ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 8377451 สร้างโดย ผช. นวนนท์ (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
Effmedical (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 101:
 
===สิ้นพระชนม์===
ครั้นถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2518 คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษาพยาบาลเห็นพระอาการหนักมากสิ้นหวังแล้ว เพราะเสวยไม่ใคร่ได้ ต้องถวายน้ำเกลือทางหลอดพระโลหิต คณะแพทย์แจ้งให้พระญาติทราบว่าพระอาการหมดหวังแล้วถึงสามครั้ง แต่พระอาการก็กลับทุเลาขึ้นได้อย่างน่าอัศจรรย์ ทั้งนี้คณะแพทย์ได้ลงความเห็นว่าเพราะพระทัยแข็ง ถ้าเป็นผู้อื่นก็สิ้นไปเสียนานแล้ว แต่ในที่สุด เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 เวลา 7 โมงเช้า พระอาการประชวรน่าวิตก พยาบาลได้ตามคณะแพทย์มาถวายการรักษา แม้คณะแพทย์จะถวายการรักษาอย่างสุดความสามารถ แต่มีพระอาการพระหทัยวาย จึงสิ้นพระชนม์ในเวลา 7.55 น. ณ โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร สิริพระชันษาชนมายุ 73 ปีพรรษา 5 เดือน 20 วัน<ref name="ราช">กรมศิลปากร, สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. ''[http://bcnnon.ac.th/webnon/Load/2013/01/king22.pdf ราชสกุลวงศ์]''. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ:สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. 2554, หน้า 184</ref>
 
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระเกียรติยศสูงสุดเต็มตามโบราณราชประเพณีแก่พระศพสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระโกศทองน้อยทรงพระศพ ประดิษฐานเหนือพระแท่นแว่นฟ้าลายสลัก ภายใต้ฉัตรตาดทอง 5 ชั้น ณ ศาลาสหทัยสมาคมในพระบรมมหาราชวัง และทรงรับพระศพไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์โดยตลอด เสด็จพระราชดำเนินไปยัง[[ศาลาสหทัยสมาคม]]ใน[[พระบรมมหาราชวัง]] เมื่อเวลา 18.00 น พระราชทานน้ำสรงพระศพแล้ว เจ้าพนักงานเชิญพระศพลงสู่พระลองในขึ้นประดิษฐานเหนือชั้นแว่นฟ้าลายสลักประกอบพระโกศทองน้อย กางกั้นฉัตรตาดทอง 5 ชั้น แวดล้อมด้วยเครื่องประกอบพระเกียรติยศ เสร็จแล้ว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงทอดผ้าไตร พระสงฆ์ 20 รูปสดับปกรณ์ เสด็จพระราชดำเนินกลับ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมทั้งกลางวัน กลางคืน รับพระราชทานฉันเช้าวันละ 8 รูป ฉันเพลวันละ 4 รูป และไว้ทุกข์ในพระราชสำนักกำหนด 15 วัน<ref>''หนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายาในรัชกาลที่ 6''. พิมพ์ครั้งที่ 19. 2519, หน้า 60</ref>
 
วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2519 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทาน เวลา 16.30 น. ทรงวางพวงมาลาที่หน้าพระโกศพระศพ ชาวพนักงานประโคมสังข์ แตร กลองชนะ แล้วทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการ พระสงฆ์ 20 รูปสวดพระพุทธมนต์ จบแล้วทรงทอดผ้าไตร พระสงฆ์สดัปกรณ์แล้วถวายอดิเรก สมเด็จพระราชาคณะถวายศีลและถวายพระธรรมเทศนาจบ พระ 4 รูปสวดธรรมคาถา แล้วทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมบูชากัณฑ์เทศน์และทรงทอดผ้า พระสงฆ์ทั้งนั้นสดับปกรณ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรกแล้วเสด็จพระราชดำเนินไปทรงจุดธูปเทียนที่เตียงพระสวดพระอภิธรรม เสด็จพระราชดำเนินกลับ<ref>{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=เล่ม ๔๒|issue=ตอนที่ ๒๕๑|pages=น่า ๓๑๒๓|title=หมายกำหนดการ ที่ ๒๐/๒๕๑๘ พระราชกุศลทักษิณานุปทาน ๗ วันพระศพสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี พระวรราชชายา ในรัชกาลที่ ๖ พุทธศักราช ๒๕๑๘|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2518/D/251/3123.PDF|date=๙ ธันวาคม ๒๕๑๘|accessdate=23 มิถุนายน 2562|language=ไทย}}</ref> ทั้งยังได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทาน ในโอกาสครบ 50 วัน พระศพ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้[[สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี]]ในรัชกาลที่ 7 เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์<ref>{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=เล่ม ๔๓|issue=ตอนที่ ๙|pages=ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒|title=หมายกำหนดการ พระราชกุศลทักษิณานุปทาน ๕๐ วันพระศพสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา ในรัชกาลที่ ๖ พุทธศักราช ๒๕๑๙|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2519/D/009/42.PDF|date=๙ ธันวาคม ๒๕๑๘|accessdate=23 มิถุนายน 2562|language=ไทย}}</ref> และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้[[สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์]]เสด็จแทนพระองค์ในการบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานเนื่องโอกาสครบ 100 วัน พระศพ<ref>{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=เล่ม ๔๓|issue=ตอนที่ ๔๑ ง|pages=ฉบับพิเศษ หน้า ๒๘|title=หมายกำหนดการ ที่ ๔/๒๕๑๙ พระราชกุศลทักษิณานุปทาน ๑๐๐ วัน พระศพสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา ในรัชกาลที่ ๖ พุทธศักราช ๒๕๑๙|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2519/D/041/24.PDF|date=๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๙|accessdate=23 มิถุนายน 2562|language=ไทย}}</ref> ตามลำดับ นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ[[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ]] เสด็จพระราชดำเนินไปในการบำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุ ในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519 ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมหาราชวัง และเสด็จไปในการพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ [[เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส|เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์]] [[วัดเทพศิรินทราวาส]] เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2519/D/127/7.PDF หมายกำหนดการ บำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุและพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายาในรัชกาลที่ ๖ ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส พุทธศักราช ๒๕๑๙], เล่ม ๙๓, ตอน ๑๒๗ ง ฉบับพิเศษ , ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙, หน้า ๗</ref> ในวันเช้าวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล เสด็จไปปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในการเก็บพระอัฐิ เสร็จแล้วเจ้าพนักงานเชิญพระอัฐิขึ้นรถยนต์หลวงกลับสู่พระบรมมหาราชวัง สำหรับพระอัฐิของสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี เมื่อรับพระราชทานเพลิงพระศพแล้ว เชิญไปประดิษฐานไว้ ณ [[หอพระนาก]] ใน[[วัดพระศรีรัตนศาสดาราม]] ส่วนพระอังคาร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญไปประดิษฐานไว้ ณ ศาลาสุจริตกุล [[วัดราชาธิวาส]] โดยเป็นไปตามพระบรมราชพินัยกรรมข้อที่ว่า ''"...ฃ้าพเจ้าขอสั่งเด็ดขาดไว้เสียแต่บัดนี้, ห้ามมิให้เอาพระอัษฐิสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจีขึ้นมาตั้งเคียงฃ้าพเจ้าเป็นอันขาด..."''<ref name="ฟ้าเดียวกัน">''ฟ้าเดียวกัน'', ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2549, หน้า 20</ref> ซึ่งในปัจจุบันไม่เคยมีงานใดเลยที่เชิญพระบรมอัฐิและพระอัฐิออกประดิษฐานพร้อมกัน<ref>ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 6 ฉบับที่ 8, มิถุนายน 2528, หน้า 41-42</ref>