ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ชายชาย (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
PP2014 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{เพิ่มอ้างอิง}}
{{กล่องข้อมูล ผู้นำประเทศ
| name = ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ
| honorific-suffix =
| image = Thanatorn_cropped_2018.jpg
| imagesize = 230px
| caption =
<!----------ข้อมูลส่วนตัว---------->
| birth_date = {{วันเกิดและอายุ|2521|11|25}}
| birth_place = [[กรุงเทพมหานคร]] [[ประเทศไทย]]
|term_start = 27 พฤษภาคม 2561
|term_start2 =
|office = หัวหน้า[[พรรคอนาคตใหม่]]
| 1blankname = เลขาธิการ
| 1namedata = รศ. [[ปิยบุตร แสงกนกกุล]]
|term_end =
|predecessor = ''"ตั้งตำแหน่ง"''
|predecessor2 =
| alma_mater = [[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]<br>[[มหาวิทยาลัยนอตทิงแฮม]]<br>[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]<br>[[มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก]]<br>[[มหาวิทยาลัยซังคท์กัลเลิน]]
| other_names = เอก
| party = [[พรรคอนาคตใหม่]]
| known_for =
| occupation = นักธุรกิจ<br>นักการเมือง
| spouse = รวิพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ
| notable works =
| children =
| father = พัฒนา จึงรุ่งเรืองกิจ
| mother = สมพร จึงรุ่งเรืองกิจ
| signature= ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ.png
}}
 
'''ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ''' (ชื่อเล่น: เอก) เกิดเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 [[สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25]] [[นักธุรกิจ]] นักเคลื่อนไหวทาง[[การเมือง]]และ[[นักการเมือง]]ชาวไทย อดีตรองประธานกรรมการบริหาร[[กลุ่มบริษัทไทยซัมมิท]]ตั้งแต่ปี 2545 ซึ่งต่อมากลายเป็นบริษัทผู้ผลิตและส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์รายใหญ่อันดับต้นๆ ของประเทศ แต่ภายหลังตัดสินใจเข้าสู่การเมืองเมื่อปี พ.ศ. 2561<ref>https://www.bbc.com/thai/thailand-43251942</ref> เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง[[พรรคอนาคตใหม่]] และต่อมาได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่ผู้จดจัดตั้งพรรค ให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคคนแรก เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
 
== ปฐมวัยและครอบครัว ==
ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจเกิดเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 ที่[[กรุงเทพมหานคร]] มีชื่อเล่นว่า เอก เป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 5 คน ของพัฒนากับ[[สมพร จึงรุ่งเรืองกิจ]] มารดาเป็นประธานบริหารของกลุ่มบริษัทไทยซัมมิท โดยรับสืบทอดตำแหน่งนี้จากสามี พัฒนา จึงรุ่งเรืองกิจ (ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2545) บิดาของธนาธร และเป็นผู้ก่อตั้ง[[กลุ่มบริษัทไทยซัมมิท]]
 
ธนาธรเปิดเผยบนเวทีประชุมใหญ่ผู้จดจัดตั้งพรรคอนาคตใหม่ว่า เขาเริ่มทำงานครั้งแรกช่วงปิดเทอมชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พ่อและแม่ส่งเขาไปนั่งนับชิ้นส่วนเหล็กในโรงงาน ได้รับค่าแรงวันละ 30 บาทเท่านั้น ขณะที่พี่สาวคนโตต้องฝึกฝนงานส่วนออฟฟิศในโรงงาน ช่วงวัยรุ่นธนาธรเคยทำงานรับจ้างเป็นพนักงานล้างจานเต็มเวลาในร้านอาหารแห่งหนึ่งในสหรัฐ<ref>https://futureforwardparty.org/person/ธนาธร-จึงรุ่งเรืองกิจ</ref>
 
