ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอธาตุพนม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nsonkphanom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Depanom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 22:
== ประวัติศาสตร์ ==
 
อำเภอธาตุพนมเดิมมีฐานะเป็นเมืองขนาดใหญ่ชื่อว่า '''พระนมเมืองพนม''' หรือ '''เมืองธาตุพนม''' (ภาษาอังกฤษ : M. Penom,<ref>ง้าวแถน ถนิมแก้ว. ''สงครามพันปีระหว่างลาวกับแกว''. ม.ป.ท.. ๒๕๔๒.</ref> Muong Peunom,<ref>E. Lefevre. ''Travels in Laos''. Bangkok. ม.ป.ป..</ref> Moeuong Dhatou Penom<ref>เอเจียน แอมอนิเย. ''บันทึกการเดินทางในลาวภาคสอง พ.ศ. ๒๔๔๐''. เชียงใหม่. ๒๕๔๑.</ref>) ในพื้นอุรังคธาตุหลายฉบับ รวมถึงพงศาวดารย่อเมืองเวียงจันทน์ แผนเมืองเวียงจันทน์ ใบลานพงศาวดารเมืองมุกดาหาร พื้นธาตุพระนม พื้นธาตุหัวอก มหาสังกาชธาตุพนมโคดมเจ้า และพงศาวดารล้านช้างออกนามเมืองว่า '''พนมพระนม''' (พนม)<ref>องค์การค้าของคุรุสภา. ''ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๔๔ (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๗๐ (ต่อ)-๗๑) เรื่องเมืองนครจำปาศักดิ์ (ต่อ) พงศาวดารละแวก''. ม.ป.ท.. ๒๕๑๒.</ref>นิยมเขียนว่า ในส่วนจารึกฐาปนาอูบสำริดที่นำมาจากเมืองจันทปุระของพ่อออกขนานโคษออกนามว่า '''ธาตุประนม'''<ref>ศิริวรรณ์ กาญจนโหติ. ''การสร้างคำในศิลาจารึกอีสาน ช่วง พ.ศ. ๒๐๗๓-พ.ศ. ๒๔๖๖''. ม.ป.ท. ๒๕๓๒.</ref> ในจารึกศิลาเลกบูรณะพระธาตุพนม พ.ศ. ๒๔๔๔ ออกนามว่า '''ภนม''' ส่วนคัมภีร์อุรังคธาตุฉบับวัดอับเปวันนัง บ้านบกท่ง เมืองจำพอน แขวงสะหวันนะเขด แสดงฐานะของธาตุพนมว่าเป็นนครใหญ่แห่งหนึ่งโดยออกนามเมืองว่า '''นครต่อนดินพระมหาธาตุเจ้า''' หรือน้ำท่อนต่อนดินพระมหาธาตุเจ้า<ref>อุลังกทาดผูกเดียว ฉบับวัดอับเปวันนัง บ้านบกท่ง เมืองจำพอน แขวงสะหวันนะเขด หน้าลานที่ ๑๓-๑๖</ref> หลักฐานบางแห่งออกนามเมืองเป็นสร้อยต่อท้ายนามเมืองมรุกขนครว่า '''มะรุกขะนะคอน บํวอนพะนม ปะถมมะเจดี''' (มรุกขนคร บวรพนม ประถมเจดีย์)<ref>ดำรง พ. ทัมมิกะมุนี. ''พระพุทธศาสนาในประเทศลาว : ศึกษาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน''. กรุงเทพ. : สุขภาพใจ. ๒๕๕๓. น. ๔๐.</ref> ธาตุพนมนับเป็นเมืองโบราณเก่าแก่บริเวณลุ่มน้ำโขงที่ มีอาณาเขตกินไปถึงปากเซบั้งไฟและสายภูช้างแฮ่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ครอบคลุมพื้นที่ตาลเจ็ดยอดในตัวเมืองมุกดาหาร มีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์มาหลังร่วมกับเมืองศรีโคตรบูรและก่อนเมืองมรุกขนคร ก่อตั้งก่อนรัชกาลพระเจ้าฟ้างุ้มมหาราชแห่งล้านช้าง (หรือก่อน พ.