ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาคารรักษาพยาบาล และสถานีรถไฟร่วมศิริราช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Magnamonkun (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 29:
 
== ประวัติ ==
ใน พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2554 ระหว่างที่[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] ทรงพักรักษาอาการประชวรที่โรงพยาบาลศิริราช พระองค์ได้ทรงเห็นถึงปัญหาในการจราจรโดยรอบพื้นที่โรงพยาบาลศิริราช พระองค์จึงทรงรับสั่งให้ ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์ อธิการบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นผู้นำถวายการรักษาและคณะแพทย์ที่ร่วมถวายการรักษาในขณะนั้น รวบรวมปัญหาการจราจรที่เกิดขึ้น และสั่งจัดทำแผนบรรเทาและแก้ไขปัญหาการจราจรฝั่งธนบุรี ตั้งแต่ในพื้นที่โรงพยาบาลฯ นอกพื้นที่โรงพยาบาลฯ ตลอดจนพื้นที่โดยรอบ จนในที่สุดคณะแพทย์ร่วมกับผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ตลอดจนเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้จัดทำแผนโครงการแก้ไขปัญหาการจราจรโดยรอบโรงพยาบาลศิริราชในพระราชดำริจำนวน 8 โครงการ คือการก่อสร้างสะพานลอยฟ้า ถนนลอยฟ้า ถนนโลคัลโรดโดยรอบโรงพยาบาลศิริราช การขยายถนนอรุณอัมรินทร์ การเปลี่ยนเส้นทางของ[[รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม]]จากเส้นทางเดิมให้มาลอดผ่านโรงพยาบาลศิริราช และการร่างเส้นทางแยกช่วงตลิ่งชัน - ธนบุรี-ศิริราช ของโครงการ[[รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน]] เป็นต้น<ref>[https://www.matichon.co.th/local/news_328581 พระเมตตา ‘ในหลวง’ รัชกาลที่ 9 ศิริราชมิรู้ลืม]</ref>
 
ต่อมาใน พ.ศ. 2560 โรงพยาบาลศิริราชได้มีแนวคิดที่จะก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอกแห่งใหม่เพื่อใช้ทดแทนอาคารผู้ป่วยนอกเดิมที่ไม่สามารถรองรับผู้ป่วยได้เป็นจำนวนมาก และเริ่มมีสภาพทรุดโทรมตามเวลา ทางโรงพยาบาลจึงได้ประสานไปยัง[[กระทรวงคมนาคม]]เพื่อขอให้มีการย้ายตำแหน่งทั้งสองสถานีมาอยู่ในพื้นที่เดียวกัน และพัฒนาโครงการในรูปแบบบูรณาการให้เป็นสถานีแห่งแรกและแห่งเดียวของประเทศไทยตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงเล็งเห็นให้มีการเชื่อมต่อการรักษาเข้าสู่ระบบขนส่งมวลชน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยของโรงพยาบาลสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้อย่างรวดเร็ว ลดเวลาการเดินทาง และลดความแออัดของผู้ป่วยภายในโรงพยาบาลได้ โดยกระทรวงคมนาคมมีแผนเห็นชอบ และให้เจ้าของโครงการทั้งสองหน่วยงานคือ [[การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย]] (รฟม.) และ[[การรถไฟแห่งประเทศไทย]] (รฟท.) ออกแบบการเชื่อมต่อสถานีร่วมกัน เพื่ออำนวยความสะดวกสูงสุดให้ผู้ป่วยเท่าที่จะเป็นไปได้