ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รายชื่อสงครามในประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Patseaza (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
Santawat.D (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 61:
* '''[[สงครามยุทธหัตถี]]''' ในปี [[พ.ศ. 2135]] พระเจ้าหงสาวดี นันทบุเรง โปรดให้[[พระมหาอุปราชา]] นำกองทัพ[[ทหาร]]สองแสนสี่หมื่นคน มาตี[[กรุงศรีอยุธยา]]หมายจะชนะศึกในครั้งนี้ สมเด็จพระนเรศวร ทรงทราบว่า พม่าจะยกทัพใหญ่มาตี จึงทรงเตรียมไพร่พล มีกำลังหนึ่งแสนคนเดินทางออกจากบ้าน[[ป่าโมก]]ไป[[สุพรรณบุ]]รี ข้ามน้ำตรงท่าท้าว[[อู่ทอง]] และตั้งค่ายหลวงบริเวณ[[หนองสาหร่าย]]<ref name="หมอบรัดเล141-142"/> เช้าของ[[วันจันทร์]] แรม 2 ค่ำ [[เดือนยี่]] [[ปีมะโรง]] [[พ.ศ. 2135]] [[สมเด็จพระนเรศวรมหาราช]]และ[[สมเด็จพระเอกาทศรถ]]ทรงเครื่องพิชัยยุทธ สมเด็จพระนเรศวรทรงช้าง นามว่า [[เจ้าพระยาไชยานุภาพ]] ส่วนพระสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงช้างนามว่า [[เจ้าพระยาปราบไตรจักร]] ช้างทรงของทั้งสองพระองค์นั้นเป็นช้างชนะงา คือช้างมีงาที่ได้รับการฝึกให้รู้จักการต่อสู้มาแล้วหรือเคยผ่านสงครามชนช้าง ชนะช้างตัวอื่นมาแล้ว ซึ่งเป็นช้างที่กำลังตกมัน ในระหว่างการรบจึงวิ่งไล่ตามพม่าหลงเข้าไปในแดน[[พม่า]] มีเพียง[[ทหารรักษาพระองค์]]และ[[จาตุรงค์บาท]]เท่านั้นที่ติดตามไปทัน<ref>พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหมอบรัดเล, หน้า 144-145</ref> สมเด็จพระนเรศวรทอดพระเนตรเห็นพระมหาอุปราชาทรงพระคชสารอยู่ในร่มไม้กับเหล่าเท้าพระยา จึงทราบได้ว่าช้างทรงของสองพระองค์หลงถลำเข้ามาถึงกลางกองทัพ และตกอยู่ในวงล้อมข้าศึกแล้ว แต่ด้วยพระปฏิภาณไหวพริบของสมเด็จพระนเรศวร ทรงเห็นว่าเป็นการเสียเปรียบข้าศึกจึงไสช้างเข้าไปใกล้ แล้วตรัสถามด้วยคุ้นเคยมาก่อนแต่วัยเยาว์ว่า "''พระเจ้าพี่เราจะยืนอยู่ใยในร่มไม้เล่า เชิญออกมาทำ[[ยุทธหัตถี]]ด้วยกัน ให้เป็นเกียรติยศไว้ในแผ่นดินเถิด ภายหน้าไปไม่มีพระเจ้าแผ่นดินที่จะได้ยุทธหัตถีแล้ว''"<ref>พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหมอบรัดเล, หน้า 144</ref> พระมหาอุปราชาได้ยินดังนั้น จึงไสช้างนามว่า [[พลายพัทธกอ]]เข้าชนเจ้าพระยาไชยานุภาพเสียหลัก พระมหาอุปราชาทรงฟันสมเด็จพระนเรศวรด้วย[[พระแสงของ้าว]] แต่สมเด็จพระนเรศวรทรงเบี่ยงหลบทัน จึงฟันถูก[[หมวก|พระมาลา]]หนังขาด จากนั้นเจ้าพระยาไชยานุภาพชนพลายพัทธกอเสียหลัก สมเด็จพระนเรศวรทรงฟันด้วยพระแสงของ้าวถูกพระมหาอุปราชาเข้าที่[[ไหล่|อังสะ]]ขวา [[เสียชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่|สิ้นพระชนม์]]อยู่บนคอช้าง<ref name="หมอบรัดเล145-146">พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหมอบรัดเล, หน้า145-146</ref> ส่วนสมเด็จพระเอกาทศรถทรงฟันเจ้าเมือง[[จาปะโร]]เสียชีวิตเช่นกัน ทหารพม่าเห็นว่าแพ้แน่แล้ว จึงใช้[[ปืน]]ระดมยิงใส่สมเด็จพระนเรศวรได้รับบาดเจ็บ ทันใดนั้น ทัพหลวงไทยตามมาช่วยทัน จึงรับทั้งสองพระองค์กลับพระนคร พม่าจึงยกทัพกลับกรุง[[หงสาวดี]]ไป นับแต่นั้นมาก็ไม่มีกองทัพใดกล้ายกมากล้ำกราย[[กรุงศรีอยุธยา]]อีกเป็นระยะเวลาอีกยาวนาน<ref name="หมอบรัดเล145-146"/>
 
