุพนมแล้วจึงเปลี่ยนยอดฉัตรลงเหลือ ๕ ชั้นในปัจจุบัน</ref> ส่วนเอกสารประวัติบ้านชะโนดยกย่องว่าธาตุพนมคือ[[เสใหญ่]] (หลักเมือง) ของลาว<ref>เส หมายถึง เสาหลักหรือหลักเมือง</ref> เอกสารพงศาวดารเมืองพระนมชี้ให้เห็นว่า ก่อนการเข้ามาของพระพุทธศาสนาธรรมยุติกนิกายจากสยาม ท้องถิ่นนี้เชื่อว่าธาตุพนมคือสถานที่ประสูติและบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์เมื่อครั้งเสวยชาติเป็นพระยานกคุ่มไฟ ทำให้ธาตุพนมมีอีกนามหนึ่งว่า '''ธาตุนกคุ่ม''' (พระวฏฺฏกธาตุนกคุ่ม) หรือฮังนกคุ่ม<ref>https://www.youtube.com/watch?v=DzuVAq-c6ng</ref> ซึ่งสอดคล้องกับเอกสารพื้นเมืองจันทะบูลีว่า ก่อนสร้างพระธาตุพนมได้ปรากฏเฮือนหิน (ปราสาท) บนภูกำพร้าก่อนแล้ว ส่วนเอกสารตำนานขุนบูลมล่าวบูลมกล่าวว่าธาตุพนมเป็นเมืองสำคัญ ๑ ใน ๗ หัวเมืองทางศาสนายุคแรกของสุวรรณภูมิประเทศ ที่ได้รับการประดิษฐานพระบรมธาตุก่อนหัวเมืองทั้งหลาย แม้แต่อาณาจักรล้านนาก็ยอมรับให้เป็นพระบรมธาตุสำคัญประจำปีสันหรือนักษัตรวอกด้วยตามคติชุธาตุด้วย<ref>http://www.culture.cmru.ac.th/web60/content/2484</ref>
 
คัมภีร์อุรังคธาตุกล่าวถึงสถานะของธาตุพนมว่าเป็น '''พุทธศาสนานคร''' หรือ [[ศาสนานคร]] เรื่องราวเกี่ยวกับเมืองจึงถูกเรียกว่า '''ศาสนานครนิทาน''' จารึกเจ้าพระยาหลวงนครพิชิตราชธานีศรีโคตรบูรหลวงจึงออกนามเมืองว่า '''ศาสนาสาสสนาพระนม''' เมืองพุทธศาสนานคร<ref>ประวิทย์ คำพรหม. ''ประวัติอำเภอธาตุพนม''. กาฬสินธุ์. ๒๕๔๖.</ref> นั้นหมายถึง เมืองศักดิ์สิทธิ์อันเป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนา จิตวิญญาณ ศรัทธาและความเชื่อของชาวลาวและชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในอาณาจักรล้านช้าง ถึงขนาดชาวต่างชาติขนานนามเมืองว่า '''เมืองเมกกะของลาว''' เนื่องจากเป็นเมืองที่พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักร[[ศรีโคตรบูร]]และพระมหากษัตริย์แห่ง[[อาณาจักรล้านช้าง]]ถวายเขตแดนเป็น[[กัลปนา]]แด่พระธาตุพนม นัยหนึ่งเรียกว่าเมือง[[ข้าโอกาส]]หยาดทานหรือเมือง[[ข้อย]]โอกาส เจ้าผู้ปกครองเมืองธาตุพนมมีสถานะพิเศษต่างจากเจ้าเมืองทั่วไป จารึกผูกพัทธสีมาวัดธาตุพนมของเจ้าเมืองมุกดาหารออกนามเจ้าผู้ปกครองธาตุพนมว่า '''ขุนโอกาส''' (ขุนเอากฺลาษฺ)<ref>กรมศิลปากร. ''จดหมายเหตุการณ์บูรณปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุพนม : ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม พ.ศ. ๒๕๑๘-๒๕๒๒''. กรุงเทพฯ. ๒๕๒๒.</ref> ส่วนอุรังคธาตุฉบับบ้านเชียงยืน กำแพงนครเวียงจันทน์ เมืองจันทะบูลี ๒ ฉบับออกนามว่า '''เจ้าโอกาส''' (เจ้าโอกาด)<ref> หนังสืออุลังคนีทาน (อุลังคะนิทาน) ฉบับหอสมุดแห่งชาติ บ้านเชียงยืน กำแพงนครเวียงจันทน์ เมืองจันทะบูลี หน้าลานที่ ๓๐-๓๒</ref> <ref>พื้นอุลํกาธา ฉบับหอสมุดแห่งชาติ บ้านเชียงยืน กำแพงนครเวียงจันทน์ เมืองจันทะบูลี หน้าลานที่ ๒๙-๓๐</ref> หมายถึงเจ้าผู้เป็นใหญ่แห่งข้าโอกาสพระธาตุพนมคล้ายกับสถานะขุนสัจจพันธคีรีรัตนไพรวัน เจติยาสันคามวาสี นพคูหาพนมโขลน<ref>http://th.wikisource.org/wiki</ref> ผู้ดำรงตำแห่ง '''ขุนโขลน''' เจ้า[[เมืองพระพุทธบาท]] (เมืองสุนาปรันตประเทศ) หัวเมืองกัลปนาชั้นจัตวาของสยาม<ref>กรมศิลปากร. ''ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๗ : คำให้การขุนโขลน''. กรุงเทพ. ๒๔๖๐.