ศ. ๑๘๙๖) ก่อตั้งก่อนเมืองนครพนมและเมืองมุกดาหาร นับเป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในบรรดาหัวเมืองในอาณาเขตจังหวัดนครพนม มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์บริเวณตำบลกุดฉิม และในตัวเมืองปรากฏโบราณวัตถุในอารยธรรมหินตั้ง นอกจากนี้ยังปรากฏตลอดจนหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในสมัยศรีโคตรบูร (ก่อนทวารวดีอีสาน) สมัยจามปา สมัยขอม และสมัยล้านช้างทั้งในตัวเมืองและปริมณฑลกระจัดกระจายทั่วไปหลายแห่ง เฉพาะหลักฐานสมัยศรีโคตรบูรนั้นค้นพบว่ามีมากกว่า ๑๐ แห่ง ทั้งในตัวเมือง รอบตัวเมืองและตำบลใกล้เคียง นักโบราณคดีเชื่อว่าเมืองแห่งนี้เป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนาเถรวาทที่สำคัญแห่งหนึ่งของดินแดนสุวรรณภูมิและภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เนื่องจากมีการค้นพบหลักศิลาจารึกใบเสมายุคศรีโคตรบูรก่อนยุคทวารวดีที่วัดศิลามงคล ตำบลพระกลางทุ่ง จารึกคาถา [[เย ธมฺมา]] เช่นเดียวกับที่ปรากฏในนครปฐม อู่ทอง และซับจำปา <ref>www.retc.ac.th/v3/programe/roiet57.pdf</ref> ในอุรังคธาตุนิทานกล่าวว่า เมืองพนมถูกก่อตั้งขึ้นโดยเจ้าพระยาทั้ง ๕ นคร คือหลังจากได้มีการสร้างอูบมุงภูกำพร้าเสร็จแล้ว เจ้าพระยาทั้ง ๕ ได้ให้คนไปนำหลักหิน หินรูปอัสสมุขี หินรูปม้าวลาหก และหินรูปม้าอาซาไนมาปักไว้ตามทิศต่างๆต่าง ๆ เพื่อเป็นหลักเขตหมายเมืองมงคลในชมพูทวีป<ref>อุดร จันทวัน. ''นิทานอุรังคะทาด : นิทานอุรังคธาตุ ฉบับลาว''. ขอนแก่น. ๒๕๔๗.</ref> เมืองพนมประกอบด้วยหมู่บ้านข้าโอกาสจำนวนหลายหมู่บ้าน ในสมัยศรีโคตรบูรมีทั้งหมด ๗ หมู่บ้าน จากนั้นจึงเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆเรื่อย ๆ ในสมัยล้านช้าง ซึ่งมีจำนวนมากกว่า ๓๐ หมู่บ้าน หลายหมู่บ้านตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง แต่มีศูนย์กลางการปกครองที่บ้านธาตุพนมซึ่งตั้งอยู่ฝั่งขวาแม่น้ำโขง ภายในตัวเมืองมีกำแพง ๓ ชั้นล้อมรอบเวียงพระธาตุตามคติตรีบูรของขอมโบราณ โดยมีวัดหัวเวียงรังสีรังษีตั้งอยู่ทิศหัวเมือง สันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้เดิมชื่อวัดสวนสวัรหรือวัดสวรสั่งตามคัมภีร์อุรังคธาตุ
