ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อ็องรี ดูว์น็อง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
[[ไฟล์:Henry_Dunant-young.jpg|thumb|right|อ็องรี ดูว์น็อง]]
'''อ็องรี ดูว์น็อง''' หรือที่รู้จักในชื่อ '''อังรี ดูนังต์'''({{lang-fr|Henri Dunant}}) ชื่อเต็ม '''ฌ็อง อ็องรี ดูว์น็อง''' ({{lang|fr|Jean Henri Dunant}}; [[8 พฤษภาคม]] [[ค.ศ. 1828]] — [[30 ตุลาคม]] [[ค.ศ. 1910]]) เป็นนักธุรกิจ และนักช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ชาว[[สวิส]] เขาเป็นผู้ให้กำเนิด[[คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ]]และสภากาชาดประจำชาติ เพื่อช่วยเหลิอบรรเทาทุกข์เมื่อเกิดภัยสงครามและภัยพิบัติต่าง ๆ และได้รับ[[รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ]] ในปี [[ค.ศ. 1901]] ร่วมกับ[[เฟรเดริก ปาซี]] ({{lang|fr|Frédéric Passy}})
 
นายอ็องรี ดูว์น็อง เกิดที่เมือง[[เจนีวา]] ประเทศ[[สวิตเซอร์แลนด์]] เป็นผู้เคร่งศาสนา โดยมีความเชื่อตามแนวทางของ[[นิกายคาลวิน]] และตั้งมั่นในหลักการ "จงรักเพื่อนบ้านของท่าน" ("Love thy neighbor") เขาได้เดินทางไปทั่ว[[ทวีปยุโรป|ยุโรป]]เพื่อบรรยายถึงความชั่วร้ายเรื่อง[[ความเป็นทาส]] (slavery) ในปี [[ค.ศ. 1859]] ระหว่างอยู่ที่[[ประเทศอิตาลี]] เขาได้ไปที่สนามรบของ[[สงครามแห่งโซลเฟริโน]] และได้เห็นทหารที่ได้รับบาดเจ็บนับพันคน ถูกปล่อยทิ้งรอความตายในสนามรบตามยถากรรม โดยไม่ได้รับแม้แต่การรักษาพยาบาลเบื้องต้น ที่อาจรักษาชีวิตของคนเหล่านี้ได้ หลังจากที่เขากลับถึง[[กรุงเจนีวา]] เขาได้เขียนบทความเกี่ยวกับประสบการณ์ครั้งนี้ของเขา ในชื่อ ''Un Souvenir de Solferino'' (ความทรงจำแห่งซอลเฟรีโน) ซึ่งได้ตีพิมพ์ในวันที่ [[8 พฤศจิกายน]] [[ค.ศ. 1862]] ในบทความเขาได้พยายามผลักดันให้มีการจัดตั้ง เครือข่ายนานาชาติของอาสาสมัครเพื่อบรรเทาทุกข์ขึ้น หนังสือของเขาได้รับความสนใจจาก [[สภาบริหารประเทศสวิตเซอร์แลนด์]] (Switzerland's Federal Council) และส่งผลให้[[ประเทศสวิตเซอร์แลนด์]]สนับสนุนให้มีการประชุมสัมมนานานาชาติขึ้นในปี [[ค.ศ. 1863]] เพื่ออภิปรายถึงแนวความคิดของดูว์น็องที่เขาได้เขียนไว้ในบทความ ''เก้าบทความ'' (''Nine Articles'') มีประเทศเข้าร่วมการประชุมสัมนาในวันที่ [[22 สิงหาคม]] [[ค.ศ. 1864]] ทั้งหมด 16 ประเทศ และในจำนวนนั้น 12 ประเทศได้ให้การสนับสนุนในเนื้อหา ซึ่งต่อมาได้กลายมาเป็น ''[[คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ]]'' และ[[อนุสัญญาเจนีวาฉบับที่หนึ่ง]]