ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงครามเก้าทัพ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Santawat.D (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5:
|{{กล่องข้อมูล ความขัดแย้งทางทหาร‎
| ความขัดแย้ง = สงครามเก้าทัพ
| image = [[ไฟล์:War9army.svg|300px|center]]
| caption = '''แสดงการเดินทัพของพม่าและการตั้งรับของฝ่ายไทย'''
| วันที่ = [[พ.ศ. 2328]]
| สถานที่ = ทางใต้ ทางเหนือ และทางตะวันตกของไทย
เส้น 23 ⟶ 25:
'''สงครามเก้าทัพ''' เป็นสงครามระหว่าง[[ราชวงศ์คองบอง|อาณาจักรพม่า]]กับ[[อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราช)|ราชอาณาจักรไทย]] หลังจากที่[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] ได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เป็นราชธานีแห่งใหม่ เวลานั้นบ้านเมืองอยู่ในช่วงผ่านศึกสงครามมาใหม่ ๆ ประจวบทั้งการสร้างบ้านแปลงเมือง รวมทั้งปราสาทราชวังต่าง ๆ ในปี [[พ.ศ. 2328]] พระเจ้าปดุง กษัตริย์พม่า หลังจากบรมราชาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์อังวะแล้ว ทำสงครามรวบรวมเมืองเล็กเมืองน้อยรวมถึงเมืองประเทศราชให้เป็นปึกแผ่น แล้วก็ได้ยกกองกำลังเข้ามา โดยมีจุดประสงค์ทำสงครามกับกรุงรัตนโกสินทร์<ref>[[http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetail.asp?stcolumnid=935&stissueid=2452&stcolcatid=9&stauthorid=10|อุทยานประวัติศาสตร์สงคราม ๙ ทัพ (๑) ห้องสมุด โดย ปถพีรดี]]</ref>
 
==กระบวนทัพฝ่ายพม่า==
สงครามครั้งนี้พระเจ้าปดุงได้ยกทัพมาถึง 9 ทัพ รวมกำลังพลมากถึง 144,000 นาย โดยแบ่งการเข้าโจมตีกรุงรัตนโกสินทร์ออกเป็น 5 ทิศทาง
* ทัพที่ 1 ได้ยกมาตีหัวเมืองประเทศราชทางปักษ์ใต้ตั้งแต่เมืองระนองจนถึงเมืองนครศรีธรรมราช
เส้น 31 ⟶ 34:
* ทัพที่ 9 เข้ามาทางด่านแม่ละเมา แม่สอด
 
==กระบวนทัพฝ่ายไทย==
เวลานั้นทางพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รวบรวมกำลังไพล่พลได้เพียง 70,000 นายมีกำลังน้อยกว่าทัพพระเจ้าพม่าถึง 2 เท่า ประจวบเป็นทหารรบเดิมของพระเจ้ากรุงธนบุรีที่เคยกอบกู้บ้านเมืองสมัยเสียกรุงศรีอยุธยาไว้ได้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงปรึกษาวางแผนการรับข้าศึกกับ [[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท|สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าบุญมา สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล]] ว่าจะทำการป้องกันบ้านเมืองอย่างไร แผนการรบของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ คือจัดกองทัพออกเป็น 4 ทัพโดยให้รับศึกทางที่สำคัญก่อน แล้วค่อยผลัดตีทัพที่เหลือ
* ทัพที่ 1 ให้ยกไปรับทัพพม่าทางเหนือที่เมืองนครสรรค์
เส้น 37 ⟶ 41:
* ทัพที่ 4 เป็นทัพหลวงโดยมีพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เป็นผู้คุมทัพคอยเป็นกำลังหนุน เมื่อทัพไหนเพลี้ยงพล้ำก็จะคอยเป็นกำลังหนุน
 