อำเภอธาตุพนมเดิมมีฐานะเป็นเมืองขนาดใหญ่ชื่อว่า '''เมืองพนม''' หรือ '''เมืองธาตุพนม''' (ภาษาอังกฤษ : M. Penom,<ref>ง้าวแถน ถนิมแก้ว. ''สงครามพันปีระหว่างลาวกับแกว''. ม.ป.ท.. ๒๕๔๒.</ref> Muong Peunom,<ref>E. Lefevre. ''Travels in Laos''. Bangkok. ม.ป.ป..</ref> Moeuong Dhatou Penom<ref>เอเจียน แอมอนิเย. ''บันทึกการเดินทางในลาวภาคสอง พ.ศ. ๒๔๔๐''. เชียงใหม่. ๒๕๔๑.</ref>) ในพื้นอุรังคธาตุหลายสำนวนนิยมเขียนว่า
'''พระนม''' ในพงศาวดารย่อเมืองเวียงจันทน์ แผนเมืองเวียงจันทน์ ใบลานพงศาวดารเมืองมุกดาหาร และพงศาวดารล้านช้างออกนามเมืองว่า '''พนม'''<ref>องค์การค้าของคุรุสภา. ''ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๔๔ (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๗๐ (ต่อ)-๗๑) เรื่องเมืองนครจำปาศักดิ์ (ต่อ) พงศาวดารละแวก''. ม.ป.ท.. ๒๕๑๒.</ref> ในจารึกฐาปนาอูบสำริดเมืองจันทปุระของพ่อออกขนานโคษออกนามว่า '''ธาตุประนม'''<ref>ศิริวรรณ์ กาญจนโหติ. ''การสร้างคำในศิลาจารึกอีสาน ช่วง พ.ศ. ๒๐๗๓-พ.ศ. ๒๔๖๖''. ม.ป.ท. ๒๕๓๒.</ref> ในจารึกศิลาเลกบูรณะพระธาตุพนม พ.ศ. ๒๔๔๔ ออกนามว่า '''ภนม''' ส่วนคัมภีร์อุรังคธาตุฉบับวัดอับเปวันนัง บ้านบกท่ง เมืองจำพอน แขวงสะหวันนะเขด แสดงฐานะของธาตุพนมว่าเป็นนครใหญ่แห่งหนึ่งโดยออกนามเมืองว่า '''นครต่อนดินพระมหาธาตุเจ้า'''<ref>อุลังกทาดผูกเดียว ฉบับวัดอับเปวันนัง บ้านบกท่ง เมืองจำพอน แขวงสะหวันนะเขด หน้าลานที่ ๑๓-๑๖</ref> หลักฐานบางแห่งออกนามเมืองเป็นสร้อยต่อท้ายเมืองมรุกขนครว่า '''มะรุกขะนะคอน บํวอนพะนม ปะถมมะเจดี''' (มรุกขนคร บวรพนม ประถมเจดีย์)<ref>ดำรง พ. ทัมมิกะมุนี. ''พระพุทธศาสนาในประเทศลาว : ศึกษาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน''. กรุงเทพ. : สุขภาพใจ. ๒๕๕๓. น. ๔๐.</ref> ธาตุพนมนับเป็นเมืองโบราณเก่าแก่บริเวณลุ่มน้ำโขงที่มีอาณาเขตกินไปถึงปากเซบั้งไฟทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง มีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์มาหลังเมืองศรีโคตรบูรและก่อนเมืองมรุกขนคร ก่อตั้งก่อนรัชกาลพระเจ้าฟ้างุ้มมหาราชแห่งล้านช้าง (ก่อน พ.ศ. ๑๘๙๖) ก่อตั้งก่อนเมืองนครพนมและเมืองมุกดาหาร นับเป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในบรรดาหัวเมืองในอาณาเขตจังหวัดนครพนม มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์บริเวณตำบลกุดฉิม และในตัวเมืองปรากฏโบราณวัตถุในอารยธรรมหินตั้ง นอกจากนี้ยังปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในสมัยศรีโคตรบูร (ก่อนทวารวดีอีสาน) สมัยจามปา สมัยขอม และสมัยล้านช้างทั้งในตัวเมืองและปริมณฑลกระจัดกระจายทั่วไปหลายแห่ง เฉพาะหลักฐานสมัยศรีโคตรบูรนั้นค้นพบว่ามีมากกว่า ๑๐ แห่ง ทั้งในตัวเมือง รอบตัวเมืองและตำบลใกล้เคียง