ธนาธรจบการศึกษาระดับประถมศึกษาจาก[[โรงเรียนเซนต์ดอมินิก]] มัธยมจาก[[โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา]]<ref name=":0">[https://mgronline.com/politics/detail/9510000129530 นายทุน “ฟ้าเดียวกัน” เปิดหน้าชก เอาเศรษฐกิจบังหน้า ชู รบ.มือเปื้อนเลือด-ไล่พันธมิตรฯ]</ref> และเข้าศึกษาต่อในภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสองสถาบัน (หลักสูตรนานาชาติ) [[คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] และ[[มหาวิทยาลัยนอตทิงแฮม]] [[ประเทศอังกฤษ]] ขณะเรียนปริญญาตรีเขาเริ่มสนใจการทำกิจกรรมของนักศึกษา และร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ กับเพื่อนในสถาบันเดียวกันและต่างสถาบันเรื่อยมา<ref name="force">[http://vikingsx.blogspot.com/2010/05/blog-post.html สัมภาษณ์ : ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ รองประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทไทยซัมมิท “ผมถูกบังคับให้เป็นนายทุน”] นิตยสารสารคดี 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553</ref> จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2542 ธนาธรได้รับเลือกเป็นอุปนายก[[องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] (อมธ.) และในปี พ.ศ. 2543 ได้รับเลือกเป็นรองเลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)<ref>https://www.sarakadee.com/2007/01/14/thanatorn/</ref>
 
สมัยเป็นนักศึกษาธนาธรได้รับการขนานนามว่าเป็น “แอ็กติวิสต์ซ้ายจัด” และเป็นหนึ่งในผู้ออกทุนก่อตั้ง'''[[สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน]]'''เป็นจำนวนสองแสนบาทก่อนเข้าไปบริหารธุรกิจครอบครัวโดยไม่ได้มีส่วนบริหารสำนักพิมพ์หรือให้เงินสนับสนุนเพิ่มเติมอีก<ref name=":0" /><ref>http://www.happyreading.in.th/article/detail.php?id=771</ref>
 
ด้วยความสนใจในบ้านเมืองรวมทั้งแนวคิดและทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ เขาจึงตัดสินใจศึกษาต่อในระดับปริญญาโท สาขา[[เศรษฐศาสตร์การเมือง]] ที่[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] นอกจากนี้ยังได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาโทใบที่ 2 สาขา[[การเงินระหว่างประเทศ|การเงินโลก]]ที่มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮ่องกงและ[[มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก]] และศึกษาต่อปริญญาโทใบที่ 3 สาขา[[กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศ]] ที่มหาวิทยาลัยแซงต์ กาลเลิน [[ประเทศสวิตเซอร์แลนด์]]<ref>http://www.tcdc.or.th/creativethailand/article/TheCreative/28343</ref><ref>https://futureforwardparty.org/person/ธนาธร-จึงรุ่งเรืองกิจ</ref>
 
เมื่อสำเร็จการศึกษา เขาเข้าทำงานในองค์การนอกภาครัฐกลุ่มเพื่อนประชาชน (FOP) ได้พักหนึ่ง แต่เมื่อบิดาเสียชีวิตเขารับมาบริหารธุรกิจของครอบครัว อย่างไรก็ตาม เขายังคงแสดงความเห็นทางการเมืองผ่านสื่ออยู่เป็นระยะ ๆ ทั้งยังเปิดเผยด้วยว่า ตนเองมีความคิดที่จะเล่นการเมือง<ref name=":0" />
 
