ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ป้อมมหากาฬ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 20:
'''ป้อมมหากาฬ''' ตั้งอยู่บริเวณเชิง[[สะพานผ่านฟ้าลีลาศ]] ติดกับ[[ถนนมหาไชย]] แขวงบวรนิเวศ [[เขตพระนคร]] [[กรุงเทพมหานคร]] ทางด้านหลังมี[[กำแพง และ ประตูพระนคร|กำแพงเมืองพระนคร]]หลงเหลืออยู่
 
ป้อมมหากาฬสร้างขึ้นในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] (รัชกาลที่ 1) ในปี [[พ.ศ. 2326]] เป็น[[ป้อมปราการที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช|ป้อม 1 ใน 14 ป้อมที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อป้องกันรักษาพระนคร]] มีลักษณะรูปแปดเหลี่ยม มีกำแพงล้อมรอบ 2 ชั้น เป็นป้อมประจำพระนครด้านตะวันออก ปัจจุบันป้อมมหากาฬเป็น 1 ใน 2 ป้อมที่ยังคงเหลืออยู่ในกรุงเทพมหานคร อีกป้อมหนึ่งคือ[[ป้อมพระสุเมร|ป้อมพระสุเมรุ]] ทาง[[กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)|กรุงเทพมหานคร]] และ[[กรมศิลปากร]]ได้บูรณะซ่อมแซมป้อมมหากาฬเมื่อคราว[[พระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี]] ในปี [[พ.ศ. 2525]] และได้มีการบูรณะเรื่อยมาจนมีสภาพที่เห็นในปัจจุบัน
 
ที่ตั้งด้านหนึ่งของป้อมเป็นที่อยู่ของชุมชนของผู้คนที่ตั้งรกรากอยู่มาตั้งแต่แรกสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นชุมชนที่มีชื่อเสียงด้านลิเกโบราณ รวมถึงเป็นแหล่งจำหน่าย[[ดอกไม้ไฟ]] หรือพลุต่าง ๆ โดยเป็นแหล่งซื้อขายที่ได้รับความนิยมโดยเฉพาะใน[[วันลอยกระทง]] ในช่วงรัชกาลที่ 1–4 เป็นบ้านพักขุนนางชั้นสูงหลายท่าน เช่น [[เจ้าพระยายมราช (ครุฑ)]] เสนาบดีกรมเวียง (กรมเมือง) ฯลฯ เป็นต้น โดยชุมชนป้อมมหากาฬนี้ ผู้ที่ศึกษาด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนทั้งชาวไทยและต่างประเทศมักจะมาสำรวจและทำวิจัยเรื่องการมีส่วนร่วมฯ ณ ชุมชนแห่งนี้ โดยมีประวัติการชุมนุมและต่อสู้มายาวนานกว่า 20 ปี โดยเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 หลังจากที่คณะรัฐบาลที่มี พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรีได้มีมติคณะรัฐมนตรีออกมา โดยรัฐบาลต้องการปรับปรุงภูมิทัศน์ และปรับพื้นที่ให้เป็น[[สวนสาธารณะ]]