ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฝ่ายตรวจการ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: '''ฝ่ายตรวจการ''' ({{lang-en|Censorate}}) สมัยราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368–1644) และราชวงศ์...
 
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''ฝ่ายตรวจการ''' ({{lang-en|Censorate}}) สมัย[[ราชวงศ์หมิง]] (ค.ศ. 1368–1644) และ[[ราชวงศ์ชิง]] (ค.ศ. 1644–1912) เรียก '''ตูฉ่า-ยฺเหวี่ยนยฺเวี่ยน''' ({{zh|c=都察院|p=Dūchá Yuàn}}; "ฝ่ายตรวจกลางสำนักตรวจการรวม") สมัยก่อนหน้าเรียก '''ยฺวี่ฉื่อไถ''' ({{zh|t=御史臺|s=御史台|p=Yùshǐ Tái}}; "หออาลักษณ์หลวง") เป็นหน่วยงานราชการชั้นสูงใน[[จักรวรรดิจีน]] ตั้งขึ้นครั้งแรกในช่วง[[ราชวงศ์ฉิน]] (221–207 ปีก่อนคริสตกาล)
 
ในช่วง[[ราชวงศ์หยวน|ราชวงศ์ยฺเหวียน]]ของมองโกล (ค.ศ. 1271–1368) ฝ่ายตรวจการมีบทบาทแข็งขันอย่างยิ่ง ครั้นราชวงศ์หมิง ฝ่ายตรวจการกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบราชการที่มีการรวมศูนย์กลาง มีสถานะเทียบเท่า[[สามสำนักหกกรม|กรมกระทรวงทั้งหก]]และสภากลาโหมทั้งห้า ขึ้นตรงต่อองค์จักรพรรดิ<ref>Hucker, 49.</ref>
 
ฝ่ายตรวจการแบ่งออกเป็นสามฝ่าย เรียกว่า "ยฺเวี่ยน" (院) คือ
* ฝ่ายท้องพระโรงเตี้ยน-ยฺเวี่ยน (殿院; "ฝ่ายท้องพระโรง") ตรวจสอบพฤติกรรมของข้าราชการขณะเข้าเฝ้า เจ้าหน้าที่ฝ่ายนี้เรียก "ผู้ตรวจเฝ้าในท้องพระโรงเตี้ยนจงชื่อ-ยฺวี่ฉื่อ" (殿中侍御史; "ผู้ตรวจการเข้าเฝ้าในท้องพระโรง")
* ฝ่ายโต๊ะทรงไถ-ยฺเวี่ยน (殿; "ฝ่ายโต๊ะทรงอักษร") ตรวจสอบพระราชจริยวัตรของพระมหากษัตริย์ เพื่อให้มั่นใจว่า มิได้ทรงกระทำผิดพลาดประการใด และเพื่อย้ำเตือนถึงพระราชกิจ เจ้าหน้าที่ฝ่ายนี้เรียก "ผู้ตรวจเฝ้าชื่อ-ยฺวี่ฉื่อ" (侍御史; "ผู้ตรวจการเข้าเฝ้า")
* ฝ่ายสืบสวนฉา-ยฺเวี่ยน (察院; "ฝ่ายตรวจการ") ตรวจสอบพฤติกรรมของข้าราชการส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ฝ่ายนี้เรียก "ผู้ตรวจกำกับเจียนฉา-ยฺวี่ฉื่อ" (監察御史; "ผู้ตรวจกำกับ") ซึ่งจะเที่ยวไปตรวจสอบการปฏิบัติงานของข้าราชการในท้องที่ต่าง ๆ
 
==อ้างอิง==