ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แคว้นพะเยา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 70:
=== แคว้นเงินยาง ===
[[ไฟล์:3 kings monument.JPG|''[[พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์]]'' หน้าหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ ประกอบด้วย พ่อขุนรามคำแหงมหาราช พญางำเมือง และพญามังราย ตามลำดับ|200px|right|thumb]]
แคว้นพะเยามีความสัมพันธ์กับแคว้นเงินยางด้วยมีปฐมกษัตริย์มาจากเมืองเงินยางดังกล่าว การดำเนินการระหว่างสองรัฐจึงเป็นเป็นในฐานะเครือญาติ เมื่อมีศึกสงครามทั้งสองรัฐก็จะช่วยกันปกป้องบ้านเมือง อาทิเช่น ''ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่'' กล่าวถึงขุนเจืองครองเมืองพะเยาได้ไปช่วยเมืองเงินยางปราบแกว หลังจากทำสงครามไล่แกวแล้ว ขุนเจืองจึงขึ้นครองเมืองเงินยางสืบมา หรือกรณีของพระชายาของพญางำเมืองคือ ''นางอั้วเชียงแสน'' จากชื่อแสดงให้เห็นว่า นางอั้วเป็นธิดาจากเมืองเชียงแสน นั่นคือพะเยาและเงินยางมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติที่แนบแน่นผ่านการเสกสมรส ด้วยเหตุนี้แคว้นเงินยางจึงเป็นทั้งพระสหายและพระประยูรญาติสนิทสืบเนื่องหลายชั่วอายุคน<ref name="ล้านนา1">สรัสวดี อ๋องสกุล. ''ประวัติศาสตร์ล้านนา''. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 65-66</ref>
 
=== อาณาจักรล้านนา ===
พญางำเมืองได้มีสัมพันธภาพกับพญามังรายแห่งล้านนา โดยใน ''พงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน'' ได้ระบุว่า พญางำเมืองกับพญามังรายเป็นสหายกันมาแต่รุ่นปู่<ref name="ปู่"/> การเป็นพระสหายของสามกษัตริย์ทำให้เกิดการป้องกันภัยจากการรุกรานของมองโกล ด้วยการทำสนธิสัญญาสามกษัตริย์ในปี พ.ศ. 1830 ทั้งที่ก่อนหน้านี้พญามังรายเคยยกทัพไปเมืองพะเยาในปี พ.ศ. 1819 ซึ่งไม่ได้รบกันแต่กลับมีการเจรจากัน<ref name="สิบห้า"/>
 
แม้พะเยาและล้านนาจะมีการเสกสมรสเพื่อสร้างความสัมพันธ์เครือญาติกัน ดังกรณีของนางแก้วพอตาธิดาพญาไชยสงครามกับท้าวคำลือ กษัตริย์องค์สุดท้ายของพะเยา แต่พะเยาก็ถูกล้านนาหักหลังในสมัยพญาคำฟูที่ได้รับความร่วมมือกับนครรัฐน่าน และหลังจากนั้นเป็นต้นมาพะเยาจึงตกเป็นส่วนหนึ่งของล้านนามาแต่นั้น<ref name="วดี"/>