ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บอระเพ็ด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
เพิ่มเติมรายละเอียด
Dolkungbighead (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 14:
 
'''บอระเพ็ด''' เป็นไม้เถาเลื้อยที่จัดอยู่ในประเภทไม้เนื้ออ่อนซึ่งมีคุณค่าทาง[[สมุนไพร]]ชนิดหนึ่ง
 
'''ชื่อวิทยาศาสตร์ :''' Tinospora crispa (L.) Miers ex Hook.f.& Thomson
 
'''ชื่ออื่นๆ :''' จุงจิง, เครือเขาฮ่อ, จุ่งจะลิง (ภาคเหนือ-พายัพ), หางหนู (อุบลราชธานี-สระบุรี), เจตมูลหนาม, เจตมูลย่าน (หนองคาย), เจตมูลย่าน, เถาหัวด้วน (ภาคใต้), เจ็ดหมุนปลูก (ภาคใต้)
 
'''ชื่อวงศ์ :''' Menispermaceae
 
'''ลักษณะทั่วไป :'''
 
* ต้น : เป็นพรรณไม้เถาเลื้อย
* ใบ : จะมีลักษณะคล้ายกับบอระเพ็ดพุงช้าง ตรงริมขอบใบเรียบ แต่จะไม่มีเหลี่ยม
* ดอก : ออกตามซอกใบ ดอกแยกเพศอยู่คนละช่อ ดอกสีเขียวอมเหลือง มีขนาดเล็กมาก
* ผล รูปทรงค่อนข้างกลม สีเหลืองหรือสีแดง
 
'''ส่วนที่ใช้ :''' ราก ต้น ใบ ดอก ผล ส่วนทั้ง 5 เถาสด
 
'''สรรพคุณ :'''
 
'''ราก'''
 
* แก้ไข้เหนือ ไข้สันนิบาต แก้ไข้พิษ ไข้จับสั่น
* ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้
* เจริญอาหาร
 
'''ต้น'''
 
* แก้ไข้ แก้ไข้พิษ แก้ไข้กาฬ แก้ไข้เหนือ
* บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ
* แก้อาการแทรกซ้อน ขณะที่เป็นไข้ทรพิษ
* แก้ไข้เพื่อโลหิต แก้เลือดพิการ
* แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้สะอึก แก้พิษฝีดาษ
* เป็นยาขมเจริญอาหาร
* เป็นยาอายุวัฒนะ
 
'''ใบ'''
 
* แก้ไข้ แก้ไข้พิษ แก้ไข้กาฬ แก้ไข้จับสั่น
* ขับพยาธิ แก้ปวดฝี
* บำรุงธาตุ
* ยาลดความร้อน
* ทำให้ผิวพรรณผ่องใส หน้าตาสดชื่น
* รักษาโรคผิวหนัง ผดผื่นคันตามร่างกาย
* ช่วยให้เสียงไพเราะ
* แก้โลหิตคั่งในสมอง
* เป็นยาอายุวัฒนะ
 
'''ดอก'''
 
* ฆ่าพยาธิในท้อง ในฟัน ในหู
 
'''ผล'''
 
* แก้เสมหะเป็นพิษ แก้ไข้พิษ
* แก้สะอึก และสมุฎฐานกำเริบ
 
'''ส่วนทั้ง 5 บำบัดรักษาโรค ดังนี้'''
 
* เป็นยาอายุวัฒนะ แก้ปวดเมื่อย แก้ไข้ปวดศีรษะ รักษาฟัน รักษาโรคริดสีดวงทวาร ช่วยให้เจริญอาหาร แก้ฝีมดลูก ฝีมุตกิต แก้ร้อนใน รักษาโรคเบาหวาน ลดความร้อน แก้ดีพิการ แก้เสมหะ เลือดลม แก้ไข้จับสั่น
 
'''วิธีการและปริมาณที่ใช้ :''' ใช้เป็นยารักษาอาการดังนี้
 
'''อาการไข้ ลดความร้อน'''
 
* ใช้เถาแก่สด หรือต้นสด ครั้งละ 2 คืบครึ่ง (30-40 กรัม) ตำคั้นเอาน้ำดื่ม หรือต้มกับน้ำโดยใช้ น้ำ 3 ส่วน ต้มเคี่ยวให้เหลือ 1 ส่วน ดื่มวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า-เย็น หรือเวลามีอาการ
* หรือใช้เถาสด ดองเหล้า ความแรง 1 ใน 10 รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา ของยาที่เตรียมแล้ว
 
'''เป็นยาขมช่วยเจริญอาหาร เมื่อมีอาการเบื่ออาหาร'''
 
* โดยใช่ขนาดและวิธีการเช่นเดียวกับใช้แก้ไข้
 
== การใช้ประโยชน์ ==
มีสรรพคุณ เถา เป็นยาแก้ไข้ ขับเหงื่อ แก้กระหายน้ำ แก้ร้อนใน ใบ แก้รำมะนาด ปวดฟัน แก้ไข้ แก้โรคผิวหนัง ดับพิษปวดแสบปวดร้อน ฆ่าแมลงที่หู บำรุงน้ำดี ฆ่าพยาธิไส้เดือน ผล แก้ไข้ แก้เสมหะเป็นพิษ ราก แก้ไข้ขึ้นสูงที่มีอาการเพ้อคลั่ง ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ เจริญอาหาร แก้[[มะเร็งเม็ดเลือด]] แก้[[ท้องเฟ้อ]] มดลูกเสีย ทานกินทุกวันทำให้ร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นหวัด ในขณะเดียวกันมีผลข้างเคียงได้ การรับประทานต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน อาจมีผลต่อหัวใจ เพราะเป็นยารสขม
 
ชาวโอรังอัสลีในรัฐเปรัก ประเทศมาเลเซีย ใช้กิ่งบรเพชรนำไปต้มใช้รักษาโรคเบาหวาน<ref>Samuel, A.J.S.J., Kalusalingam, A., Chellappan, D.K., Gopinath, R., Radhamani, S., Husain, H. A., Muruganandham, V., Promwichit, P. 2010. Ethnomedical survey of plants used by the orang asli in kampong bawong, Perak, West Malaysia. ''Joutnal of Ethnobiology and Ethnomedicine''. 6:5</ref> ในตำรายา บางครั้งเรียกโหราอมฤต ภาษาสันสกฤตเรียกอัมชิตา ใช้เป็นยาแก้ไข้ [[ดีซ่าน]] [[ซิฟิลิส]]<ref>ชยันต์ พิเชียรสุนทร ศุภชัย ติยวรนันท์ และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 6 เภสัชกรรม. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2555. หน้า 194 - 195</ref>
 
<br />
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}