ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สนธิสัญญาไทย–ญี่ปุ่น (พ.ศ. 2483)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Santawat.D (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{Refimprove|date=August 2010}} สนธิสัญญาว่าด้วยความต่อเนื่องของความสัมพันธ์ฉ...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:37, 15 กรกฎาคม 2562

สนธิสัญญาว่าด้วยความต่อเนื่องของความสัมพันธ์ฉันท์มิตรฯ ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น Treaty between Thailand and Japan Concerning the Continuance of Friendly Relations and the Mutual Respect of Each Other's Territorial Integrity ถูกนำเสนอขึ้นที่กรุงโตเกียว วันที่ 12 มิถุนายน 2483 ระหว่างรัฐบาลไทย กับ จักรวรรดิญี่ปุ่น โดยเนื้อความเน้นย้ำถึงการให้ความร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศ และให้ความเท่าเทียมในศักดิ์ศรีของทั้ง 2 รัฐ

การให้สัตยาบันเกิดขึ้นที่ กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 23 ธันวาคม 2483 และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 26 กรกฎาคม 2484

ปูมหลัง

ภายหลังจักรวรรดิญี่ปุ่นรุกรานจีนในปี 2480 รัฐบาลญี่ปุ่นก็พยายามเข้าไปมีบทบาทในเวทีนานาชาติเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชียบริเวณอินโดจีนของฝรั่งเศส ที่จักรวรรดิญี่ปุ่นพยายามเข้าไปมีบทบาทในการยึดครองเพื่อผลประโยชน์ทางทรัพยากร

จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้ประเทศไทย ถูกเพ่งเล็งจาก จักรวรรดิญี่ปุ่น เป็นอย่างมาก เนื่องจากมีพรมแดนติดกับรัฐอาณานิคม 2 ประเทศได้แก่ ฝรั่งเศส และ สหราชอาณาจักร เหมาะแก่การเป็นฐานที่มั่นทั้งในปฏิบัติการทางทหารและทางการฑูตในระดับต่อๆไป

ข้อตกลง

มาตรา 1 คู่สนธิสัญญาต้องให้ความเคารพระหว่างรัฐบาลของทั้ง 2 ชาติ

มาตรา 2 คู่สนธิสัญญาต้องมีการประชุมระดับทวิภาคีของรัฐบาลทั้ง 2 ชาติในข้อห่วงกังวลร่วมต่างๆ

มาตรา 3 หากชาติใดชาติหนึ่งถูกรุกรานจากชาติที่ 3 คู่สนธิสัญญาต้องไม่ให้การช่วยเหลือใดๆแก่ชาติดังกล่าว

มาตรา 4 สนธิสัญญานี้ต้องให้การรับรองด้วยการให้สัตยาบัน

มาตรา 5 สนธิสัญญานี้มีผลบังคับใช้ในระยะเวลา 5 ปี และสามารถขยายต่อไปได้

ภายหลังการลงนาม

ภายหลังการลงนามสนธิสัญญาดังกล่าว ส่งผลให้ประเทศไทยได้ผลประโยชน์ชัดเจน ดังกรณีพิพาทอินโดจีนที่มีญี่ปุ่นเป็นตัวกลางในการเจรจา ไทยกับฝรั่งเศส ลงนามในอนุสัญญาสันติภาพที่กรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2484 ผลทำให้ไทยได้ดินแดนพิพาทมาอยู่ในปกครอง และจัดตั้งเป็นจังหวัดใหม่ขึ้น 4 จังหวัด คือ จังหวัดนครจัมปาศักดิ์ จังหวัดลานช้าง จังหวัดพิบูลสงครามและจังหวัดพระตะบอง รวมเป็นพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 24,039 ตารางกิโลเมตร และเป็นการปูทางให้จักรวรรดิญี่ปุ่นเข้ามามีบทบาททางการฑูตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นรากฐานในการทำ สงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อไป

External links