ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
บริการเปลี่ยนหมวดหมู่อัตโนมัติด้วยบอต
ชาวไทย (คุย | ส่วนร่วม)
ลบสมเด็จ
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 28:
}}
 
'''สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ''' ({{lang-en|Edward III of England}}; {{lang-fr|Édouard III d'Angleterre}}; [[13 พฤศจิกายน]] [[ค.ศ. 1312]] – [[21 มิถุนายน]] [[ค.ศ. 1377]]) ทรงเป็นกษัตริย์แห่ง[[ราชวงศ์แพลนทาเจเน็ท]]ของ[[ราชอาณาจักรอังกฤษ]]ระหว่างปี [[ค.ศ. 1327]] ถึงปี [[ค.ศ. 1377]] พระองค์นับเป็น[[รายพระนามกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรอังกฤษ|กษัตริย์อังกฤษ]]ผู้ประสบความสำเร็จที่สุดพระองค์หนึ่งใน[[ยุคกลาง]] โดยทรงฟื้นฟูความมั่นคงของราชบัลลังก์ หลังจากที่เสื่อมโทรมลงไปมากในรัชสมัยของพระราชบิดา [[สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ|พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2]] และทรงเป็นผู้ที่ทำให้ราชอาณาจักรอังกฤษเป็นรัฐที่มีอำนาจทางทหารมากที่สุดในยุโรป และเป็นรัชสมัยที่มีการวิวัฒนาการทางการปกครองทางนิติบัญญัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การวิวัฒนาการของระบบรัฐสภา แต่ในสมัยเดียวกันนี้พระองค์ก็ทรงต้องเผชิญกับความหายนะจาก[[กาฬโรคระบาดในยุโรป]] พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงครองราชย์เป็นเวลานานถึง 50 ปีซึ่งไม่มีพระเจ้าแผ่นดินองค์ใดที่ครองราชย์นานเช่นนั้นตั้งแต่รัชสมัยของ[[สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษ|พระเจ้าเฮนรีที่ 2]] และต่อจากนั้นก็ไม่มีพระองค์ใดจนมาถึงรัชสมัยของ[[สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร|พระเจ้าจอร์จที่ 3]] ในฐานะกษัตริย์แห่ง[[สหราชอาณาจักร]]
 
พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนมายุได้เพียง 14 พรรษา หลังจากที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 พระราชบิดา ทรงถูกถอดจากการเป็นกษัตริย์ เมื่อพระชนมายุได้ 17 พรรษา พระองค์ก็ทรงเป็นผู้นำในรัฐประหารโค่นล้ม[[โรเจอร์ มอร์ติเมอร์ เอิร์ลแห่งมาร์ชที่ 1]] ผู้เป็น[[ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์]] และทรงเริ่มครองราชย์ด้วยพระองค์เอง หลังจากที่ทรงได้รับชัยชนะต่อ[[ราชอาณาจักรสกอตแลนด์]] ก็ทรงประกาศอ้างสิทธิ์ของพระองค์ว่าเป็นผู้สืบทอดอันชอบธรรมต่อราชบัลลังก์ฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1340 อันเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามซึ่งเรียกกันว่า [[สงครามร้อยปี]] หลังจากที่เพลี่ยงพล้ำในระยะแรกของสงคราม สถานการณ์ก็ดีขึ้นมากสำหรับฝ่ายอังกฤษ ชัยชนะที่เครซีและปัวติเยร์ทำให้อังกฤษได้รับผลประโยชน์เป็นอย่างมากจาก[[สนธิสัญญาเบรตีญี]] (Treaty of Brétigny) แต่ตอนปลายรัชสมัย ก็ทรงประสบกับความล้มเหลวในกิจการระหว่างประเทศและการเมืองภายใน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพราะความเฉื่อยชาและพระสุขภาพพลานามัยที่ทรุดโทรมลงอย่างมาก