== การเคลื่อนไหวทางสังคมและความสนใจทางการเมือง ==
ระหว่างที่เรียนอยู่ ณ [[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] นายธนาธรได้เข้าร่วมเรียกร้องสิทธิเพื่อปกป้อง[[สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย|สิทธิมนุษยชน]] เรียกร้องความเป็นธรรม และยืนหยัดเพื่อความถูกต้องกับผู้คนหลากหลายกลุ่มในหลายสถานการณ์ ในปี พ.ศ. 2543 ขณะร่วมเรียกร้องสิทธิกับกลุ่มสมัชชาคนจน เขาอยู่ร่วมชาวบ้านสมัชชาคนจนตอนที่ปะทะกับเจ้าหน้าที่[[ตำรวจ]]บริเวณหน้า[[ทำเนียบรัฐบาลไทย|ทำเนียบรัฐบาล]]สมัยนายกรัฐมนตรี [[ชวน หลีกภัย]] จนตัวเองได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย<ref name="force" /> เมื่อขึ้นชั้นปีที่ 3 นายธนาธรไปศึกษาต่อที่[[มหาวิทยาลัยนอตทิงแฮม]] [[ประเทศอังกฤษ]] เขาเริ่มศึกษาทฤษฎีของ[[คาร์ล มากซ์]] และ[[วลาดีมีร์ เลนิน]] เขาได้เข้าร่วมกลุ่ม Socialist Worker Student Society ซึ่งเป็นองค์กรจัดตั้งระดับนักศึกษาในอังกฤษ หลังจากธนาธรสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจาก [[วิศวกรรมศาสตร์|คณะวิศวกรรมศาสตร์]] หลักสูตรนานาชาติ [[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] และภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล [[มหาวิทยาลัยนอตทิงแฮม|มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม]] เขาได้กลับมาทำงานกับ[[องค์การนอกภาครัฐ]]ใน[[ประเทศไทย]]ได้ราวครึ่งปี<ref name="force" /> ต่อมาบิดาของเขาเสียชีวิตจากโรคมะเร็งในปี พ.ศ. 2545 ธนาธรวัย 23 ปี ในฐานะลูกชายคนโตของครอบครัวจึงรุ่งเรืองกิจซึ่งเป็นครอบครัวคนจีน เขาจึงจำเป็นต้องกลับมารับช่วงการบริหารธุรกิจต่อจากบิดา แม้จะอยากทำงานกับองค์กรภาคประชาสังคมที่ทำงานเพื่อสังคมและประชาชนมากกว่า
 
เขามีศักดิ์เป็นหลานอาของ[[สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ]] อดีต[[รองนายกรัฐมนตรี]] [[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม]] ธนาธรและสุริยะให้สัมภาษณ์หลายครั้งว่าทั้งสองมีความเห็นทางการเมืองต่างกันตั้งแต่สมัยธนาธรยังเป็นนักศึกษา เพราะธนาธรไม่เห็นด้วยกับโครงการท่อส่งก๊าซไทย-มาเลย์ เป็นอย่างมากเพราะจะทำให้ประเทศไทยเสียผลประโยชน์อย่างมหาศาล นำไปสู่ความขัดแย้งกับสุริยะ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาล[[ทักษิณ ชินวัตร]]ขณะนั้น<ref>https://isaanrecord.com/2018/06/08/isaans-future-thanathorn-on-moving-the-region-forward/</ref> ในปี 2561 สุริยะที่ไปเข้า[[พรรคพลังประชารัฐ]] กล่าวถึงธนาธรว่า “ถ้าคุณพ่อเขาไม่เสีย ทุกวันนี้เขาคงไปเดินสาย[[องค์การนอกภาครัฐ|เอ็นจีโอ]] สมัยที่เขายังเรียนอยู่ บางที [[CNN]] ออกข่าวเรื่องการต่อต้านอะไร คุณจะได้เห็นธนาธรโผล่ไปหมดแหละครับ ต่างประเทศก็ด้วย เพราะจริง ๆ เขาอยากจะเห็นโลกที่สมบูรณ์แบบ”ในแบบที่เค้าคิด<ref>https://www.matichon.co.th/politics/news_1077860</ref>
 
== การทำงานทางธุรกิจ ==
หลังเรียนจบนายธนาธรเกือบจะได้เดินทางไปเริ่มทำงานด้านการพัฒนาเยาวชนของ[[สหประชาชาติ]]ที่[[ประเทศแอลจีเรีย]]อยู่แล้ว<ref>https://isaanrecord.com/2018/06/08/isaans-future-thanathorn-on-moving-the-region-forward/</ref> แต่แม่ของเขาโทรศัพท์มาแจ้งอาการป่วยหนักของพ่อซึ่งกำลังจะเข้ารับการผ่าตัดใหญ่เสียก่อน แผนชีวิตที่วางไว้ทั้งหมดพลิกกลับไปอีกขั้วหลังการจากไปของนายพัฒนา จึงรุ่งเรืองกิจ จากที่ไม่เคยคิดและไม่เคยสนใจจะเป็นนักธุรกิจมาก่อนเลยในชีวิต ธนาธรกลับต้องเข้ารับตำแหน่งรองประธานกรรมการบริหารกลุ่มบริษัทไทยซัมมิททันทีด้วยอายุเพียง 23 ปีในขณะนั้น<ref>https://isaanrecord.com/2018/06/08/isaans-future-thanathorn-on-moving-the-region-forward/</ref>
 
