ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 91:
}}
|}
'''เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9''' เป็นเรือพระที่นั่งกิ่งประเภทเรือรูปสัตว์ หนึ่งใน[[เรือพระราชพิธี]] ใน[[กระบวนพยุหยาตราชลมารค]] จัดสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาส [[พระราชพิธีกาญจนาภิเษก พุทธศักราช 2539|พระราชพิธีกาญจนาภิเษก]] แห่ง[[พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] ในวันที่ [[9 มิถุนายน|9 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2539|พ.ศ. 2539]] โดย [[กองทัพเรือ]] ร่วมกับ [[กรมศิลปากร]] ได้นำ [[โขนเรือ]]พระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ ที่สร้างขึ้น ในสมัย[[รัชกาลที่ 3|รัชกาลที่ 3]] และ [[รัชกาลที่ 4|รัชกาลที่ 4]] มาเป็นต้นแบบ โดยกองทัพเรือ สร้างในส่วนที่เป็นโครงสร้างเรือ พาย และคัดฉาก ส่วนกรมศิลปากร ดำเนินการในงานที่เกี่ยวกับ [[ศิลปกรรม]]ของเรือทั้งหมด
 
== ประวัติ ==
บรรทัด 103:
แล้วขนานนามว่า “เรือนารายณ์ทรงสุบรรณ” ต่อมาเรือได้เสื่อมสภาพลงคงเหลือแต่โขนเรือเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ<ref name="กองทัพเรือ">[http://www.navy.mi.th/royal/kanchana/proj11t.htm โครงการสร้างเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9] กองทัพเรือ</ref>
 
ในปี พ.ศ. 2539 กองทัพเรือ [[ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)]] [[กรมอู่ทหารเรือ]] และกรมศิลปากร ได้มีหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเพื่อสร้างเรือพระที่นั่งลำใหม่เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรจะเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติปีที่ 50 ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้าง พร้อมกับทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานชื่อเรือว่า "เรือพระที่นั่ง นารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9" เรือลำดังกล่าวมีฐานะเป็นเรือพระที่นั่งรองทอดบัลลังก์กัญญา<ref name="กองทัพเรือ"/>
 
ขั้นตอนการจัดสร้างเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 แบบเรือได้คงขนาดและลักษณะของลวดลายแกะสลักทั้งหลายไว้ตามแบบเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณลำเก่า แต่ได้ปรับปรุงให้โขนเรือมีความสูงเพิ่มขึ้น และส่วนที่เป็นรูปพระครุฑพ่าห์ก็ออกแบบให้มีความงดงามยิ่งขึ้น พร้อมทั้งได้ขยายพื้นที่ของลำเรือให้กว้างขวางขึ้น โดยเฉพาะส่วนที่ทอดบัลลังก์กัญญาและประดับเครื่องสูงทั้งหลาย เริ่มดำเนินการสร้างตั้งแต่ วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2537 กรมอู่ทหารเรือรับเป็นผู้จัดสร้างตัวเรือ พาย และคัดฉาก ส่วนกรมศิลปากรเป็นผู้ดูแลการออกแบบแกะสลักลวดลายตลอดจนการลงรักปิดทองประดับกระจก พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพร้อมด้วย[[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง]] ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางกระดูกงูเรือ ณ กรมอู่ทหารเรือ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2537 และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้[[พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในพิธีปล่อยเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 ลงน้ำเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2539<ref name="สารานุกรมไทย">[http://guru.sanook.com/encyclopedia/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93_%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88_%E0%B9%99/ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9] สารานุกรมไทย ฉบับกาญจนาภิเษก</ref>
 
== ลักษณะเรือ ==