ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:การจัดหมวดหมู่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Wedjet (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Wedjet (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 30:
 
=== บทความ ===
การจัดหมวดหมู่ของบทความต้องสามารถ'''[[WP:V|พิสูจน์ยืนยันได้]]''' ควรชัดเจนจากสารสนเทศที่พิสูจน์ยืนยันได้ในบทความว่าเหตุใดบทความนี้จึงจัดอยู่ในทุกหมวดหมู่ การจัดหมวดหมู่ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ดังกล่าวอาจถูกลบออก
 
การจัดหมวดหมู่จะต้องรักษา'''[[WP:NPOV|มุมมองที่เป็นกลาง]]'''ด้วย เพราะการจัดหมวดหมู่ปรากฏในหน้าบทความโดยไม่มีความเห็นประกอบหรือการอ้างอิงเพื่อให้เหตุผลหรืออธิบายการใส่นั้น ผู้เขียนควรมีสำนึกถึงความจำเป็นในการรักษามุมมองที่เป็นกลางเมื่อสร้างหมวดหมู่หรือเพิ่มหมวดหมู่ในบทความ การจัดหมวดหมู่โดยทั่วไปไม่ควรเป็นที่โต้เถียง ถ้าหัวข้อของหมวดหมู่น่าจะก่อให้เกิดข้อถกเถียงอย่างมาก ควรใช้บทความรายการแทนดีกว่า (เพราะสามารถให้ความเห็นประกอบและใส่อ้างอิงได้) ตัวอย่างเช่น นักการเมืองที่ยังไม่ต้องโทษฐานอาชญากรรมใด ๆ ไม่ควรใส่เข้าหมวดหมู่อาชญากร เป็นต้น
 
มโนทัศน์ศูนย์กลางที่ใช้จัดหมวดหมู่บทความ คือ มโนทัศน์คุณลักษณะนิยามของหัวเรื่องบทความ "คุณลักษณะนิยาม" ( defining characteristic) หมายถึง คุณลักษณะที่[[WP:RS|แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ]]นิยามหัวเรื่องนั้นโดยทั่วไปและตรงกัน ตัวอย่างเช่น สัญชาติหรือวิชาชีพที่สำคัญ (ในกรณีบุคคล) ชนิดของสถานที่หรือภูมิภาค (ในกรณีสถานที่) ตัวอย่างเช่น ในบทความ [[การาวัจโจ]] คำว่า ชาวอิตาลี, ศิลปิน และ บาโรก ทั้งหมดอาจถือเป็นคุณลักษณะนิยามของหัวเรื่องการาวัจโจ
 
มีข้อพิจารณาดังต่อไปนี้ในการจัดบทความเข้าหมวดหมู่
* ให้ใส่ประกาศหมวดหมู่ เช่น <code><nowiki>[[หมวดหมู่:ความงาม]]</nowiki></code> ไว้ท้ายข้อความวิกิ แต่ก่อนแม่แบบโครง ซึ่งรวมข้ามหมวดหมู่ของมันเอง
* หมวดหมู่ที่มีชื่อเดียวกับหัวเรื่องควรขึ้นก่อน แต่นอกเหนือจากนั้นไม่มีกฎว่าด้วยการเรียงลำดับการจัดหมวดหมู่หน้า แต่ปกติหมวดหมู่ที่สำคัญหรือโดดเด่นที่สุดน่าจะขึ้นต้นก่อน
* ปกติบทความไม่ควรมีหมวดหมู่ว่าง ([[วิธีใช้:สีลิงก์|ลิงก์แดง]])
* การจัดหมวดหมู่ไม่ควรจัดโดยชนิดของบทความ บทความชีวประวัติเกี่ยวกับคน ๆ หนึ่งไม่จัดอยู่ใน [[:หมวดหมู่:ชีวประวัติ]]
* บทความเกี่ยวกับเรื่องแต่งไม่ควรจัดหมวดหมู่ในแบบเดียวกับที่จะทำให้สับสนกับหัวเรื่องจริง
 
== เมื่อไรที่ไม่ควรจัดหรือสร้างหน้าหมวดหมู่ ==