ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอสเอฟ ซีเนม่า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
DMS WIKI (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 19:
ราวปี พ.ศ. 2512 สมาน ทองร่มโพธิ์ ตัดสินใจลาออกจากราชการที่กรุงเทพฯ ภูมิลำเนาเดิม และพาครอบครัวย้ายมาอยู่ จ.ตราด พร้อมกับเริ่มต้นกิจการ "ศรีตราดราม่า" หน้าตลาดสดขนาดใหญ่ในเมือง ซึ่งเป็นโรงภาพยนตร์ทันสมัยแห่งแรกของตราด กิจการนี้ดำเนินการได้เพียง 13 ปี ขณะนั้นสุวัฒน์ ลูกชายคนโตของสมาน ได้รับหช่วงดูแลกิจการต่อ ขณะอายุเพียง 17 ปี ด้วยอยากทำสิ่งที่พ่อรัก ความผูกพันกับโรงหนังที่ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่าไร่ครึ่ง เป็นบ้านของครอบครัว และเห็นว่าพนักงานมีกว่า 100 ชีวิตให้ต้องรับผิดชอบ
 
ด้วยการสนับสนุนจากลูกน้องเก่าและพรรคพวก ทำให้การทำธุรกิจของสุวัฒน์เริ่มต้นอย่างดี และนำพาให้โรงหนังขยายสาขาครอบคลุมทั้งภาคตะวันออก พร้อมกับที่กิจการสายหนัง สมานฟิล์มก็ได้เป็นตัวแทนจากค่ายหนังทุกค่าย จวบจนทศวรรษที่ 2530 กิจการโรงหนังซบเซา จนเมื่อปี 2537 การมาของ อีจีวี และ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ทำให้ธุรกิจนี้คึกคักอีกครั้ง หลายคนอาจมองว่าคงเป็นเรื่องยากที่จะสู้ได้ แต่สุวัฒน์ไม่คิดอย่างนั้นและทำให้เกิดโรงมัลติเพล็กซ์ SF Cinema (SF ย่อมาจาก สมานฟิล์ม ซึ่งเป็นชื่อคุณพ่อของสุวัฒน์) โดยเริ่มต้นที่[[ห้างสรรพสินค้ามาบุญครอง้เอ็มบีเคเซ็นเตอร์]] ชั้น 7 (บริเวณพื้นที่เดิมคือของเอ็มบีเค ฮอลล์) เป็นที่แรกในเดือนเมษายน พ.ศ. 2542 ด้วยพื้นที่ 25,000 ตร.ม. ทุ่มทุนกว่า 600 ล้านบาท ภายใต้แนวคิดความบันเทิงในชั้นเดียว (One Floor Entertainment) เพราะเห็นโอกาสจากโรงหนังมัลติเพล็กซ์ในขณะนั้นเน้นไปที่ชานเมืองเป็นหลัก แต่ใจกลางกรุงเทพฯกรุงเทพมหานคร กลับยังไม่มีโรงหนังทันสมัย และในปี พ.ศ. 2544 ก็เปิดที่ศูนย์การค้าในเครือ[[เดอะมอลล์]]อีกถึง 3 สาขาพร้อมกัน คือที่ [[เดอะมอลล์ บางกะปิ|บางกะปิ]], [[เดอะมอลล์ บางแค|บางแค]], และ [[เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน|งามวงศ์วาน]] และสาขาอื่น ๆ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
 
== ธุรกิจของบริษัท ==
=== โรงภาพยนตร์ ===