ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การตักบาตร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
พพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพพ
Dolkungbighead (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{พุทธศาสนา}}
'''การตักบาตร''' คือประเพณีอย่างหนึ่งที่[[ชาวพุทธ]]ปฏิบัติกันมาแต่สมัยพุทธกาล [[พระภิกษุ]]จะถือ[[บาตร]]ออก[[บิณฑบาต]]เพื่อรับอาหารหรือทานอื่นๆ ตามหมู่บ้านในเวลาเช้า ผู้คนที่ออกมาตักบาตรจะนำของทำทานต่างๆ เช่น ข้าว อาหารแห้ง มาถวายพระ
 
ประเพณีนี้ชาวพุทธถือกันว่าเป็นการสร้างกุศล และถือว่าเป็นการแผ่ส่วนกุศลให้กับญาติผู้ล่วงลับไปแล้วด้วย โดยเชื่อกันว่าอาหารที่ถวายไปนั้นจะส่งถึงญาติผู้ล่วงลับด้วยเช่นกันัรำ---------------------------------------------------------กัน
 
<br />
 
== กฎของพระภิกษุเกี่ยวกับการตักบาตร ==
เส้น 38 ⟶ 36:
== เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในการตักบาตร ==
[[ไฟล์:Buddhist child 13.jpg‎|right|150px|]]
* คำว่าตักบาตรนั้น สามารถที่จะเรียกว่าใส่บาตรก็ได้ ในบางที่มีคนสงสัยว่าตกลงแล้วเรียกว่าตักบาตรหรือใส่บาตรกันแน่ - ก็ว่ากันว่าคำว่าตักบาตรนั้นมาจากกิริยาอาการที่ใช้ทัพพีตักข้าวใส่บาตรพระ แต่ในปัจจุบันนี้เนื่องจากสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป ผู้คนใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบมากขึ้น ผู้คนจึงนำข้าวสารหรือของอื่นๆ ใส่ถุงหรือกล่อง เมื่อถึงเวลาตักบาตรจะได้สะดวกที่จะหยิบของใส่ได้ทันที คำว่าใส่บาตรจึงถือว่าเป็นวิวัฒนาการทางภาษาเพื่อสอดคล้องกับยุคปัจจุบัน - สรุปว่าใช้ได้ทั้ง 2 อย่าง
*'''บาตร''' หมายถึง ภาชนะชนิดหนึ่งสำหรับภิกษุ สามเณร ใช้รับอาหารบิณฑบาต ส่วนคำว่า '''บาต''' เป็นคำกริยา แปลว่า ตก ตกไป มักใช้ประกอบหลังคำอื่น เช่น อสนีบาต = การตกแห่งสายฟ้า คือ ฟ้าผ่า อุกกาบาต = การตกแห่งคบเพลิง คือ แสงสว่างที่ตกลงมาจากอากาศ การที่คำว่า บิณฑ'''บาต''' มักมีผู้เขียนผิดเป็น บิณฑ'''บาตร''' อาจจะเนื่องมาจากเข้าใจว่าคำนี้เกี่ยวข้องกับ '''บาตร''' ที่ภิกษุสามเณรใช้รับอาหาร แต่อันที่จริงแล้ว คำว่า บิณฑบาต เป็นคำยืมมาจากภาษาบาลีว่า '''ปิณฺฑปาต''' ความหมายของ บิณฑบาต มีอธิบายไว้ในหนังสือ รู้ รัก ภาษาไทย เล่ม ๔ ฉบับราชบัณฑิตยสถานว่า '''ปิณฺฑะ''' แปลว่า ก้อน ก้อนกลม ๆ หรือข้าวที่ปั้นเป็นก้อนสำหรับทำทาน ส่วน '''ปาต''' แปลว่า การตก ดังนั้น '''ปิณฺฑปาต''' จึงแปลว่า การตกของข้าวที่ปั้นไว้เป็นก้อนกลม ๆ ลงบนภาชนะที่รองรับ ในภาษาไทย คำว่า บิณฑบาต มี ๒ ความหมาย ความหมายแรกใช้เหมือนภาษาบาลี คือ บิณฑบาต เป็นกิจกรรมที่ภิกษุหรือสามเณรอุ้มหรือสะพายบาตรแล้วเที่ยวไปตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อขอรับอาหารจากคนทั่วไปในยามเช้า ส่วนอีกความหมายหนึ่งเป็นความหมายเฉพาะในภาษาไทย หมายถึง ขอให้เห็นแก่พระศาสนา งดเว้นการทะเลาะเบาะแว้ง หรือการกระทำรุนแรงต่อผู้อื่น           มีคำที่เกี่ยวข้องกับบาตรซึ่งมีผู้สงสัยว่าคำใดถูกต้อง นั่นก็คือคำว่า '''ตักบาตร''' และ '''ใส่บาตร''' คำว่า '''ตักบาตร''' หมายความว่า เอาของใส่บาตรพระ ตัก คำนี้ไม่ใช่ ตัก ที่หมายถึง เอาภาชนะช้อนสิ่งของขึ้นจากที่เดิม เช่น ตักน้ำ ตักแกง ตักดิน อย่างที่เราใช้กันอยู่ แต่ ตัก คำนี้เทียบกับภาษาเขมรว่า ฎาก่ แปลว่า วางลง คำว่า ตักบาตร นี้มีอธิบายไว้ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่ ใส่บาตร ไม่มีเก็บไว้ สำนวนหนึ่งที่เกี่ยวกับตักบาตร คือ '''ตักบาตรอย่าถามพระ''' หมายความว่า จะให้อะไรแก่ผู้ที่เต็มใจรับอยู่แล้ว ไม่ควรถาม
* ตามปกติผู้คนจะถือว่า ของที่นำมาถวายพระจะต้องเป็นของที่ดีที่สุดเสมอ ดังนั้นผู้คนจะจัดเตรียมทานที่ดีที่สุดตามกำลังที่หาได้ นอกจากนี้ยังมีความเชื่อพิเศษเล็กน้อยเกี่ยวกับทานที่ให้ (ความเชื่อนี้เป็นความเชื่อส่วนบุคคล) เช่น ข้าวที่ถวายพระนั้นควรจะเป็นข้าวที่หุงสุกใหม่ๆ ร้อนๆ ยิ่งข้าวร้อนเท่าไหร่บุญกุศลจะยิ่งแรงมากขึ้นเท่านั้น, ถวายน้ำตาลแก่พระเพื่อที่จะส่งผลให้ชีวิตคู่มีความหวานสดชื่นดั่งน้ำตาล เป็นต้น
* นอกจากอาหารแล้ว ผู้ที่ตักบาตรสามารถนำของใช้ต่างๆ ที่พระสงฆ์จำเป็นแก่การดำรงชีพมาถวายพระได้ด้วย เช่น เครื่องเขียน, สบู่, ยาสีฟัน, แปรงสีฟัน, น้ำยาสระผม ซึ่งน้ำยาสระผมมีผู้คนไม่น้อยที่เข้าใจว่าพระสงฆ์ไม่จำเป็นต้องใช้ แต่ความจริงแล้วน้ำยาสระผมมีความจำเป็นต่อพระสงฆ์ในการทำความสะอาดหนังศีรษะ
เส้น 50 ⟶ 48:
{{จบอ้างอิง}}
 
<br />{{วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทย}}
* สำนักงานราชบัณฑิตยสภา Office of the Royal Society บาตร–บาต (๒๖ เมษายน ๒๕๕๖)
 
<br />{{วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทย}}
 
{{เรียงลำดับ|ตักบาตร}}