ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถานีหัวลำโพง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Magnamonkun (คุย | ส่วนร่วม)
Oum13928 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 58:
|}
 
ในช่วงแรกของการเปิดให้บริการส่วนต่อขยายหัวลำโพง - หลักสอง รฟม. และบีอีเอ็ม จะเปิดให้บริการ 5 สถานีแรกจากหัวลำโพง - ท่าพระก่อน และแยกเดินรถในช่วงเตาปูน - หัวลำโพง - ท่าพระ ขาดจากกันเพื่อทดสอบระบบรถไฟฟ้าและอาณัติสัญญาณโดยรวม กล่าวคือขบวนรถที่มาจากสถานีสามย่านจะเข้าจอดและสิ้นสุดการให้บริการที่ชานชาลาที่ 2 (มุ่งหน้าสถานีเตาปูน) ผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางต่อไปสถานีหลักสอง จะต้องเปลี่ยนขบวนรถไปชานชาลาที่ 1 (มุ่งหน้าสถานีหลักสอง) และเช่นเดียวกัน ขบวนรถที่มาจากสถานีวัดมังกรจะเข้าจอดและสิ้นสุดการให้บริการที่ชานชาลาที่ 1 (มุ่งหน้าสถานีท่าพระ) ผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางต่อไปสถานีเตาปูน จะต้องเปลี่ยนขบวนรถไปชานชาลาที่ 2 (มุ่งหน้าสถานีเตาปูน) ทั้งหมด โดยการให้บริการ จะมีรถไฟฟ้ามุ่งหน้าไปท่าพระตั้งแต่เวลา 10.00 - 16.00 น. ที่ความถี่ 8 นาที/ขบวน โดยจะใช้ระบบการเดินรถแบบเดียวกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ช่วงที่เปิดให้บริการสถานีส่วนต่อขยาย[[สถานีสำโรง]]-[[สถานีเคหะฯ]] จนกว่ารถไฟฟ้าขบวนใหม่จะให้บริการเพียงพอหรือมีประกาศเปลี่ยนแปลง
 
และเนื่องจากสถานีหัวลำโพงทำหน้าที่เป็นสถานีชุมทางสำหรับเปลี่ยนขบวนรถข้ามสายระหว่างช่วงเตาปูน - หัวลำโพง กับช่วงท่าพระ - หัวลำโพง ผู้โดยสารที่มาจากสถานีสามย่านและสถานีวัดมังกร ที่ต้องการเดินทางต่อไปยังสถานีเตาปูนและสถานีท่าพระ จะต้องใช้ชานชาลาร่วมกับผู้โดยสารที่มาจากสถานีรายทาง โดยผู้โดยสารจะต้องรอจนกว่าผู้โดยสารที่มาจากสถานีรายทางออกจากขบวนรถทั้งหมด และรอให้เจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบสภาพรถไฟฟ้าให้เรียบร้อยเสียก่อน
บรรทัด 103:
== นิทรรศการถาวรภายในสถานี ==
จัดแสดงบริเวณทางเดินเชื่อมต่อสถานีรถไฟกรุงเทพ ระหว่างทางเข้า-ออกที่ 2 และ 3
* ศิลาฤกษ์โครงการรถไฟฟ้ามหานคร ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร (พระราชอิสริยศฯขณะนั้น) เสด็จฯ แทนพระองค์ทรงวางที่บริเวณหน้าสถานีรถไฟหัวลำโพง เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 อยู่บนแท่นภายใต้หลังคา[[พีระมิด]]แก้ว ซึ่งโผล่พ้นระดับดินบริเวณทางเข้า-ออกที่ 3
* ประวัติความเป็นมาของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร และภาพการก่อสร้าง
* จารึกรายชื่อผู้ที่มีส่วนร่วมในโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล รวมถึงผู้เสียสละ (ผู้ที่ถูกเวนคืนที่ดิน) บนผนังของโถงบันไดเลื่อนทางเข้า-ออกที่ 3
* [[พระเก้าอี้ลำลอง]] [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหามหาภูมิพลอดุลยเดช|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาราช บรมนาถบพิตร]] และ[[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง]] เมื่อเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดการเดินรถไฟฟ้าใต้ดินสายเฉลิมรัชมงคล วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
 
== รถโดยสารประจำทาง ==