ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไลโซโซม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ขุ่นาใิ ใใใใใใใใใใใิิิิิิาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาา
Dolkungbighead (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
 
'''ไลโซโซม''' ทำหน้าที่เป็นผู้ขนส่ง[[เอนไซม์]]ที่ใช้ในการย่อยสลาย[[โปรตีน]] [[ไขมัน]] และ[[คาร์โบไฮเดรต]] มีลักษณะเป็นถุง มีเยื่อหุ้มชั้นเดียว พบในเซลล์สัตว์และพืชบางชนิด และ[[เม็ดเลือดขาว]] เซลล์พืชบางชนิด เช่น ชุง[[กาบหอยแครง]] [[หม้อข้าวหม้อแกงลิง]]เป็นพืชที่ขาดสารอาหารบางชนิด เช่น N ([[ไนโตรเจน]]) จึงใช้ไลโซโซมในการย่อย[[แมลง]]
 
== ภาพรวม ==
 
ไลโซโซม (lysosome) พบครั้งแรกโดย [[คริสเตียน เดอ ดูฟ]] (Christain de Duve) เมื่อปี พ.ศ. 2495 โดยดูจาก[[กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน]] คล้ายถุงลม รูปร่างกลมรี เส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 0.15-0.8 ไมครอน พบเฉพาะในเซลล์สัตว์ และเซลล์พืชบางชนิด (เช่น หัวหอม ต้นกล้าข้าวโพด ต้นกล้ายาสูบ หรือพืชที่กินแมลงเป็นอาหาร) มักพบใกล้กับกอลจิบอดี ไลโซโซม ยังเป็นส่วนสำคัญ ในการย่อยสลาย องค์ประกอบของเซลล์ หลังจากเซลล์ตาย โดยพบมาก ในฟาโกไซทิกเซลล์ (phagocytic cell) เช่น เซลล์เม็ดเลือดขาวขุ่น และเซลล์นระบบเรติคูโล เอนโดทีเลียม (reticuloendothelial system) เช่น ตับ ม้าม นอกจากนี้ ยังพบไลโซโซม จำนวนมาก ในเซลล์ที่ได้รับบาดเจ็บ หรือมีการสลายตัวเอง เช่น เซลล์ส่วนหาง ของลูกอ๊อด เป็นต้น ซึงเราเรียกกระบวนการย่อยสลายนี้ว่า ออโตลิซิส (autolysis) ไลโซโซม มีเอนไซม์หลายชนิด จึงสามารถย่อยสลาย สารต่างๆ ภายในเซลล์ได้ดี
 
ไลโซโซม เป็นออร์แกแนลล์ ที่มีเมมเบรนห่อหุ้ม เพียงชั้นเดียว ซึ่งไม่ยอมให้เอนไซม์ต่างๆ ผ่านออก แต่เป็นเยื่อที่สลายตัว หรือรั่วได้ง่าย เมื่อเกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อ หรือขณะที่มีการเจริญเติบโต เยื่อหุ้มนี้มีความทนทาน ต่อปฏิกิริยาการย่อยของเอนไซม์ ที่อยู่ภายในได้ เอนไซม์ที่อยู่ในถุงของไลโซโซมนี้ เชื่อกันว่าเกิดจากไรโบโซม ที่อยู่บน RER สร้างเอนไซม์ขึ้น แล้วส่งผ่านไปยังกอลจิบอดี แล้วหลุดเป็นถุงออกมา