ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอธาตุพนม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Depanom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Depanom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 38:
หลังสมัย[[กบฏเจ้าอนุวงศ์]]แห่งเวียงจันทน์ เมืองพนมมีประชาชนอาศัยอยู่อย่างเบาบางเนื่องจากปัญหาการเมืองการสงคราม และมีฐานะเสมอหนึ่งหมู่บ้านขนาดใหญ่ที่มีหมู่บ้านขนาดเล็กรายรอบ ซึ่งมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่[[บ้านธาตุพนม]]เช่นเดิม หลังช่วงเวลานี้ไม่นาน ในทัศนะของคนท้องถิ่นเห็นว่าธาตุพนมยังคงเป็นเมืองอยู่ รวมถึงในเอกสารแผนที่ของฝรั่งเศสมากกว่า ๓ ฉบับยังคงออกนามว่า เมืองพนมหรือเมืองธาตุพนมอยู่ จากนั้นไม่นาน ในสมัยรัชกาลที่ ๕ สยามถือว่าธาตุพนมตกอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของสยาม แต่หลังจากกรณี ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖) ทำให้สยามไม่สามารถสร้างค่ายหรือที่ตั้งกองทหารในเขต ๒๕ กิโลเมตรจากน้ำโขงทางฝั่งขวา และยังไม่ได้เข้ามาจัดการการปกครองอย่างเต็มรูปแบบ โดยปล่อยให้เจ้านายท้องถิ่นปกครองกันเองตามธรรมเนียมเดิม เป็นเหตุให้เจ้านายธาตุพนมบางส่วนไปฝักใฝ่กับอำนาจฝรั่งเศสเช่นเดียวกับเจ้านายเมืองนครพนม เจ้านายเมืองพาลุกากรภูมิ และเจ้านายเมืองเรณูนคร [[เจ้าเมืองธาตุพนม]]ถูกกล่าวถึงครั้งสุดท้ายในบันทึก ดร. เปแนซ์ หมอชาวฝรั่งเศส (พ.ศ. ๒๔๒๕) นอกจากนี้ ในจารึกการบูรณะพระธาตุพนมได้กล่าวถึงผู้ปกครองเมืองธาตุพนมคนสุดท้ายก่อนถูกยุบลงเป็นกองบ้านธาตุพนม นัยว่าได้ถูกลดอำนาจมาตั้งแต่สมัยหลังสงครามเจ้าอนุวงศ์และมีอายุยืนยาวมาถึงรัชกาลที่ ๕ คือ '''[[พระปราณีศรีมหาพุทธบริษัท (เมฆ รามางกูร)]]''' หรืออาชญาหลวงปาฑี (ก่อน พ.ศ. ๒๔๔๔)
 
หลังจากยุคนี้แล้วในตำนานบ้านชะโนดและบ้านสะโน ซึ่งเป็นหมู่บ้านข้าโอกาสพระธาตุพนมมาแต่เดิมกล่าวว่า ธาตุพนมได้ถูกปกครองจากนายกอง ๓ ท่าน ซึ่งมีเชื้อสายเป็นเจ้านายท้องถิ่นและเกี่ยวดองทางเครือญาติกับขุนโอกาสเมืองธาตุพนมเดิมคือ '''[[กวานหลวงอามาตย์]] (อำนาจ)''' '''[[ท้าวสุริยะ]] (อ้วน)''' และ '''[[ท้าวราชวัตริ์]] (คูณ)''' <ref>พระฎิสสโร (หนูกร) ใจสุข. ''ประวัติบ้าน''. มุกดาหาร. ม.ป.ป.. </ref> หลังจากนั้นข้าพระธาตุพนมถูกปกครองโดยขุนนางท้องถิ่นซึ่งเกี่ยวดองทางเครือญาติกับตระกูลขุนโอกาสเดิมอีกสายหนึ่งนามว่า '''[[ท้าวอุปละ]] (มุง)''' (พ.ศ. ๒๔๑๗) ในช่วงนี้ปัญหาการแย่งชิงข้าเลกพระธาตุพนมยังคงดำเนินมา จนถึงสมัยสุดท้ายก่อนปฏิรูปการปกครองเป็นระบบมณฑลเทศาภิบาล (พ.