ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธงพระอิสริยยศในประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xiengyod~commonswiki (คุย | ส่วนร่วม)
Xiengyod~commonswiki (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 4:
== ประวัติ ==
 
ธงพระอิสริยยศตามอย่างธรรมเนียมตะวันตกมีจุดเริ่มต้นในรัชสมัยของ[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เมื่อพระองค์ได้สถาปนาธงประจำพระองค์ขึ้นอย่างหนึ่งตามอย่างธรรมเนียมยุโรป คือ '''ธงมหามงกุฎ''' หรือ '''ธงจอมเกล้า''' ใน [[พ.ศ. 2398]] พร้อมกับกับการกำหนดให้ธงช้างเผือกเป็น[[ธงชาติไทย|ธงชาติสยาม]] มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นนอกสีแดง พื้นในสีขาบ กลางธงมีรูป[[พระมหาพิชัยมงกุฎ]]และมีฉัตร 7 ชั้นขนาบสองข้าง ซึ่งจำลองจากตราพระราชลัญจกรพระมหามงกุฎ อันเป็น[[พระราชลัญจกรประจำรัชกาล]] เพื่อใช้ชักขึ้นบนเสาเรือพระที่นั่งเป็นที่หมายว่าได้เสด็จพระราชดำเนินโดยเรือลำนั้น นอกจากนี้ยังโปรดเกล้าฯ ให้ชักธงนี้ขึ้นบนเสาธงในพระบรมมหาราชวัง เพื่อระบุว่าพระองค์ประทับอยู่ในพระนคร และให้ใช้เป็นธงประจำกองทหารเกียรติยศในเวลาที่พระเจ้าแผ่นดินประทับในพระนครด้วย นอกจากนี้ยังได้โปรดเกล้าฯ ให้ชักธงอีกอย่างหนึ่งขึ้นประจำเสาธงใน[[พระบรมมหาราชวัง]] คือ '''ธงไอยราพต''' เพื่อเป็นเครื่องหมายว่าพระองค์มิได้ประทับอยู่ในพระนคร ธงนี้เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นแดง มีรูปตามอย่างพระราชลัญจกรไอยราพต กล่าวคือ เป็นรูป[[ช้างเอราวัณ]]สามเศียรยืนหันหน้าเข้าเสาธง เทิน[[บุษบก]][[อุณาโลม]] ด้านซ้ายขวาล้อมด้วยเครื่องสูงเป็น[[ฉัตร]] 7 ชั้นข้างละ 2 คัน ส่วน[[พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โปรดให้ใช้ '''ธงจุฑามณี''' หรือ '''ธงปิ่น''' เป็นธงประจำพระองค์ มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นสีขาบ กลางธงมีรูปพระจุฑามณี (ปิ่นปักผม) ตั้งบนพานแว่นฟ้าและตั้งบนซึ่งประดิษฐานอยู่เหนือตั่งอีกที และมีฉัตร 7 ชั้นขนาบสองข้าง ซึ่งโดยจำลองแบบจากตราพระราชลัญจกรพระจุฑามณี อันเป็น[[พระราชลัญจกรประจำรัชกาล]]พระองค์ โปรดเกล้าฯ ให้ชักธงนี้ขึ้นบนเสาธงในพระบวรราชวัง เพื่อระบุว่าพระองค์ประทับอยู่ในพระนคร
 
<center>