ตั้งแต่ที่ธนาธรเริ่มเข้าไปบริหารธุรกิจ กลุ่มบริษัทไทยซัมมิทได้เติบโตขึ้นอย่างมาก จากรายได้ 16,000 ล้านบาท<ref name="liferevo">[http://www.liferevo.org/index.php?option=com_content&task=view&id=210&Itemid=73 คุณ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ] LifeRevo 8 ตุลาคม 2552</ref> เพิ่มขึ้นเป็นรายได้ 80,000 ล้านบาท เขาทำให้ธุรกิจครอบครัวกลายเป็นกลุ่มบริษัทระดับโลกที่มีโรงงานผลิตใน 7 ประเทศยักษ์ใหญ่ทั่วโลก รวมจำนวนพนักงานมากถึงราว 16,000 คน<ref>https://www.bbc.com/thai/thailand-44001760</ref><ref>https://www.prachachat.net/motoring/news-54183</ref>
 
ข้อตกลงทางธุรกิจที่สำคัญ เช่นกรณีที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2548 เมื่อธนาธรได้ดีลเป็นผู้ผลิตตัวถังรถยนต์ให้บริษัทเทสลา (Tesla) บริษัทสัญชาติ[[อเมริกัน]] มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของรถยนต์ไฟฟ้า เป็นจำนวนถึง 500,000 คันต่อปี<ref>https://www.bbc.com/thai/thailand-44001760</ref> ข้อตกลงนี้ได้สร้างสถิติใหม่ให้กับยอดขายต่อรายของไทยซัมมิท ซึ่งพุ่งขึ้นไปถึง 7,900 ล้านบาท คิดเป็นผลกำไร 5,980 ล้านบาท<ref>https://brandinside.asia/thaisummit-to-usa-for-tesla/</ref> และด้วยข้อตกลงซื้อขายนี้เอง ที่ได้ทำให้กลุ่มบริษัทไทยซัมมิทขยายฐานการผลิตกว้างไกลออกไปอีก ด้วยการเปิดโรงงานใน[[สหรัฐ|สหรัฐอเมริกา]]และพอถึงปี 2552 ไทยซัมมิทโดยการนำของนายธนาธรก็ได้ตัดสินใจซื้อ โอกิฮาระ (Ogihara) บริษัทสัญชาติ[[ประเทศญี่ปุ่น|ญี่ปุ่น]]ผู้ผลิตแบบพิมพ์ชิ้นส่วนยานยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก<ref>http://www.daiwa-grp.jp/english/press/en_090219-a.html</ref> ซึ่งกำลังประสบภาวะวิกฤตทางการเงินอย่างหนักในขณะนั้น แต่ด้วยการเข้าไปบริหารจัดการเต็มรูปแบบภายใต้การนำของนายธนาธร โอกิฮาระก็ผ่านพ้นวิกฤต และกลับมามีผลประกอบการที่มั่นคง เลี้ยงตัวเองได้และมีกำไรในที่สุด<ref>https://www.youtube.com/watch?v=UR7B5cxZE-c</ref>
 
นอกจากธุรกิจที่ดำเนินไปด้วยดี ธนาธรยังได้รับตำแหน่งประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครนายก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 – 2554<ref>http://info.matichon.co.th/report/committee/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%98%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%A3.pdf</ref> และเขายังเป็นคนที่อายุน้อยที่สุดที่ได้รับเลือกให้เป็นเลขาธิการสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย ระหว่างปีพ.ศ. 2550 – 2553 ธนาธรยังมีรายชื่ออยู่ในบอร์ดพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรม ของ[[สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ]]อีกด้วย<ref>https://futureforwardparty.org/person/ธนาธร-จึงรุ่งเรืองกิจ</ref>
 
ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 หลังจากอยู่ในตำแหน่งรองประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทไทยซัมมิทมาเป็นเวลา 16 ปีเต็ม ธนาธรประกาศลาออกอย่างเป็นทางการเพื่อทำงานทางการเมืองภายใต้บทบาทหัวหน้า[[พรรคอนาคตใหม่]]<ref>https://www.bbc.com/thai/thailand-43080898</ref> ซึ่งเขาเคยให้สัมภาษณ์ว่า จะยึดมั่นงานการเมืองอย่างเดียวนับจากนี้ และจะไม่กลับไปทำธุรกิจอีก<ref>https://www.matichon.co.th/politics/news_933215</ref>
 
== การทำงานการเมือง ==
 
=== พรรคอนาคตใหม่ ===
วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2561 ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และ รศ. [[ปิยบุตร แสงกนกกุล]] อาจารย์[[คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] และผู้สนับสนุนจำนวน 24 คน ได้ยื่นขอจดทะเบียนพรรคการเมืองภายใต้ชื่อ [[พรรคอนาคตใหม่]] ต่อ[[คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ประเทศไทย)|คณะกรรมการการเลือกตั้ง]] หรือ กกต.<ref>https://www.khaosod.co.th/politics/news_796767</ref> ต่อมา เขาได้รับมติเห็นชอบ 473 เสียงจากที่ประชุมใหญ่ผู้จดจัดตั้งพรรค เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคคนแรก<ref>http://news.ch3thailand.com/ข่าวด่วน/69923/-ธนาธร--นั่งหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่.html</ref> เขาประกาศเจตนารมณ์ของพรรคในการยุติระบอบรัฐประหาร กลับคืนสู่ระบอบรัฐสภา สร้าง[[ประชาธิปไตย]]และ[[สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย|สิทธิมนุษยชน]]ให้มั่นคงในสังคมไทย กระจายอำนาจ รวมทั้งร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่โดยประชาชนต้องมีส่วนร่วม<ref>https://www.bbc.com/thai/thailand-43080898</ref><ref>https://www.bbc.com/thai/thailand-43411311</ref><ref>https://www.matichon.co.th/politics/news_933215</ref>
 
ใน[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562|การเลือกตั้งทั่วไปปี 2562]] พรรคอนาคตใหม่ชนะการเลือกตั้งใน 30 เขต และได้รับคะแนนมหาชนมากเป็นอันดับสาม รองจาก[[พรรคพลังประชารัฐ]]และ[[พรรคเพื่อไทย]] และยังเป็นพรรคที่ได้คะแนนเสียงมหาชนในกรุงเทพมหานครมากที่สุด<ref>[https://www.matichon.co.th/politics/news_1435870 “ธนาธร” ปลื้ม อนาคตใหม่ขึ้นแท่นเบอร์1 ชนะใจคนกรุง ควง 9 ว่าที่ส.ส. คาราวานขอบคุณ]</ref> หลังการเลือกตั้ง พรรคอนาคตใหม่และพันธมิตรทางการเมือง รวมทั้งพรรคเพื่อไทย แถลงร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล ธนาธรได้รับข้อเสนอตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพื่อแลกกับการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล แต่ธนาธรปฏิเสธ<ref>[https://www.bangkokpost.com/news/politics/1652524/pheu-thai-offered-thanathorn-nomination-for-pms-post Pheu Thai offered Thanathorn nomination for PM's post]</ref>
 
วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2562 เขาถูกยื่นคำร้องว่ามีคุณสมบัติลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่ โดยให้เหตุผลว่าขณะสมัครรับเลือกตั้งยังถือหุ้นสื่ออยู่<ref>[https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_2378348 ธนาธร โดนอีก! กกต.ตั้ง กรรมการสอบสวน ปมถือหุ้น ส่อโดนหนัก ไม่ได้เข้าสภา!]</ref>
 
