ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไดโจไดจิง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ตามบทความหลัก
บรรทัด 1:
'''ไดโจไดจิง''' หรือ '''ดาโจไดจิง''' ({{lang-ja|太政大臣}} ''Daijō-daijin/Dajō-daijin'';<ref>''Kenkyusha's New Japanese-English Dictionary'', Kenkyusha Limited, {{ISBN|4-7674-2015-6}}</ref> "อัครมหาเสนาบดี") เป็นตำแหน่งราชการในญี่ปุ่น เป็นหัวหน้าคณะเสนาบดีซึ่งเรียก "[[ไดโจกัง]]" ปรากฏใน[[ยุคนาระ]]และยุคหลังจากนั้น แล้วสิ้นอำนาจไปช่วงหนึ่ง ก่อนจะรื้อฟื้นขึ้นมาในช่วงสั้น ๆ ตาม[[รัฐธรรมนูญเมจิ]] แล้วยุบเลิกไปโดยสถาปนาตำแหน่ง[[นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น|นายกรัฐมนตรี]]ขึ้นมาแทน
 
[[เจ้าชายโอโตโมะ]] (ค.ศ. 648–672) โอรสองค์โปรดของ[[จักรพรรดิเท็นจิ]] (ค.ศ. 626–672) เป็นบุคคลแรกที่ได้รับตำแหน่งไดโจไดจิง โดยดำรงตำแหน่งนี้ในช่วงที่จักรพรรดิเท็นจิครองราชย์ (ค.ศ. 661–672)<ref>Ponsonby-Fane, Richard (1959). ''The Imperial House of Japan'', p. 53.</ref> ตำแหน่งนี้ปรากฏอย่างเป็นทางการครั้งแรกใน[[ประมวลกฎหมายอาซูกะคิโยมิฮาระ]] ฉบับ ค.ศ. 689 ซึ่งให้มีหน่วยงานกลางที่เรียก "ไดโจกัง" ประกอบด้วยเสนาบดีสามคน คือ ไดโจไดจิง (อัครมหาเสนาบดี), [[ซาไดจิง]] (มหาเสนาบดีฝ่ายซ้าย), และ[[อูไดจิง]] (มหาเสนาบดีฝ่ายขวา) ต่อมา ตำแหน่งเหล่านี้นำไปรวมอยู่ใน[[ประมวลกฎหมายไทโฮ]] ฉบับ ค.ศ. 702703<ref name="hall232">Hall, John Whitney ''et al.''. (1993). [https://books.google.com/books?id=nCJwEDzyxNgC&pg=PA232&dq=Asuka+code ''The Cambridge History of Japan'', p. 232].</ref>
 
ไดโจไดจิงเป็นประธานไดโจกัง และมีอำนาจควบคุมดูแลข้าราชการทั้งปวง ครั้น[[ตระกูลฟูจิวาระ]]ได้[[เซ็ชโชและคัมปากุ|สำเร็จราชการแทนจักรพรรดิ]]และมีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อย ๆ อำนาจหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในระบบไดโจกังก็ถดถอยลงตามลำดับ ปรากฏว่า ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 10 ไดโจไดจิงไม่มีอำนาจจะออกความเห็นในที่ประชุมราชการอีกแล้ว เว้นแต่ไดโจไดจิงกับผู้สำเร็จราชการเป็นบุคคลเดียวกัน หรือเว้นแต่เพื่อสนับสนุนตระกูลฟูจิวาระ จนคริสต์ศตวรรษที่ 12 ตำแหน่งนี้ก็สิ้นอำนาจโดยสิ้นเชิง และมักปล่อยให้ว่างไว้นาน ๆ<ref>Dickson, Walter G. ''et al.''. (1898). {{Google books|s9YeAAAAMAAJ|"The Eight Boards of Government" in ''Japan'', p. 60.|page=60}}</ref>