ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kimujikon (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 40:
}}
'''ราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์'''
เป็นราชอาณาจักรที่สี่ในยุคประวัติศาสตร์ของไทย เริ่มตั้งแต่การย้ายเมืองหลวงจากฝั่งกรุงธนบุรี มายัง[[กรุงเทพมหานคร]] ซึ่ง[[ตั้งวง|ตั้]]งอยู่ทางตะวันออกของ[[แม่น้ำเจ้าพระยา]] [[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] ปฐมกษัตริย์แห่ง[[ราชวงศ์จักรี]] เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ [[6 เมษายน]] พ.ศ. 2325
 
ครึ่งแรกของสมัยนี้เป็นการเพิ่มพูนอำนาจของอาณาจักร ถูกขัดจังหวะด้วยความขัดแย้งเป็นระยะกับ[[พม่า]] [[เวียดนาม]]และ[[ลาว]] ส่วนครึ่งหลังนั้นเป็นการเผชิญกับประเทศเจ้าอาณานิคม [[อังกฤษ]]และ[[ฝรั่งเศส]] จนทำให้ไทยเป็นเพียงประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตก ผลกระทบจากภัยคุกคามนั้น นำให้อาณาจักรพัฒนาไปสู่[[รัฐชาติ]]สมัยใหม่ที่รวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง โดยมีพรมแดนที่กำหนดร่วมกับชาติตะวันตก สมัยนี้มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคมที่สำคัญ ด้วยการเพิ่มการค้ากับต่างประเทศ [[การเลิกทาสและไพร่ในประเทศไทย|การเลิกทาส]] และการขยายการศึกษาแก่[[ชนชั้นกลาง]]ที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ไม่มีการปฏิรูปทางการเมืองอย่างแท้จริงกระทั่งระบอบ[[สมบูรณาญาสิทธิราช]]ถูกแทนที่ด้วยระบอบ[[ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ]] ใน[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475]]
บรรทัด 61:
== สันติภาพ ==
{{ประวัติศาสตร์ไทย}}
รัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ค่อนข้างไม่มีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้น ขณะนี้ราชวงศ์จักรีเข้าควบคุมทุกส่วนของรัฐบาลสยาม เพราะพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมีพระราชโอรส-ธิดารวมทั้งสิ้น [[พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช|42 พระองค์]] [[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท|พระมหาอุปราช]] พระอนุชา มีพระโอรส-ธิดารวม 43 พระองค์ และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระราชโอรส-ธิดาทั้งสิ้น 100 พระองค์ จึงมีเจ้านายพอที่จะจัดเข้าสู่ระบบข้าราชการประจำ กองทัพ สมณเพศอาวุโสและรัฐบาลส่วนภูมิภาค มีการเผชิญหน้ากับเวียดนาม ซึ่งกลายมาเป็นมหาอำานจในภูมิภาค เหนือการควบคุมกัมพูชาใน พ.ศ. 2356 ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยการฟื้นฟู[[สถานะเดิม]]
 
อิทธิพลของตะวันตกเริ่มแผ่ขยายเข้ามาในภูมิภาค โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2328 อังกฤษยึดครอง[[ปีนัง]] และใน พ.ศ. 2362 เข้ามาตั้ง[[สิงคโปร์]] ไม่นาน อังกฤษก็ได้เข้ามาแทนที่ฮอลันดาและโปรตุเกสเป็นชาติตะวันตกที่มีอิทธิพลทางเศรษฐกิจและการเมืองหลักในสยาม อังกฤษคัดค้านระบบเศรษฐกิจสยาม ซึ่งเจ้านายเป็นผู้ผูกขาดการค้า และธุรกิจถูกจัดเก็บภาษีตามอำเภอใจ ใน พ.ศ. 2364 ลอร์ดฮัสติงส์แห่ง[[บริษัทอินเดียตะวันออก]] ซึ่งขณะนั้นเป็นข้าหลวงใหญ่แห่งอินเดีย ส่งตัวแทนของบริษัท [[จอห์น ครอว์เฟิร์ด]] เป็นคณะทูตเพื่อเรียกร้องให้สยามยกเลิกการจำกัดการค้าเสรี อันเป็นสัญญาณแรกของประเด็นซึ่งจะครอบงำการเมืองของสยามในคริสต์ศตวรรษที่ 19