</ref> คล้ายกับการปกครองเมืองจำปาอันเป็นส่วนแห่งพรหมไทย (พรหฺมเทยฺย) ซึ่งกษัตริย์ถวายแก่พราหมณ์ตามที่ปรากฏในพระไตรปิฎก และคล้ายกับบรรดาศักดิ์ '''โขลญพล''' (โขฺลญฺ วล กํมฺรเตงฺ อญฺ) เจ้าเมืองกัลปนาของ[[เขมร]]โบราณ เช่น เมืองลวปุระ (ลพบุรี) ในสมัยขอมเรืองอำนาจ<ref>http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/index.php</ref> สถานะผู้ปกครองเช่นนี้ยังปรากฏในอาณาจักรล้านช้างหลายแห่ง เช่น กวานนาเรือเมืองนาขาม เมืองหินซน และเมืองซนู แถบถ้ำสุวรรณคูหาในหนองบัวลำภู ช่วงรัชกาลสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เป็นต้น <ref>http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_detail.php?id=2233</ref> เอกสารบันทึกการเดินทางในลาวของเอเจียน เอมอนิเย กล่าวว่าผู้ปกครองธาตุพนมเป็นญาติกับเจ้าเมืองมุกดาหารและเจ้าพระยาหลวงเมืองแสน อำนาจของขุนโอกาสในสมัยล้านช้างมีมากกว่าเจ้าเมืองแถบลุ่มน้ำโขงหลายเมือง ส่วนใบลานพื้นเมืองเวียงจันทน์อย่างน้อย ๓ ฉบับกล่าวว่า ผู้ถูกสถาปนาให้รักษาธาตุพนมทรงเป็นกุมารเชื้อสายเดียวกันกับพระเจ้าพ่ออีหลิบ (สมเด็จพระเจ้าสิริบุญสาร) พระเจ้านันทเสน และพระเจ้าอินทวงศ์ กษัตริย์แห่งนครเวียงจันทน์ทั้ง ๓ พระองค์
 
สมัยโบราณเวียงพระธาตุของธาตุพนมถูกรายล้อมด้วยเวียงข้าพระธาตุ ๔ แห่ง คือ เวียงปากเซหรือเมืองกะบอง (ปัจจุบันคือเมืองเซบั้งไฟ สปป.ลาว) เวียงปากก่ำกรรมเวรหรือเมืองปากก่ำ (ปัจจุบันคือตำบลน้ำก่ำ อำเภอธาตุพนม) เวียงขอมกระบินหรือเมืองกบิล (ปัจจุบันคืออำเภอนาแก)<ref>http://na-kae.blogspot.com/</ref> เวียงหล่มหนองหรือเมืองมรุกขนคร (ปัจจุบันคือตำบลพระกลางทุ่ง นักวิชาการบางกลุ่มเชื่อว่าคือบ้านดอนนางหงส์ท่า) ธาตุพนมมีภูมิศาสตร์การวางผังเมืองขนานกับแม่น้ำโขงหันหน้าไปทางทิศตะวันออก วางผังเมืองตามคติจักรวาลวิทยาในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยกำแพงล้อมรอบ ๓ ชั้น แบ่งพื้นที่สำคัญเป็น ๓ ส่วน ส่วนแรกคือหัวเมืองทางทิศเหนือเป็นที่ตั้ง '''วัดหัวเวียง''' (วัดหัวเวียงรังษี) และชุมชนข้าโอกาสเดิมคือ [[บ้านหัวบึง]] บ้านหนองหอย เป็นต้น ต่อมาคือตัวเมืองเป็นที่ตั้งองค์พระธาตุพนมซึ่งเป็นตัวแทนอำนาจพุทธจักร จารึกวัดพระธาตุพนมแสดงให้เห็นว่าวัดนี้เป็นที่ประทับของพระสังฆราชและพระชั้นปกครองเรียกว่า เจ้าด้าน จำนวน ๔ รูป นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งหอเจ้าเฮือน ๓ พระองค์ซึ่งเป็นตัวแทนอำนาจผีบรรพบุรุษ เป็นที่ตั้ง[[บึงธาตุ]]ซึ่งเป็นแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ และเป็นที่ตั้งของกำแพงเมืองโบราณทิศตะวันออกริมฝั่งโขงซึ่งเป็นตัวแทนอำนาจการปกครองของเจ้านาย ส่วนทิศตะวันตกเป็นที่ตั้งของชุมชนข้าโอกาสเดิมคือ[[บ้านดอนกลาง]]หรือ[[บ้านดอนจัน]] ส่วนสุดท้ายคือท้ายเมืองทางทิศใต้เป็นที่ตั้ง[[แม่น้ำก่ำ]] อุรังคธาตุนิทานกล่าวว่าตอนใต้แม่น้ำนี้เคยเป็นราชสำนักกษัตริย์ที่มาร่วมสร้างพระธาตุพนม และเป็นที่ตั้งของชุมชนข้าโอกาสเดิมคือ[[บ้านน้ำก่ำ]]ยาวไปถึงตาลเจ็ดยอดในเขตตัวเมืองมุกดาหารด้วย