นักโบราณคดีเชื่อว่าเมืองแห่งนี้เป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนาเถรวาทที่สำคัญแห่งหนึ่งของดินแดนสุวรรณภูมิและภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เนื่องจากมีการค้นพบหลักศิลาจารึกใบเสมายุคศรีโคตรบูรก่อนยุคทวารวดีที่วัดศิลามงคล ตำบลพระกลางทุ่ง จารึกคาถา [[เย ธมฺมา]] เช่นเดียวกับที่ปรากฏในนครปฐม อู่ทอง และซับจำปา <ref>www.retc.ac.th/v3/programe/roiet57.pdf</ref> ในอุรังคธาตุนิทานกล่าวว่า เมืองพนมถูกก่อตั้งขึ้นโดยเจ้าพระยาทั้ง ๕ นคร คือหลังจากได้มีการสร้างอูบมุงภูกำพร้าเสร็จแล้ว เจ้าพระยาทั้ง ๕ ได้ให้คนไปนำหลักหิน หินรูปอัสสมุขี หินรูปม้าวลาหก และหินรูปม้าอาซาไนมาปักไว้ตามทิศต่างๆ เพื่อเป็นหลักเขตหมายเมืองมงคลในชมพูทวีป<ref>อุดร จันทวัน. ''นิทานอุรังคะทาด : นิทานอุรังคธาตุ ฉบับลาว''. ขอนแก่น. ๒๕๔๗.</ref> เมืองพนมประกอบด้วยหมู่บ้านข้าโอกาสจำนวนหลายหมู่บ้าน ในสมัยศรีโคตรบูรมีทั้งหมด ๗ หมู่บ้าน จากนั้นจึงเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ในสมัยล้านช้าง ซึ่งมีจำนวนมากกว่า ๓๐ หมู่บ้าน หลายหมู่บ้านตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง แต่มีศูนย์กลางการปกครองที่บ้านธาตุพนมซึ่งตั้งอยู่ฝั่งขวาแม่น้ำโขง ภายในตัวเมืองมีกำแพง ๓ ชั้นล้อมรอบเวียงพระธาตุตามคติตรีบูรของขอมโบราณ โดยมีวัดหัวเวียงรังสีตั้งอยู่ทิศหัวเมือง สันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้เดิมชื่อวัดสวนสวัรหรือวัดสวรสั่งตามคัมภีร์อุรังคธาตุ
 
คำว่า พนม มาจากภาษา[[เขมร]] แปลว่า [[ภูเขา]] แต่ในอุรังคธาตุหลายฉบับเขียนว่า พระนม ซึ่งมาจากภาษาเขมร (พระ) และภาษาลาว (นม) หมายถึงหน้าอกของพระพุทธเจ้า จารึกบางแห่งเขียนเป็น '''พฺระนมพฺรนม''' (พระนม)<ref>http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_detail.php?id=2169 </ref> ชาว[[ลาว]]ออกสำเนียงว่า '''ปะนม''' หรือ '''ประนม''' ซึ่งคำดังกล่าวปราฏในหนังสือพงศาวดารของแขวงสะหวันนะเขดด้วย คนท้องถิ่นจึงนิยมเรียกนามเมืองว่า เมืองปะนม คู่กับ เมืองละคร (เมืองนครพนม) และเรียกชาวธาตุพนมว่า ไทพนม หรือ ไทปะนม ในสมัยโบราณเรียกบริเวณที่ตั้งศูนย์กลางเมืองแห่งนี้ว่า '''กปณคีรี''' (ภูเพียงกำพร้าเข็ญใจ) หรือภูกามพ้า หรือภูก่ำฟ้า คนทั่วไปออกนามว่า '''ภูกำพร้า''' ซึ่งเป็นที่ตั้งของพระมหาธาตุโบราณอันเก่าแก่และศักดิ์สิทธิ์มากชื่อว่า '''พระมหาธาตุเจ้าพระนมบุรมมะเตชะเจดีย์''' หลักฐานในอุรังคธาตุหลายแห่งเรียกว่า '''พระมหาธาตุเจ้าพระนมบุรมมสถาน''' หรือ '''พระมหาธาตุเจ้าพระนมบุรมมหัวอกพระพุทธเจ้า''' บางแห่งเรียกว่าธาตุภูกำพร้าหรืออูบมุงภูกำพร้า คนทั่วไปออกนามว่า ธาตุปะนม หรือ ธาตุหัวอก (ธาตุหัวเอิก)<ref>อุดร จันทวัน. ''นิทานอุรังคธาตุ : ฉบับลาว''. ขอนแก่น. ๒๕๔๗.