ศ. ๒๔๔๔) ทางสยามได้เข้ามาจัดการกับหัวเมืองลาวและหัวเมืองอีสานท้องถิ่น <ref>เติม วิภาคย์พจนกิจ. ''ประวัติศาสตร์อีสาน''. กรุงเทพ. ๒๕๔๖.</ref> เอกสารของทางสยามออกนามเมืองพนมว่า '''บ้านทาษพนม''' หมายถึงหมู่บ้านแห่งข้าทาสขององค์พระธาตุพนม จากนั้นเมืองพนมได้รับการยกฐานะเป็นกอง เรียกว่า '''[[กองข้าพระธาตุพนม]]''' หรือ '''[[กองบ้านทาษพนม]]''' (พ.ศ. ๒๔๒๒) โดยสยามได้จัดการแต่งตั้งให้มีนายกองเชื้อสายข้าอุปัฏฐากพระธาตุพนมจากสองเมืองคือเมืองนครพนมและเมืองมุกดาหารเป็นผู้ดูแลข้าโอกาสพระธาตุพนม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ ผู้สำเร็จราชการกรมมหาดไทย สมุหนายกอัครมหาเสนาบดี ว่าราชการหัวเมืองลาว ซึ่งมีเชื้อสายจากกษัตริย์เวียงจันทน์ทางฝ่ายพระราชมารดา ให้มีอำนาจเป็นผู้แต่งตั้งเจ้านายธาตุพนมขึ้นปกครองกองข้าโอกาสพระธาตุพนม พร้อมกับพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เจ้านายธาตุพนมว่า '''[[พระพิทักษ์เจดีย์]]''' (นายกอง) และ '''[[หลวงโพธิ์สาราช]]''' (ปลัดกอง) <ref>ทองสมุทร โดเร. ''บันทึกการเดินทางในลาว ภาคสอง พ.ศ. ๒๔๔๐''. เชียงใหม่. ๒๕๔๑. </ref> ตำแหน่งพระพิทักษ์เจดีย์พระธาตุพนมแห่งเมืองนครพนมนี้ถูกแต่งตั้งคู่กันกับพระพิทักษ์เจดีย์พระธาตุเชิงชุมแห่งเมืองสกลนคร จากนั้นไม่นานเจ้านายท้องถิ่นได้มีความพยายามยกกองบ้านธาตุพนมให้มีฐานะเป็นเมืองอีกครั้งหนึ่ง เรียกว่า '''[[เมืองทาษพนม]]''' โดยขอเสียส่วยขึ้นแก่กรุงเทพมหานครโดยตรงแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ เนื่องจาก[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงเห็นว่าเป็นปัญหาภายในของเจ้านายท้องถิ่น อันเกิดจากการขัดแย้งผลประโยชน์กันเอง<ref>เอกสาร ร.๕ บ.๑๒ เล่ม ๑๑/๓๐ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ.</ref> นายกองบ้านธาตุพนมได้ดำรงตำแหน่งสืบทอดมาได้รวม ๓ ท่าน (พ.ศ. ๒๔๒๒) ทางสยามได้พระราชทานตราประจำตำแหน่งเป็นรูปเทวดานั่งแท่นหัตถ์ทรงพระขรรค์และพวงมาลัยให้เสมอตราประทับเจ้าเมือง ทั้งหมดต่างมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับขุนโอกาสเมืองธาตุพนมเดิมทั้งสิ้น คือ '''[[พระพิทักษ์เจดีย์ (ถง)]]''' บรรดาศักดิ์เดิมที่ท้าวอุปละ '''[[พระพิทักษ์เจดีย์ (แก่น)]]''' บรรดาศักดิ์เดิมที่ท้าวพระละคร และ '''[[พระพิทักษ์เจดีย์ (ศรี)]]''' บรรดาศักดิ์เดิมที่พระศรีชองฟ้า ทั้งหมดต่างถึงแก่กรรมที่กรุงเทพพระมหานคร ด้วยสาเหตุต้องเดินทางไปฟ้องร้องเจ้าเมืองรายรอบที่เข้ามาแย่งชิงข้าเลกพระธาตุพนมจนเบาบางลง ส่วนปลัดกองคนสุดท้ายของธาตุพนมนั้นปรากฏนามว่า '''[[อาชญาโพธิสาร]]''' (พ.