* '''สงครามตีเมืองทะวายและตะนาวศรี''' ศึกทะวายและตะนาวศรีนั้น เป็นการรบในระหว่างคนต้องโทษกับคนต้องโทษด้วยกัน กล่าวคือ ทางกรุงศรีอยุธยพาพวกนายทัพที่ตามเสด็จไม่ทันในวันยุทธหัตถีนั้น มีถึง 6 คนคือ พระยาพิชัยสงคราม พระยารามกำแหง เจ้าพระยาจักรี พระยาพระคลัง และพระยาศรีไสยณรงค์ สมเด็จพระนเรศวรรับสั่งให้ปรึกษาโทษ ลูกขุนปรึกษาโทษให้ประหารชีวิต สมเด็จพระวันรัตสังฆปรินายกมาถวายพระพรบรรยายว่า การที่แม่ทัพเหล่านั้นตามเสด็จไม่ทัน ก็เพราะบุญญาภินิหารของพระองค์ สมเด็จพระนเรศวรที่จะได้รับเกียรติคุณเป็นวีรบุรุษที่แท้จริง ด้วยเหตุว่าถ้าพวกนั้นตามไปทันแล้วถึงจะชนะก็ไม่เป็นชื่อเสียงใหญ่หลวงเหมือนที่เสด็จไปโดยลำพัง เมื่อเห็นว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงเลื่อมใสในคำบรรยายข้อนี้แล้ว สมเด็จพระวันรัตก็ทูลขอโทษพวกแม่ทัพเหล่านี้ไว้ สมเด็จพระนเรศวรก็โปรดประทานให้ แต่พวกนี้จะต้องไปตีทะวายและตะนาวศรีเป็นการแก้ตัว จึงให้เจ้าพระยาจักรีเป็นแม่ทัพคุมพลห้าหมื่นไปตีตะนาวศรี พระยาพระคลังคุมกำลังพลหมื่นเหมือนกันไปตีทะวาย ส่วนแม่ทัพอื่นๆ ที่ต้องโทษก็แบ่งกันไปในสองกองทัพนี้คือพระยาพิชัยสงครามกับพระยารามคำแหงไปตีเมืองทะวายกับพระยาพระคลัง และให้พระยาเทพอรชุนกับพระยาศรีไสยณรงค์ไปตีเมืองตะนาวศรีกับเจ้าพระยาจักรี<ref>สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, หน้า 118-121</ref><ref>พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหมอบรัดเล, หน้า 147</ref> ส่วนทางหงสาวดีนั้น เมื่อพระเจ้าหงสาวดีเสียพระโอรสรัชทายาทแล้วก็โทมนัส ให้ขังแม่ทัพนายกองไว้ทั้งหมด แต่ภายหลังทรงดำริว่าไทยชนะพม่าในครั้งนี้แล้วก็จะต้องมาตีพม่าโดยไม่ต้องสงสัย ก่อนที่ไทยไปรบพม่าก็จะต้องดำเนินการอย่างเดียวกันกับที่พม่ารบกับไทย กล่าวคือ จะต้องเอามอญไว้ในอำนาจเสียก่อนและเป็นการแน่นอนว่าไทยจะต้องเข้ามาตีทะวายและตะนาวศรี ด้วยเหตุนี้จึงให้แม่ทัพนายกองที่ไปแพ้สงครามมาครั้งนี้ไปทำการแก้ตัวรักษาเมืองตะนาวศรีและเมืองทะวาย เป็นอันว่าทั้งผู้รบและผู้รับทั้งสองฝ่าย ตกอยู่ในฐานคนผิดที่จะต้องทำการแก้ตัวทั้งสิ้น<ref>สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, หน้า 121</ref> ในการรบทะวายและตะนาวศรีครั้งนี้แม่ทัพทั้งสองคือ เจ้าพระยาจักรีและพระยาคลัง ทำการกลมเกลียวกันเป็นอย่างยิ่ง ถึงแม้สมเด็จพระนเรศวรจะได้แบ่งหน้าที่ให้ตีคนละเมือง ก็ยังมีการติดต่อช่วยเหลือกันและกัน ในที่สุดแม่ทัพทั้งสองก็รบชนะทั้งสองเมืองและบอกเข้ามายังกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรได้โปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีไสยณรงค์อยู่ครองเมืองตะนาวศรี ส่วนทางเมืองทะวายนั้นให้เจ้าเมืองทะวายคนเก่าครองต่อไป