=== คดีฝ่าฝืนคำสั่ง คสช. ===
พ.อ. บุรินทร์ ทองประไพ ฐานะตัวแทนของ คสช. แจ้งข้อหาความผิดแก่ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ตาม[[พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550]] มาตรา 14 (2) กรณีจัดรายการ "คืนวันศุกร์ให้ประชาชน" ผ่านเฟซบุ้กไลฟ์ ที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงการนำคะแนนเสียง สส. เพื่อเป็นเสียง คสช. เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2561 โดยทั้งธนาธรรับทราบข้อหากล่าวต่อพนักงานสอบสวนเมื่อ 17 กันยายน พ.ศ. 2561 และส่งคำให้การเป็นลายลักษณ์อักษร ต่อมาพนักงานสอบสวนให้ส่งสำนวนคดีแก่พนักงานอัยการภายในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ และนัดเข้าพบพนักงานอัยการในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ที่สำนักงานอัยการสูงสุด<ref>[https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/98688 พรรคอนาคตใหม่ เผย ‘นายธนาธร’ อาจถูกอัยการสูงสุดสั่งฟ้องฝากขัง 27 ก.พ. นี้ เพราะถูกเร่งรัดคดี กรณีเฟซบุ๊กไลฟ์วิจารณ์คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ]</ref><ref>[https://www.khaosod.co.th/election-2019/news_2231280 อัยการนัดธนาธรพบ 27 ก.พ. คดีจัดรายการวิจารณ์ คสช. อนาคตใหม่จับตาจะถูกฝากขังหรือไม่]</ref><ref>[https://www.thairath.co.th/content/1500823?fbclid=IwAR1Z0OU1dpTxglpa7gADNqGsfnRXXtDBw0I5IkQfU4SRBq2Y5N2IAc0pLw4 จับคำต่อคำ "ธนาธร" พูดประโยคจี้ใจ ทำคสช.เดือด นับถอยหลัง ลุ้นพ่อของฟ้านอนคุก]</ref>
 
วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2562 เขาถูกตั้งข้อหา[[การปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครอง|ปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครอง]]และให้ที่พักพิงแก่ผู้ต้องหาอื่น เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และ 189 โดยตัวแทน คสช. อ้างว่า ข้อหาดังกล่าวมาจากเหตุการณ์ที่กลุ่มดาวดินทำกิจกรรมที่หอศิลปวัฒนธรรมเมื่อปี 2558 แล้วกลุ่มดังกล่าวหลบหนีไปด้วยรถตู้ของธนาธร<ref>[https://www.bbc.com/thai/thailand-47796838 ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ : รับหมายเรียกข้อหา ยุยง-ปลุกปั่น ให้ที่พักพิงแก่ผู้ต้องหา จากเหตุเมื่อ 4 ปีก่อน]</ref>
 
== ภาพลักษณ์ ==
สื่อต่างประเทศหลายสำนักมักจะเปรียบเทียบธนาธรกับ[[จัสติน ทรูโด]] [[นายกรัฐมนตรีแคนาดา]] ด้วยความที่ทั้งคู่มีพื้นฐานของการเป็นนักธุรกิจ เป็นคนรุ่นใหม่ และมีมุมมองทางการเมืองใกล้เคียงกัน<ref>https://www.theguardian.com/world/2018/apr/01/thanathorn-juangroongruangkit-thai-tycoon-trying-to-take-on-the-junta</ref>
 
บางทีสื่อไทยเรียกเขาว่า "ไพร่หมื่นล้าน" ซึ่งแสดงถึงการต่อสู้ระหว่างชนชั้นทางสังคมในประเทศไทย<ref>{{cite web |title=ไพร่หมื่นล้าน! 10 รู้จัก 'เอก ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ' เขาคือใคร?|url=https://www.thairath.co.th/content/1219182 |website=Thairath |accessdate=10 September 2018}}</ref> ผู้สนับสนุนเขาที่เป็นหญิงอายุน้อยบางส่วนยังเรียกเขาว่า "พ่อ"<ref>{{cite news|url=https://www.scmp.com/week-asia/politics/article/2187362/everyone-loves-daddy-forget-thaksin-heres-thai-juntas-new|title=Everyone loves ‘Daddy’: forget Thaksin, Thanathorn Juangroongruangkit is the Thai junta’s new billionaire rival|first1=Jitsiree|last1=Thongnoi |first2=Bhavan|last2=Jaipragas|date=24 Feb 2019|accessdate=2 April 2019|publisher=South China Morning Post}}</ref><ref>{{cite news|url=https://www.washingtonpost.com/world/asia_pacific/a-new-political-party-in-thailand-led-by-an-athletic-billionaire-rattles-ruling-junta/2019/03/18/49f71a24-4276-11e9-85ad-779ef05fd9d8_story.html?utm_term=.fe2ea260885b|title=A new political party in Thailand, led by an athletic billionaire, rattles ruling junta|publisher=Washington Post|first=Shibani|last=Mahtani|date=19 March 2019|accessdate=2 April 2019}}</ref><ref>{{cite news|url=https://www.reuters.com/article/us-thailand-election-thanathorn/thailands-rising-political-star-under-fire-as-election-nears-idUSKCN1QF10H|title=Thailand's rising political star under fire as election nears|publisher=Reuters|first=Patpicha|last=Tanakasempipat|date=26 February 2019|accessdate=2 April 2019}}</ref>
 
วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2562 ธนาธรลงนามบันทึกความเข้าใจโอนทรัพย์สิน 5 พันล้านบาทเข้ากองทุนบลายด์ทรัสต์ (blind trust) คือ กองทุนที่มีผู้จัดการกองทุนดูแลโดยที่เจ้าของทรัพย์สินไม่มีอำนาจสั่งผู้จัดการกองทุนได้<ref>[https://www.prachachat.net/politics/news-303192 “ธนาธร” ลงนาม mou เซ็นโยกทรัพย์สิน 5 พันล. เข้ากองทุน blind trust]</ref>
 
== ชีวิตส่วนตัว ==
ธนาธรแต่งงานกับรวิพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ มีบุตรธิดารวมด้วยกัน 4 คน<ref>https://www.thaipost.net/main/detail/10472</ref> เขามักเปิดโอกาสให้ลูกเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวด้วยตนเอง เพราะต้องการให้เด็กใช้ความคิดสร้างสรรค์ เกิดความสงสัยและตั้งคำถามเป็น<ref>https://www.fungjaizine.com/article/interview/thanathorn-playlist</ref>
 
นอกจากนี้ เขายังชื่นชอบการเล่นกีฬาและกิจกรรมผาดโผนต่างๆ อาทิ ปีนเขา พายเรือคายัค วิ่งระยะไกล ขี่จักรยานทางไกล ปีนผา ไตรกีฬา เขาเคยเข้าแข่งรายการต่างๆ ได้แก่ การวิ่ง 250 กิโลเมตรในทะเลทรายซาฮาร่า<ref>https://www.fungjaizine.com/article/interview/thanathorn-playlist</ref> รายการ 6633 Arctic Ultra มาราธอน 560 กิโลเมตร ในปีพ.ศ. 2558<ref>http://www.paulpoole.co.th/truesouth/about-tj.html</ref>
 
ธนาธรอ่านหนังสือพิมพ์ ''[[เดอะนิวยอร์กไทมส์]]'', ''[[ดิอีโคโนมิสต์]]'', ''[[ไฟแนนเชียลไทมส์]]'', ''[[มติชน]]'' และ ''[[กรุงเทพธุรกิจ]]'' เขายังเป็นแฟน[[อีสปอร์ต]]และเกมอย่าง''[[ไมน์คราฟต์]]'' และ''[[อารีนาออฟเวเลอร์]]'' ซึ่งเขาว่าเป็นเครื่องมือหนึ่งในการสร้างสัมพันธ์กับบุตร<ref>{{cite web |title=ผมก็แค่คนธรรมดาคนหนึ่ง : ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ |url=https://www.fungjaizine.com/article/interview/thanathorn-playlist |website=Fungjai |accessdate=10 September 2018}}</ref>
 
==อ้างอิง==
{{รายการอ้างอิง}}
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{instagram|thanathorn.ig}}
 
{{พรรคอนาคตใหม่}}
{{อายุขัย|2521}}
[[หมวดหมู่:นักธุรกิจชาวไทย]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากโรงเรียนเซนต์ดอมินิก]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากกรุงเทพมหานคร]]
[[หมวดหมู่:นักการเมืองไทย]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ]]
[[หมวดหมู่:แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ]]
[[หมวดหมู่:พรรคอนาคตใหม่]]
[[หมวดหมู่:สกุลจึงรุ่งเรืองกิจ]]