ศ. ๒๔๓๙) จากนั้นไม่นาน ประชาชนท้องถิ่นได้พยายามตั้งเมืองธาตุพนมให้เป็นศูนย์กลางการปกครองอีกครั้ง โดยแผนการของกลุ่มท้าวผู้มีบุญ[[องค์พระบาท]]และ[[องค์ครุธราช]] โดยมีกลุ่มองค์มั่นเป็นหัวหน้า แผนการครั้งนี้ไม่เพียงแต่เกิดขึ้นที่ธาตุพนมเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นที่นครเวียงจันทน์ นครจำปาศักดิ์ อัตตะปือ อุบลราชธานี ขุขันธ์ และเขมราษฎร์ธานีด้วย อย่างไรก็ตาม สยามได้ปราบปรามกองกำลังเหล่านี้ด้วยอาวุธอย่างรุนแรงจึงถือว่าแผนการครั้งนี้ไม่เป็นผลสำเร็จ ในเอกสารพื้นตำนานครุธราชและพื้นตำนานพระบาทใช้ชาติ<ref>พระครูสิริปัญญาวุฒิ (ขุนละคร ขันตะ). ''พื้นพระบาทใช้ชาติ''. ม.ป.ท.. ม.ป.ป..</ref>กล่าวว่า ความวุ่นวายครั้งนี้เกิดขึ้นจากพระอัครบุตร์ (บุญมี) ไม่พอใจสยามที่ตั้งพระพิทักษ์เจดีย์เป็นนายกองจึงได้ขอความช่วยเหลือจากผีบุญองค์ครุธเข้ามายึดธาตุพนมเพื่อให้ตนได้ขึ้นปกครองธาตุพนมในฐานะเจ้าเมืองต่อจากบิดาของตน<ref>พระครูสิริปัญญาวุฒิ (ขุนละคร ขันตะ). ''พื้นครุธราช''. ม.ป.ท.. ม.ป.ป..</ref> สมัยนี้เมื่อไม่สำเร็จพระอัครบุตร์ (บุญมี) จึงข้ามไปอยู่ในความคุ้มครองของฝรั่งเศสแล้วถูกแต่งตั้งเป็น '''พระมหาสมเด็จราชาธาตุพระนมบุรมราชาเจดีย์มหาคุณ''' ขึ้นปกครองกองข้าโอกสพระธาตุพนมฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแทน ทำให้กองข้าโอกาสพระธาตุพนมถูกแยกเป็น ๒ ฝ่าย ต่อมาได้สละตำแหน่งให้หลวงโพธิ์สาราชบุตรชายของตนปกครอง ฝรั่งเศสจึงตั้งกองข้าโอกาสพระธาตุพนมฝั่งซ้ายเป็นเมืองปากเซบั้งไฟ และตั้งหลวงโพธิ์สาราชเป็นพระยาโพธิ์สาราชเจ้าเมืองปากเซบั้งไฟ ตั้งท้าวกัตติยะหลานพระอัครบุตร์ (บุญมี) เป็นอุปฮาด ซึ่งตรงกับช่วงที่พระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด นนฺตโร) เดินทางจากอุบลราชธานีมาบูรณะพระธาตุพนมครั้งใหญ่ตามคำเชิญของพระครูวิเวกพุทธกิจ (เสาร์ กนฺตสีโล) และพระครูวินัยธร (มั่น ภูริทตฺโต)
 
หลังปฏิรูปการเมืองการปกครองเป็น[[ระบบมณฑลเทศาภิบาล]]โดยยกเลิกระบบ[[อาญาสี่]] ซึ่งเป็นธรรมเนียมการปกครองของ[[หัวเมืองลาว]]โบราณแล้ว กองบ้านธาตุพนมได้ถูกจัดตั้งเป็นบริเวณ เรียกว่า [[บริเวณธาตุพนม]] (พ.ศ. ๒๔๔๓) มีศูนย์กลางราชการที่เมืองนครพนม โดยมีพระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ (เลื่อง ภูมิรัตน์) เป็นข้าหลวงประจำบริเวณธาตุพนม จากนั้นได้ถูกลดสถานะเป็นตำบลธาตุพนม โดยมี[[พระบำรุงพนมเจดีย์]] (เทพจิตต์ บุคคละ) บุตร์ชายคนโตของพระอัครบุตร์ (บุญมี) เป็นผู้รักษาราชการคนสุดท้าย (พ.