ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จอห์น ล็อก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sian54 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
Kurino (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 21:
}}
 
'''จอห์น ล็อก''' ({{lang-en|John Locke}}) เป็น[[นักปรัชญา]] [[ชาวอังกฤษ]] ในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 17 ความสนใจหลักของเขาคือ[[สังคม]]และ[[ญาณวิทยา|ทฤษฎีของความรู้]] ได้รับการขนานนามว่า "บิดาแห่งระบอบประชาธิปไตย"
 
แนวคิดของล็อกที่เกี่ยวกับ "[[รัฐบาล|ผู้ปกครอง]]ที่ได้รับการยอมรับจากผู้ใต้ปกครอง" ตีพิมพ์ลงหนังสือของเขา "ศาสตร์นิพนธ์สองบรรพว่าด้วยการปกครอง" (Two Treaties of Government)<ref>[https://www.matichonweekly.com/column/article_37922 เกษียร เตชะพีระ : ย้อนรอยประวัติบิดาเสรีนิยมอังกฤษ John Locke]</reF> อีกทั้งแนวคิดของล็อกได้เสนอว่าอำนาจไม่ควรตกอยู่คนเดียว และสามารถตรวจสอบอำนาจของผู้มีอำนาจได้ ซึ่งได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจตุลาการ อำนาจบริหาร<reF>หนังสือกฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง หน้า 31</ref> และ[[สิทธิธรรมชาติ]]ของมนุษย์ ที่เขาอธิบายว่าประกอบไปด้วย [[ชีวิต]], [[เสรีภาพ]], และ[[ทรัพย์สิน]] นั้นมีอิทธิพลอย่างมากต่อพัฒนาการทาง[[ปรัชญาการเมือง]] แนวคิดของเขาเป็นพื้นฐานของ[[กฎหมาย]]และรัฐบาล[[สหรัฐอเมริกา|อเมริกัน]] ซึ่งผู้บุกเบิกได้ใช้มันเป็นเหตุผลของ[[การปฏิวัติ]]
 
แนวคิดด้าน[[ญาณวิทยา]]ของล็อกนั้นมีอิทธิพลสำคัญไปจนถึงช่วงของ[[ยุคแสงสว่าง]]. เขามีทัศนะเกี่ยวกับ[[ญาณวิทยา|ทฤษฎีความรู้]]ว่า [[ความรู้]]จะต้องเกิดหลัง[[ประสบการณ์]] และความรู้จะเกิดขึ้นโดยอาศัยการสัมผัส เมื่อมนุษย์ได้สัมผัสก็จะมีความรู้สึก และความรู้สึกจะทำให้มนุษย์นั้นคิด และความคิดนี้คือแหล่งกำเนิดแห่งความรู้ หากปราศจากการสัมผัสมนุษย์ก็จะไม่คิด เพราะจิตโดยธรรมชาติจะมีสภาพอยู่เฉย. เขาถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกับ[[นักประสบการณ์นิยมชาวบริติช]] ซึ่งประกอบไปด้วย[[เดวิด ฮูม]] และ[[จอร์จ บาร์กลีย์]]. ล็อกมักถูกนำไปเปรียบเทียบกับ[[โทมัส ฮอบบส์]]