</ref> ปัจจุบันคือ [[พระธาตุพนม]] [[วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร]] ซึ่งแต่เดิมเรียกว่า วัดพนม วัดธาตุ หรือวัดพระธาตุ นับถือกันมาแต่โบราณว่าพระมหาธาตุแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานพระอุรังคธาตุ (อรกธาตุหรือธาตุหัวอกของพระพุทธเจ้า) และชาวลาวชาติพันธุ์ทั้งสองฝั่งโขงนับถือว่าเป็นพระปฐมเจดีย์แห่งแรกของลาว ในเอกสารพื้นเวียงจันทน์ยกย่องว่าธาตุพนมคือ[[หลักโลก]]ของชาวลาว <ref>เอกสารพื้นเวียงจันทน์กล่าวว่าก่อนราชวงศ์เวียงจันทน์จะล่มสลายได้เกิดนิมิตอาเภทขึ้นคือ ยอดพระธาตุพนมหักลง ต่อมาสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ได้เสด็จมายกยอดฉัตรขึ้นใหม่ จำนวนชั้นมี ๗ ชั้นเท่าของเดิม ภายหลังเมื่อสยามปกครองธาตุพนมแล้วจึงเปลี่ยนยอดฉัตรลงเหลือ ๕ ชั้นในปัจจุบัน</ref> ส่วนตำนานเอกสารประวัติบ้านชะโนดนั้นยกย่องว่าธาตุพนมคือ[[เสใหญ่]] (หลักเมือง) ของลาว <ref>เส หมายถึง เสาหลักหรือหลักเมือง</ref> ตำนานโบราณของพระพุทธศาสนาในล้านช้างก่อนการเข้ามาของพระพุทธศาสนาธรรมยุติกนิกายจากสยามมีความเชื่อว่า ธาตุพนมคือสถานที่ประสูติและบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นพระยานกคุ่มไฟ ทำให้ธาตุพนมมีอีกนามหนึ่งว่า '''ธาตุนกคุ่ม''' (พระวฏฺฏกธาตุนกคุ่ม) <ref>https://www.youtube.com/watch?v=DzuVAq-c6ng</ref> ซึ่งสอดคล้องกับเอกสารพื้นเมืองจันทะบูลีว่า ก่อนสร้างพระธาตุพนมได้ปรากฏเฮือนหินอยู่ในบริเวณภูกำพร้าก่อนแล้ว ส่วนพื้นตำนานขุนบุรมราชาธิราชของลาวกล่าวว่าเมืองพนมเป็นเมืองสำคัญ ๑ ใน ๗ หัวเมืองทางศาสนายุคแรกของสุวรรณภูมิประเทศ ที่ได้รับการประดิษฐานพระบรมธาตุก่อนหัวเมืองทั้งหลาย แม้กระทั่งอาณาจักรล้านนาก็ยอมรับให้เป็นพระบรมธาตุสำคัญประจำปีนักษัตรด้วย
 
ในคัมภีร์อุรังคธาตุได้กล่าวถึงสถานะของเมืองพนมว่าเป็น '''พุทธศาสนานคร''' หรือ [[ศาสนานคร]] เรื่องราวเกี่ยวกับเมืองพนมจึงถูกเรียกว่า '''ศาสนานครนิทาน''' ดังนั้น ในจารึกเจ้าพระยาหลวงนครพิชิตราชธานีศรีโคตรบูรหลวงจึงออกนามเมืองนี้ว่า '''ศาสนาพระนม''' สถานะการเป็นพุทธนครของเมืองพนมนั้น<ref>ประวิทย์ คำพรหม. ''ประวัติอำเภอธาตุพนม''. กาฬสินธุ์. ๒๕๔๖.