ศ. ๒๔๔๖) <ref>สุรจิตต์ จันทรสาขา. ''เมืองนครพนม''. ม.ป.ท.. ม.ป.ป.. </ref> และมี[[หมื่นศีลาสมาทานวัตร]] (ศีลา บุคคละ) น้องชายของพระบำรุงพนมเจดีย์ (เทพจิตต์) เป็น[[กำนัน]]ตำบลธาตุพนมคนแรก (พ.ศ. ๒๔๔๖-๒๔๕๗) กำนันในยุคต่อมาต่างมีบรรดาศักดิ์ด้วยกันทั้งสิ้น ได้แก่ พระอนุรักษ์เจดีย์ (สา บุปผาชาติ) ขุนเปรมปูชนีย์ (บุญ สุภารัตน์) ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๘ เมื่อมีการประกาศยกเลิกระบบบรรดาศักดิ์ขุนนางแล้วจึงถือว่าพระรักษ์ (พัน พรหมอารักษ์) บุตร์ชายหมื่นพรหมอารักษ์ (ทอก) อดีตกรมการบ้านหนองหอย เป็นกำนันบรรดาศักดิ์คนสุดท้ายของตำบล (พ.ศ. ๒๔๘๐-๒๔๘๘) และได้มีการเลือกให้นายสุนีย์ รามางกูร บุตร์ชายพระอัครบุตร์ (บุญมี) เป็นกำนันตำบลธาตุพนมคนต่อมา (พ.ศ. ๒๔๘๘-๒๕๐๕) ขณะเดียวกันนั้น เมื่อธาตุพนมได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอธาตุพนมมาจนถึงปัจจุบัน ทางราชการได้แต่งตั้งให้รองอำมาตย์เอก[[หลวงพิทักษ์พนมเขต]] (ศรีกระทุม จันทรสาขา)<ref>หลวงพิทักษ์พนมเขต (ศรีกระทุม จันทรสาขา) ผู้นี้ ถือเป็นเชื้อสายของเจ้าเมืองมุกดาหารและเจ้าเมืองธาตุพนมด้วย เคยมีที่ดินที่ธาตุพนมและได้บริจาคให้เป็นสถานีตำรวจ เนื่องจากต้นตระกูลฝ่ายชายทางมุกดาหารมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับต้นตระกูลฝ่ายหญิงที่เมืองธาตุพนมมาแต่โบราณคือ เจ้าพระยาจันทศรีโสราชอุปราชามันธาตุราช (จันทกินรี) มีโอรสคือเจ้าพระยาจันทรสุริยวงศา (กิ่ง) เจ้าพระยาจันทรสุริยวงศา (กิ่ง) อภิเษกกับอาชญานางยอดแก้วก่องมณี ธิดาของอาชญาหลวงกลางน้อยศรีวรมงคล (ศรี) เจ้าเมืองธาตุพนม นางผู้นี้เป็นผู้สร้างวัดยอดแก้วศรีวิชัย ต่อมาเจ้าพระยาจันทรสุริยวงศา (กิ่ง) กับอาชญานางยอดแก้วก่องมณี มีโอรสคือเจ้าพระยาจันทสุริยวงศ์ (พรหม) เจ้าพระยาจันทสุริยวงศ์ (พรหม) มีโอรสคือเจ้าอุปฮาตแถง (แท่ง) เจ้าอุปฮาตแถง (แท่ง) มีโอรสคือพระยาศศิวงศ์ประวัติ (เมฆ) พระยาศศิวงศ์ประวัติ (เมฆ) เป็นบิดาของหลวงพิทักษ์พนมเขต (ศรีกระทุม จันทรสาขา หรือ สีห์ พิทักษ์พนม)</ref> บุตร์ชายของพระยาศศิวงศ์ประวัติ (เมฆ จันทรสาขา) อดีตเจ้าเมืองมุกดาหาร<ref>http://renunakhon.nakhonphanom.doae.go.th/dataweb/history_renu.php</ref> มาเป็นนายอำเภอธาตุพนมคนแรก (พ.ศ. ๒๔๖๑-๒๔๘๑) <ref>http://www.thatphanom.com/</ref> และได้รับพระราชทานนามสกุลจากราชทินนามเดิมว่า พิทักษ์พนม (พ.ศ. ๒๔๘๕) <ref>กรมศิลปากร. ''นามสกุลพระราชทานในรัชกาลที่ ๗ ถึงรัชกาลปัจจุบัน''. กรุงเทพ. ๒๕๕๔.</ref>