ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เน่ย์เก๋อ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5:
ต้นราชวงศ์หมิง การปกครองนั้นใช้ตามระบอบของ[[ราชวงศ์ยฺเหวียน]] (大元) ที่ตั้งสำนักอัครมหาเสนาบดีไว้ประสานระหว่างกระทรวงหลักทั้งหก สำนักดังกล่าวมีหัวหน้าสองคน เรียกว่า "อัครมหาเสนาบดีทั้งสอง" คนหนึ่งเรียก "ฝ่ายซ้าย" อีกคนหนึ่งเรียก "ฝ่ายขวา" ทำหน้าที่ผู้นำหน่วยงานราชการทั่วแผ่นดิน<ref>Hucker, 27.</ref> แต่จักรพรรดิหงอู่ทรงเกรงว่า การที่อำนาจการปกครองกระจุกอยู่ ณ อัครมหาเสนาบดีทั้งสอง จะเป็นภัยร้ายแรงต่อราชบัลลังก์ ฉะนั้น ใน ค.ศ. 1380 จึงรับสั่งให้ประหารอัครมหาเสนาบดี[[หู เหวย์ยง]] (胡惟庸) ด้วยข้อหากบฏ แล้วทรงยุบสำนักกับตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี โดยให้เจ้ากระทรวงทั้งหกขึ้นตรงต่อพระองค์<ref>Qian, 669-670.</ref>
 
แต่เพราะทรงต้องอาศัยความช่วยเหลือในทางธุรการ ใน ค.ศ. 1382 จักรพรรดิหงอู่จึงทรงเลือกราชบัณฑิตจาก[[สำนักฮั่นหลิน]] (翰林院; สำนักป่าพู่กัน) มาเป็น "เน่ย์เก๋อต้าเซฺว่ชื่อ"ต้าเซฺว่ชื่อ เพื่อถวายความช่วยเหลือในงานด้านเอกสาร<ref name="H29"/> โดยทรงส่งเขาเหล่านั้นไปประจำหน้าที่ยังสำนักงานต่าง ๆ ภายในวัง สำนักงานดังกล่าวจึงเรียกรวมกันว่า "เน่ย์เก๋อ" (ศาลาใน) อันเป็นนามเรียกขานมาแต่ชื่อนี้ปรากฏการใช้งานตั้งแต่รัชสมัย[[จักรพรรดิหย่งเล่อ]] (永樂帝)<ref>Qian, 671.</ref>
 
นับแต่รัชกาล[[จักรพรรดิเซฺวียนเต๋อ]] (宣德帝) เป็นต้นมา เน่ย์เก๋อเริ่มมีอำนาจเด็ดขาดมากขึ้น ในช่วงนี้ ฎีกาทั้งหลายที่ถวายต่อพระมหากษัตริย์จะต้องผ่านเน่ย์เก๋อก่อน เมื่อได้ฎีกาแล้ว เน่ย์เก๋อจะกลั่นกรอง แล้วลงมติตามสมควร ก่อนจะร่างหมายรับสั่งติดหน้าปกฎีกา แล้วถวายต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงวินิจฉัยเป็นขั้นตอนสุดท้าย กระบวนการนี้เรียกว่า "[[ร่างหมาย]]" (票擬) ซึ่งทำให้เน่ย์เก๋อกลายเป็นสถาบันชั้นสูงสุดในการจัดทำนโยบายเหนือกระทรวงทั้งหกไปโดยปริยาย ทั้งส่งผลให้สมาชิกอาวุโสของเน่ย์เก๋อที่เรียก "โฉวฝู่" นั้นมีอำนาจเสมอเหมือนอัครมหาเสนาบดีแต่เก่าก่อน<ref>Li, 108-109.</ref>