</ref> หมายถึง เมืองศักดิ์สิทธิ์หรือเมืองที่เป็นศูนย์กลางทางศาสนา จิตวิญญาณ ศรัทธาและความเชื่อของชาวลาวและชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในอาณาจักรล้านช้าง ถึงขนาดชาวต่างชาติขนานนามเมืองว่า '''เมืองเมกกะของลาว''' เนื่องจากเป็นเมืองที่พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักร[[ศรีโคตรบูร]]โบราณ และพระมหากษัตริย์แห่ง[[อาณาจักรล้านช้าง]]ถวายเป็นเมือง[[กัลปนา]]แด่พระมหาธาตุเจ้าพระนม อีกนัยหนึ่งเรียกว่า เมือง[[ข้าโอกาส]]หยาดทานหรือเมือง[[ข้อย]]โอกาส เจ้าผู้ปกครองเมืองธาตุพนมมีสถานะพิเศษต่างจากเจ้าเมืองทั่วไป ในจารึกผูกพัทธสีมาวัดธาตุพนมของเจ้าเมืองมุกดาหารออกนามเจ้าผู้ปกครองธาตุพนมว่า '''ขุนโอกาส''' (ขุนเอากฺลาษฺ) <ref>กรมศิลปากร. ''จดหมายเหตุการณ์บูรณปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุพนม : ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม พ.ศ. ๒๕๑๘-๒๕๒๒''. กรุงเทพฯ. ๒๕๒๒.</ref> ส่วนคัมภีร์อุรังคธาตุฉบับบ้านเชียงยืน กำแพงนครเวียงจันทน์ เมืองจันทะบูลี ทั้ง ๒ ฉบับบออกออกนามเจ้าผู้ปกครองธาตุพนมว่า '''เจ้าโอกาส''' (เจ้าโอกาด)<ref> หนังสืออุลังคนีทาน (อุลังคะนิทาน) ฉบับหอสมุดแห่งชาติ บ้านเชียงยืน กำแพงนครเวียงจันทน์ เมืองจันทะบูลี หน้าลานที่ ๓๐-๓๒</ref> <ref>พื้นอุลํกาธา ฉบับหอสมุดแห่งชาติ บ้านเชียงยืน กำแพงนครเวียงจันทน์ เมืองจันทะบูลี หน้าลานที่ ๒๙-๓๐</ref> หมายถึงเจ้าผู้เป็นใหญ่แห่งข้าโอกาสพระธาตุพนม คล้ายกับบรรดาศักดิ์ขุนสัจจพันธคีรีรัตนไพรวัน เจติยาสันคามวาสี นพคูหาพนมโขลน<ref>http://th.wikisource.org/wiki</ref> '''ขุนโขลน''' หรือเจ้า[[เมืองพระพุทธบาท]] (เมืองสุนาปรันตประเทศ) หัวเมืองกัลปนาชั้นจัตวาของฝ่ายสยาม คล้ายกับการปกครองเมืองอันเป็นส่วนพรหมไทย (พรหฺมเทยฺย) ซึ่งกษัตริย์ถวายแก่พราหมณ์ตามปรากฏในพระไตรปิฎก<ref>กรมศิลปากร. ''ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๗ : คำให้การขุนโขลน''. กรุงเทพ. ๒๔๖๐.</ref> และคล้ายกับบรรดาศักดิ์ '''โขลญพล''' (โขฺลญฺ วล กํมฺรเตงฺ อญฺ) เจ้าเมืองกัลปนาของ[[เขมร]]โบราณ เช่น เมืองลวปุระหรือเมืองลวปุระ (ลพบุรี) ในสมัยขอมเรืองอำนาจ<ref>http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/index.php</ref> ลักษณะการปกครองเช่นนี้ยังพบว่าปรากฏอยู่ในอาณาจักรล้านช้างหลายแห่ง อาทิ กวานนาเรือเมืองนาขาม เมืองหินซน และเมืองชนูซนู ซึ่งเป็นเมืองที่ถูกแบ่งเขตกัลปนาแก่พระพุทธศาสนาแถบถ้ำสุวรรณคูหาในจังหวัดหนองบัวลำภู สมัยรัชกาลสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เป็นต้น <ref>http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_detail.php?id=2233</ref> ในเอกสารบันทึกการเดินทางในลาวของเอเจียน