ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดบาหลี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Effmedical (คุย | ส่วนร่วม)
→‎อิทธิพลของศาสนาฮินดู: แก้คำผิด แก่ราชาศัพท์
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 87:
[[ไฟล์:Pura tanah lot sunset no3.jpg|200px|thumb|left|[[ปูราตานะฮ์ลต]]]]
 
ในช่วงศตวรรษที่ 9 สังคมของชาวบาหลีเริ่มเฟื่องฟูขึ้น ราว [[ค.ศ. 900]] ชาวบาหลีเริ่มพัฒนาระบบชลประทาน การปลูกข้าว รวมทั้งวัฒนธรรมและศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง หลักฐานเกี่ยวกับราชวงศ์บาหลีเริ่มปรากฏในเวลานั้นเช่นกัน โดยมีภาพแกะสลักหินแสดงพิธีอภิเษกสมรสของกษัตริย์บาหลีทรงพระนามว่าพระเจ้าอุดายานา (Udayana) กับ เจ้าหญิงชวาตะวันออก ทรงพระนามว่าเจ้าหญิงมเหนธรัตตะ (Mahendratta) ที่วัดปูราโกระฮ์เตอกีปัน (Pura Korah Tegipan) ที่อยู่บริเวณภูเขากูนุงบาตูร์ (Gunung Batur) ทั้งสองพระองค์มีพระราชโอรสทรงพระนามว่า เจ้าชายไอร์ลังกา (Airlangga) ประสูติเมื่อ [[ค.ศ. 991]] ในเวลาเดียวกัน ชวาเริ่มแผ่อิทธิพลเข้ามายังบาหลี เมื่อพระองค์อายุพระชันษาได้ 16 ปี ทรงหนีไปยัง[[ชวาตะวันตก]]และทรงได้รับการสนับสนุนจาก[[ชาวชวา]]ในเวลาต่อมา เมื่อพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ชวา จึงทรงรวมบาหลีและชวาให้เป็นปึกแผ่นจนกระทั่งสิ้นพระชนม์เสด็จสวรรคต เมื่อค.ศ.1049 <ref name = "Lonely planet: Bali & Lombok"/><ref name = "History of Bali"/> [[ภาษาชวา]]ที่เรียกว่า[[ภาษากาวี]] (Kawi) ได้นำมาใช้ในหมู่ราชวงค์บาหลีราชวงศ์บาหลี หลักฐานความสัมพันธ์ระหว่างบาหลีกับ[[เกาะชวา]]ในช่วงศตวรรษที่ 11 อยู่ที่[[หินสลักที่ภูเขากุนุง คาวี]] ใกล้กับ[[เมืองตัมปักซีริง]] (Tampaksiring) หลังจากนั้นบาหลีอยู่ในสถานภาพกึ่งเอกราช จนกระทั่ง [[ค.ศ. 1284]] พระเจ้าเกอรตานาการาหรือเกียรตินคร (Kertanagara) กษัตริย์ชวาแห่ง[[อาณาจักรสิงหะส่าหรี]] (Singasari) ได้รุกรานบาหลี แต่หลังจากนั้น 8 ปี อาณาจักรสิงหะส่าหรีล่มสลาย พระราชโอรสของพระเจ้าเกอรตานาการาพระนามว่าเจ้าชายวิจายาหรือวิชัย (Vijaya) ได้ตั้ง[[อาณาจักรมัชปาหิต]] (Majapahit) ซึ่งนับถือศาสนาฮินดูขึ้น ช่วงเวลานี้เอง บาหลีถือโอกาสแยกตัวเป็นเอกราช ปกครองโดยราชวงศ์ปาเจ็ง (Pajeng) มีศูนย์กลางใกล้กับ[[เมืองอูบุด]] (Ubud) แต่กะจะห์ มาดา (Gajah Mada) เสนาบดีแห่งอาณาจักรมัชปาหิตเข้ารุกรานบาหลีในรัชสมัยของพระเจ้าดาเล็ม เบอเดาลู (Dalem Bedaulu) แห่งราชวงศ์ปาเจ็งในปีค.ศ.1343 และได้รวมบาหลีเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรมัชปาหิต หลังจากนั้นบาหลีได้ย้ายศูนย์กลางไปอยู่ที่เกลเกล (Gelgel) ใกล้กับเมืองเสมาระปุระ (Semarapura) ในช่วงปลายศตวรรษที่ 14 โดยมีกษัตริย์ปกครองชึ่งซึ่งชาวบาหลีเรียกว่าเทวะ อากุง (Dewa Agung) พระนามว่าพระเจ้าบาตูร์ เร็งก็อง (Batur Renggong) ครองราชย์ในปีค.ศ.1550<ref name = "Lonely planet: Bali & Lombok"/><ref name = "History of Bali"/> ก่อนหน้านั้นไม่นานอาณาจักรมัชปาหิตได้ล่มสลายลงในปี [[ค.ศ. 1515]] ลงจากการขยายอิทธิพลของชาวมุสลิม บรรดานักปราชญ์ซึ่งหนึ่งในนั้นคือนักบวชฮินดูชื่อนิราร์ธา (Nirartha) ได้อพยพข้ามมายังบาหลี โดยนำศิลปวัตถุ ช่างศิลป์ นางรำ นักดนตรี และนักแสดงประจำราชสำนักมัชปาหิตเข้ามาด้วย และได้สร้าง[[วัดปูราลูฮูร์อูลูวาตู]] (Pura Luhur Ulu Watu) และ[[วัดปูราตานะห์ลต]] (Pura Tanah Lot) ขึ้น การอพยพครั้งใหญ่ของชาวฮินดูจากชวาได้สิ้นสุดลงราวศตวรรษที่ 16<ref name = "Lonely planet: Bali & Lombok"/><ref name = "History of Bali"/> <ref name = "History for Bali">[http://www.nileguide.com/destination/bali/overview/history History for Bali]</ref> การอพยพครั้งนี้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต่อสังคมบาหลี สังคมฮินดูในบาหลีเริ่มซับซ้อนขึ้น มีการนำระบบ[[วรรณะ]]เข้ามาใช้ ชาวบาหลีที่อยู่ดั้งเดิมจึงอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณภูเขาทางตอนใน ซึงปัจจุบันนี้ผู้สืบเชื้อสายของคนเหล่านี้เรียกว่าบาหลีอากา (Bali Aga) หรือบาหลีมูลา (Bali Mula) ยังคงอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านเตองานัน (Tenganan) ใกล้กับ[[วัดปูราดาซา]] (Pura Dasa) และหมู่บ้านตรูญัน (Trunyan) บริเวณทะเลสาบบาตูร์<ref name = "History of Bali"/>
 
=== การยึดครองของฮอลันดา ===