===สมรภูมิทุ่งลาดหญ้า===
[[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท]] ได้ยกกองทัพไปถึงเมืองกาญจนบุรี<ref>[http://www.teawmuangthai.com/kanchanaburi/073/ อุทยานประวัติศาสตร์สงคราม 9 ทัพ]</ref> ตั้งรับทัพอยู่บริเวณทุ่งลาดหญ้า เชิงเขาบรรทัด สกัดกั้นไม่ให้ทัพพม่าได้เข้ามารวบรวมกำลังพลกันได้ นอกจากนี้ยังจัดกำลังไปตัดการลำเลียงเสบียงของพม่าเพื่อให้กองทัพขาดเสบียงอาหารโดยความร่วมมือกับ[[ขุนรัตนาวุธ]] แล้วยังใช้อุบาย โดยทำเป็นถอยกำลังออกในเวลากลางคืน ครั้นรุ้งเช้าก็ให้ทหารเดินเข้ามาผลัดเวร เสมือนว่ามีกำลังมากมาเพิ่มเติมอยู่เสมอ เมื่อทัพพม่าขาดแคลนเสบียงอาหารประจวบกับคิดว่ากองทัพไทยมีกำลังมากกว่า จึงไม่กล้าจะบุกเข้ามาโจมตี สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทเมื่อสบโอกาสทำการโจมตีกองทัพ 8-9 จนถอยร่นพระเจ้าปดุงเมื่อเห็นว่าไม่สามารถบุกโจมตีต่อได้ประจวบกับทั้งกองทัพขาดเสบียงอาหารจึงได้ถอยทัพกลับ สำหรับการโจมตีทางด้านอื่น ทางด้านเหนือพระเจ้ากาวิละเจ้าเมืองลำปางสามารถป้องกันทัพพม่าที่ยกมาทางหัวเมืองฝ่ายเหนือได้สำเร็จ
 
ส่วนทัพที่บุกมาทางด่านแม่ละเมามีกำลังมากกว่าจึงสามารถตีเมืองพิษณุโลกได้ แต่เมื่อเสร็จศึกทางด้านพระเจดีย์สามองค์แล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงเสด็จยกทัพขึ้นไปช่วยหัวเมืองทางเหนือ
 
===สมรภูมิแหลมมลายูฝ่ายใต้===
ส่วนทางปักษ์ใต้ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท เมื่อเสร็จศึกที่ลาดหญ้า เมืองกาญจนบุรีแล้ว เสด็จยกทัพลงไปช่วยทางปักษ์ใต้ต่อ แต่ก่อนที่จะเสด็จไปถึง ทัพพม่าได้โจมตีเมืองระนอง เมืองถลาง เวลานั้นเจ้าเมืองถลางเพิ่งจะถึงแก่กรรมยังไม่มีการตั้งเจ้าเมืองคนใหม่ แต่ชาวเมืองถลางนำโดยคุณหญิงจันภริยาเจ้าเมืองถลางที่ถึงแก่กรรมและนางมุกน้องสาว ได้รวบรวมกำลังชาวเมืองต่อสู้ข้าศึกจนสุดความสามารถ สามารถป้องกันข้าศึกพม่าไม่ให้ยึดเมืองถลางไว้ได้ หลังเสร็จศึกแล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้คุณหญิงจันเป็นท้าวเทพกษัตรีย์ (หรือท้าวเทพสตรี) นางมุกน้องสาวเป็นท้าวศรีสุนทร นอกจากนี้ทัพพม่าบางส่วนสามารถตีเมืองนครศรีธรรมราชได้ และยกลงไปตีเมืองสงขลาต่อ เจ้าเมืองและกรมการเมืองสงขลาพอทราบข่าวทัพพม่าตีเมืองนครศรีธรรมราชได้จึงหลบหนีเอาตัวรอด แต่เจ้าเมืองพัทลุงพระยาขุนคางเหล็กและได้นิมนต์ภิษุรูปหนึ่งนามว่า พระมหาช่วย มีชาวบ้านนับถือศรัทธากันมาก ได้ชักชวนชาวเมืองพัทลุงให้ต่อสู้ป้องกันสกัดทัพพม่าไม่ให้เข้ายึดเมืองพัทลุงได้ เมื่อกองทัพสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ยกกองทัพลงมาช่วยหัวเมืองปักษ์ใต้ ตีทัพพม่าตั้งแต่เมืองไชยาลงมาจนถึงนครศรีธรรมราช เมื่อทัพพม่าแตกพ่ายถอยร่นไปพ้นจากหัวเมืองปักษ์ใต้แล้ว ต่อมา[[พระยาทุกขราษฏร์| พระมหาช่วย]] ได้ลาสิกขาบทและเข้ารับราชการ
 
== บรรณานุกรม ==
* [https://sites.google.com/site/ebookwanwisa/ สงคราม 9 ทัพ]
 
== อ้างอิง ==