เอมอนิเย กล่าวว่า ขุนโอกาสเป็นเครือญาติใกล้ชิดกันกับเจ้าเมืองมุกดาหารและเจ้าพระยาหลวงเมืองแสน อำนาจของขุนโอกาสในสมัยล้านช้างนั้นมีมากกว่าเจ้าเมืองในแถบลุ่มน้ำโขงหลายเมือง ส่วนใบลานพื้นเมืองเวียงจันทน์อย่างน้อย ๓ ฉบับกล่าวว่า ผู้ถูกตั้งให้รักษาธาตุพนมเป็นกุมารเชื้อตระกูลเดียวกันกับพระเจ้านันทเสนและพระเจ้าอินทวงศ์กษัตริย์แห่งนครเวียงจันทน์
 
ในสมัยโบราณเมืองพนมถูกรายล้อมด้วยเวียงข้าพระธาตุพนม ๔ แห่ง คือ เวียงปากเซหรือเมืองกะบอง (ปัจจุบันคือเมืองหนองบก ประเทศสาธาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว) เวียงปากก่ำกรรมเวรหรือเมืองปากก่ำ (ปัจจุบันคือตำบลน้ำก่ำ อำเภอธาตุพนม) เวียงขอมกระบินหรือเมืองกบิล (ปัจจุบันคืออำเภอนาแก)<ref>http://na-kae.blogspot.com/</ref> เวียงหล่มหนองหรือเมืองมรุกขนคร (ปัจจุบันคือตำบลพระกลางทุ่ง นักวิชาการบางกลุ่มเชื่อว่าเป็นตำบลดอนนางหงส์) นอกจากนี้ เมืองพนมยังมีภูมิศาสตร์การวางผังเมืองขนานยาวกับแม่น้ำโขงหันหน้าไปทางทิศตะวันออก และมีโครงสร้างการวางผังเมืองตามคติจักรวาลวิทยาของขอมโบราณ คือประกอบด้วยกำแพงล้อมรอบถึง ๓ ชั้น ประกอบด้วยพื้นที่สำคัญของเมือง ๓ ส่วน ส่วนแรกคือหัวเมือง (ทิศเหนือ) เป็นที่ตั้งของ '''วัดหัวเวียง''' ปัจจุบันคือวัดหัวเวียงรังษี และเป็นที่ตั้งของชุมชนข้าโอกาสพระธาตุพนมดั้งเดิมคือ [[บ้านหัวบึง]] บ้านหนองหอย เป็นต้น ส่วนต่อมาคือตัวเมือง เป็นที่ตั้งขององค์พระธาตุพนมซึ่งเป็นตัวแทนของอำนาจพุทธหรือฝ่ายศาสนจักร ในจารึกวัดพระธาตุพนมแสดงให้เห็นว่าวัดแห่งนี้เคยเป็นสถานที่ประทับของพระสังฆราช และพระผู้ช่วยปกครองเรียกว่า เจ้าด้าน มากถึง ๔ รูป นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของหอเจ้าเฮือน ๓ พระองค์ซึ่งเป็นตัวแทนของอำนาจผี เป็นที่ตั้งของ[[บึงธาตุ]]ซึ่งเป็นตัวแทนของแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ และเป็นที่ตั้งของกำแพงเมืองโบราณทิศตะวันออกริมฝั่งโขงซึ่งเป็นตัวแทนอำนาจการปกครองของเจ้านาย ส่วนทิศตะวันตกของส่วนตัวเมืองนั้นเป็นที่ตั้งของชุมชนข้าโอกาสพระธาตุพนมดั้งเดิมคือ [[บ้านดอนกลาง]]หรือ[[บ้านดอนจัน]] ส่วนสุดท้ายคือท้ายเมือง (ทิศใต้) เป็นที่ตั้งของแม่น้ำเก่าแก่คือ[[แม่น้ำก่ำ]] ซึ่งอุรังคธาตุนิทานกล่าวว่า เดิมตอนใต้แม่น้ำแห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งราชสำนักของกษัตริย์ที่มาร่วมสร้างพระธาตุพนม และยังเป็นที่ตั้งของชุมชนข้าโอกาสพระธาตุพนมดั้งเดิมคือ [[บ้านน้ำก่ำ]] ไปจนถึงตาลเจ็ดยอดเขตตัวเมืองมุกดาหารอีกด้วย