ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประธานรัฐสภาไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Famefill (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Famefill (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 29:
 
==ประวัติ==
ตำแหน่งประธานรัฐสภานั้นเกิดขึ้นครั้งแรกภายหลัง[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475|การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475]] พร้อมกับตำแหน่ง[[นายกรัฐมนตรีไทย|นายกรัฐมนตรี]] แต่รัฐธรรมนูญ 2 ฉบับแรกคือ [[พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475]] และ[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475]] ได้กำหนดให้รัฐสภามีแค่สภาผู้แทนราษฎรเพียงสภาเดียว<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2475/A/166.PDF พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475], ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562</ref><ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2475/A/529.PDF รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475], ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562</ref> จึงถือว่า''ประธานสภาผู้แทนราษฎร''เป็นประธานรัฐสภา<ref>[https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/more_news.php?offset=20&cid=4558&filename=index ทำเนียบประธานรัฐสภา], รัฐสภาไทย, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562</ref>
 
ต่อมาได้มีการประกาศใช้[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489]] ได้กำหนดให้รัฐสภาประกอบไปด้วยพฤฒิสภา ([[วุฒิสภาไทย|วุฒิสภา]]) และ[[สภาผู้แทนราษฎรไทย|สภาผู้แทนราษฎร]] ซึ่งในมาตรา 63 กำหนดไว้ว่า ให้''ให้ประธานพฤฒสภา''เป็นประธานของที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา และให้ประธานสภาผู้แทนเป็นรองประธาน''<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2489/A/030/318.PDF รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489], ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562</ref> ซึ่งรัฐธรรมนูญอีก 2 ฉบับต่อมาคือ [[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490]] และ[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492]] ก็ได้กำหนดให้ประธานวุฒิสภาเป็นประธานรัฐสภาเช่นกัน<ref>[https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_w3c/ewt_dl_link.php?nid=7227 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490], รัฐสภาไทย, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562</ref><ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2489/A/030/318.PDF รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492], ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562</ref>
 
วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 [[แปลก พิบูลสงคราม|จอมพล ป. พิบูลสงคราม]] นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้ทำการ[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2494|รัฐประหารตนเอง]] และได้นำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475มา[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495|ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม]] ซึ่งในรัฐธรรมนูญฉบับนี้รัฐสภามีเพียงแค่สภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น จึงทำให้''ประธานสภาผู้แทนราษฎร''เป็นประธานรัฐสภา<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2495/A/015/1.PDF รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495], ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562</ref>
 
วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 [[สฤษดิ์ ธนะรัชต์|จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์]]ได้ทำการ[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2500|ยึดอำนาจ]]จากรัฐบาล[[แปลก พิบูลสงคราม|จอมพล ป. พิบูลสงคราม]]แล้วนั้น และยังคงให้มีการใช้[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495]]ต่อไป แต่ต่อมา[[สฤษดิ์ ธนะรัชต์|จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์]]ได้ทำการ[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2501|รัฐประหารอีกครั้ง]]และได้มีการประกาศใช้[[ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502]]แทน ซึ่งกำหนดให้''ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ''เป็นประธานรัฐสภา<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2502/A/017/1.PDF ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502], ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562</ref>
 
ในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511 ได้มีการประกาศใช้[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511]] ซึ่งได้กำหนดให้''ประธานวุฒิสภา''เป็นประธานรัฐสภา<ref>[https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_w3c/ewt_dl_link.php?nid=7218 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511], รัฐสภาไทย, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562</ref> ต่อมาวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 [[ถนอม กิตติขจร|จอมพลถนอม กิตติขจร]]ได้ทำการรัฐประหารตนเอง ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 และประกาศใช้[[ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515]]ได้กำหนดให้''ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ''เป็นประธานรัฐสภา<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2515/A/192/1.PDF ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515], ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562</ref> หลังจาก[[เหตุการณ์ 14 ตุลา|เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516]]ซึ่งทำให้[[ถนอม กิตติขจร|จอมพลถนอม กิตติขจร]]หมดอำนาจลง และมีการประกาศใช้[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517]] ในมาตราที่ 96 ได้กำหนดไว้ว่า ''ประธานสภาผู้แทนราษฎร''เป็นประธานรัฐสภา<ref>[https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/download/constitution/15-20061215114838_a18.pdf รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517], รัฐสภาไทย, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562</ref> ซึ่งถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ฝ่ายนิติบัญญัติที่ประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา
 
ภายหลังจากเกิด[[เหตุการณ์ 6 ตุลา|เหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519]] ทำให้[[สงัด ชลออยู่|พลเรือเอกสงัด ชลออยู่]]ทำการ[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2519|รัฐประหาร]] ยกเลิกรัฐธรรมนูญ และประกาศใช้[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519]] กำหนดให้''ประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน''เป็นประธานรัฐสภา<ref>[https://library2.parliament.go.th/giventake/content_thcons/11cons2519.pdf รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519], รัฐสภาไทย, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562</ref> ต่อมา[[สงัด ชลออยู่|พลเรือเอกสงัด ชลออยู่]] ได้ทำการ[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2520|รัฐประหารอีกครั้ง]]พร้อมยกเลิกรัฐธรรมนูญ และประกาศใช้[[ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520]] กำหนดให้''ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ''เป็นประธานรัฐสภา<ref>[https://library2.parliament.go.th/giventake/content_thcons/12cons2520.pdf ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520], รัฐสภาไทย, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562</ref> ในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2521 ได้มีการประกาศใช้ [[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521]] ซึ่งได้กำหนดให้''ประธานวุฒิสภา''เป็นประธานรัฐสภา<ref>[https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/download/constitution/15-20061215114415_a22.pdf รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521], รัฐสภาไทย, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562</ref>
 
{{โครงส่วน}}
 
== อำนาจหน้าที่ของประธานรัฐสภาไทย ==
ตามข้อบังคับการประชุมของรัฐสภา พ.ศ. 2553 ข้อที่ 5 ได้กำหนดให้ประธานรัฐสภามีอำนาจหน้าที่ดังนี้