ชัยชนะครั้งนี้เป็นอันทำให้แม่ทัพทั้งหลายพ้นโทษ แต่ทางพม่าแม่ทัพกลับถูกทำโทษประการใดไม่ปรากฏ แต่อย่างไรก็ดี การที่ชัยชนะทะวายและตะนาวศรีครั้งนี้ ทำให้อำนาจของไทยแผ่ลงไปทางใต้เท่ากับในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช<ref>สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, หน้า 121-123</ref><ref>พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหมอบรัดเล, หน้า 153-155</ref>
 
* '''การปราบปรามเขมรและฟื้นฟูหัวเมืองเหนือ''' ปลายปี [[พ.ศ. 2136]] สมเด็จพระนเรศวรยกกองทัพหลวงไปตีกรุง[[กัมพูชา]] มีชัยชนะจับนัก[[พระสัฏฐา]]เจ้ากรุงกัมพุชาได้ให้ประหารชีวิตเสียใน[[พิธีปฐมกรรม]] แล้วกวาดต้อนครอบครัว[[เขมร]]มาเป็นเชลยเป็นอันมาก<ref>วิบูลย์ วิจิตรวาทการ, หน้า 43-47</ref> ครั้นเสด็จกลับมาถึงพระนครจึงดำรัสสั่งให้ตั้งหัวเมืองเหนือที่ได้ทิ้งให้ร้างเมื่อเวลาทำสงครามกู้อิสรภาพอยู่ 8 ปีนั้น ให้กลับมามีเจ้าเมืองกรมการปกครองดังแต่ก่อน ทรงตั้งข้าราชการที่มีบำเหน็จความชอบให้ไปเป็นผู้ปกครองคือ พระยาชัยบูรณ์ข้าหลวงเดิมที่ได้ทรงใช้สอยทำศึกมาแต่แรกนั้น ให้เป็นเจ้าพระยาสุรสีห์ไปครองเมือง[[พิษณุโลก]] ให้พระศรีเสาวราชไปครองเมือง[[สุโขทัย]] ให้พระองค์ทองไปครองเมือง[[พิชัย]] ให้หลวงจ่า (แสนย์) ไปครองเมือง[[สวรรคโลก]] แล้วเข้าใจว่าส่งครอบครัวเขมรที่ได้มาคราวนั้นไปอยู่ที่หัวเมืองเหนือโดยมาก<ref>สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, หน้า 123-124</ref>
บรรทัด 74:
* '''การตีเขมรในสมัย[[สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง]]''' พระองค์ได้เสด็จยกทัพไปตีเขมร ซึ่งเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา แต่ได้แข็งเมืองมาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ทำให้เขมรกลับมาเป็นหัวเมืองประเทศราชของกรุงศรีอยุธยาดังเดิม ในตอนต้นรัชสมัยของพระองค์ หัวเมืองประเทศราชทางใต้ คิดกบฏยกทัพไปตีเมืองสงขลาและเมืองพัทลุง พระองค์ได้ส่งกองทัพไปปราบปรามได้ราบคาบ แต่ในขณะเดียวกันก็เสียเมืองเชียงใหม่ และหัวเมืองล้านนาแก่พม่า
 
* '''การตีหัวเมืองในสมัย[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]]''' ทรงยกทัพไปตีเมือง[[เชียงใหม่]] รวมทั้งสงครามไทย-พม่าที่เมืองไทรโยคเนื่องจากกลุ่มมอญในเมืองเมาะตะมะเป็นกบฎแล้วอพยพลงมาสวามิภักดิ์ต่อไทย พม่ายกกองทัพติดตามเข้ามาเพื่อขอตัวเจ้าเมืองเมาะตะมะที่ถูกจับและกลุ่มมอญ ไทยไม่ยอมจึงเกิดการรบขึ้นที่ไทรโยค<ref>คู่มือนักศึกษาวิชาทหารชาย, หน้า 435</ref> อีกทั้งยังบุกเข้าตีหัวเมืองพม่าอีกหลายเมืองได้แก่ เมือง[[จิตตะกอง]] [[สิเรียม]] [[ย่างกุ้ง]] [[แปร]] [[ตองอู]] [[หงสาวดี]] และมีกำลังสำคัญที่ทำให้สมเด็จพระนารายณ์นั้นสามารถยึดหัวเมืองของพม่าได้คือ [[เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก)]] และ [[พระยาสีหราชเดโชชัย]]<ref>พิมาน แจ่มจรัส, หน้า 173</ref>
 
=== อยุธยาตอนปลาย ([[พ.ศ. 2231|2231]] - [[พ.ศ. 2310|2310]]) ===