ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เซปักตะกร้อ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Catherine Laurence (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
5ิืื่ั้ั23863574
บรรทัด 1:
{{ความหมายอื่น|เปลี่ยนทาง=ตะกร้อ|เกี่ยวกับ=กีฬา|สำหรับ=สิ่งของ|ดูที่=ตะกร้อ (สิ่งของ)}}
[[ไฟล์:Sepak takraw.jpg|upright|thumb|เด็กกับการสาธิตการเล่นตะกร้อ]]
'''เ'''[[ฟุตวอลเลย์|ลเลย์]] โดยใช้ลูกที่ทำจาก[[หวาย]]และอนุญาตให้ผู้เล่นใช้เท้า, เข่า, หน้าอก และศีรษะเพื่อสัมผัสลูก
'''เซปักตะกร้อ'''<ref name=kelley>{{cite web
| author=Shawn Kelley
| year=
| url=http://www.tatnews.org/emagazine/2813.asp
| title=Takraw: A Traditional Southeast Asian Sport
| accessdate=30 July 2007 |archiveurl = https://web.archive.org/web/20070710234948/http://www.tatnews.org/emagazine/2813.asp <!-- Bot retrieved archive --> |archivedate = 10 July 2007}}</ref> เป็น[[กีฬา]]พื้นเมืองของ[[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]]<ref>{{Cite book|title=Sport in Asian society: past and present|page=220|author=J. A. Mangan, Fan Hong|isbn=978-0-7146-8330-0|year= 2002|publisher=Frank Cass Publishers}}</ref> เซปักตะกร้อแตกต่างจากกีฬาที่คล้ายกันของ[[ฟุตวอลเลย์]] โดยใช้ลูกที่ทำจาก[[หวาย]]และอนุญาตให้ผู้เล่นใช้เท้า, เข่า, หน้าอก และศีรษะเพื่อสัมผัสลูก
 
== ศัพท์มูลวิทยา ==
เซ
เซปักตะกร้อ มาจากคำสองคำ คำแรก "เซปัก" ({{lang-ms|sepak}}) เป็น[[ภาษามลายู|คำมลายู]]แปลว่า "เตะ" กับคำว่า "ตะกร้อ" เป็น[[ภาษาไทย|คำไทย]]แปลว่า "ของเล่นสานด้วยหวาย ใช้เตะเล่น"<ref>{{Cite web|url=https://en.oxforddictionaries.com/definition/us/sepak_takraw|title=sepak takraw {{!}} Definition of sepak takraw in US English by Oxford Dictionaries|website=Oxford Dictionaries {{!}} English|access-date=2018-09-18}}</ref>
 
* [http://www.bolarotan.com/ Malaysia Sepak Takraw Fan News]
[[ส.พลายน้อย]]อธิบายที่มาของคำว่า "ตะกร้อ" ว่าอาจเป็นคำ[[ภาษาจีน|จีนเก่า]]คือคำว่า "ทาก้อ" ใช้เรียกกีฬาที่คล้ายกัน ใน[[ภาษาไทยถิ่นเหนือ]]เรียก "มะต้อ" [[ภาษาไทยถิ่นอีสาน|ถิ่นอีสาน]]เรียก "กะต้อ" และ[[ภาษาไทยถิ่นใต้|ถิ่นใต้]]เรียก "ตร่อ" และอธิบายอีกว่า ต้อ ตร่อ และกร้อ เป็นคำเดียวกันแต่เพี้ยนเสียง<ref name="พลายน้อย">ส. พลายน้อย. ''เกร็ดภาษา หนังสือไทย ฉบับปรับปรุง''. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : พิมพ์คำ, 2560, หน้า 314-316</ref> ส่วน[[ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์)]] ให้ความเห็นว่า แต่เดิมคงเรียก "ตากล้อ" แปลว่า "ของที่สานเป็นตากลม ๆ" กรณีเดียวกันกับคำว่า "ผมหยิกหน้ากล้อคอสั้นฟันขาว" ซึ่งคำว่า "กล้อ" แปลว่า "กลม"<ref name="พลายน้อย"/>
 
ใน[[ภาษามลายู]]จะเรียกกีฬานี้ว่า "เซปักรากา" ({{lang-ms|sepak raga}})
 
== ประวัติ ==
ในการค้นคว้าหลักฐานเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดการเล่นกีฬาตะกร้อในอดีตนั้น ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้อย่างชัดเจนว่าตะกร้อนั้นกำเนิดจากที่ใด การเล่นตะกร้อมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องมาตามลำดับทั้งด้านรูปแบบและวัตถุดิบในการทำจากสมัยแรกเป็นผ้า,หนังสัตว์,หวาย,จนถึงประเภทสารสังเคราะห์ (พลาสติก) มีหลายประเทศในแถบเอเชียที่เล่นกีฬาประเภทนี้คล้ายกัน
 
* มีหลักฐานการเล่นตะกร้อใน[[รัฐสุลต่านมะละกา]]ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยมีการบันทึกในพงศาวดารมลายู ({{lang-ms|Sejarah Melayu}})<ref>{{cite book | last = Dunsmore | first = Susi | title = Sepak Raga | publisher = [[University of Michigan]] | year = 1983 | page = 2}}</ref>
* พม่ามีการเล่นเป็นกีฬาที่มีมายาวนาน ซึ่งเรียกว่า "[[ชีนโลน]]"
* ฟิลิปปินส์ นิยมเล่นกีฬาชนิดนี้กันมานานแล้ว โดยมีชื่อเรียกว่า ซิปะก์
* ประเทศจีนมีเกมกีฬาที่คล้ายตะกร้อ แต่เป็นการเตะลูกหนังปักขนไก่ ซึ่งปรากฏในภาพเขียนและพงศาวดารจีน
* ประเทศเกาหลีมีเกมกีฬาลักษณะคล้ายคลึงกับของจีนแต่ใช้ดินเหนียวห่อด้วยผ้าสำลีเอาหางไก่ฟ้าปัก แทนการใช้ลูกหนังปักขนไก่
 
== เซปักตะกร้อ ==
การแข่งขันตะกร้อในระดับนานาชาติ เรียกเกมกีฬาชนิดนี้ว่าเซปักตะกร้อ โดยเป็นการแข่งขันของผู้เล่น 2 ทีม ทำการโต้ตะกร้อข้ามตาข่ายเพื่อให้ลงในแดนของคู่ต่อสู้ สามารถแบ่งแยกย่อยเป็น 2 ประเภทคือ "เรกู" หรือทีม 3 คน และ "ดับเบิ้ล เรกู" หรือก็คือ ตะกร้อคู่ (คำว่า เรกู เป็นภาษามลายู แปลว่าทีม)
 
=== สนามแข่งขัน ===
[[ไฟล์:Sepak Takraw court diagram.svg|thumb|300 px|สนามแข่งขันขนาดมาตรฐาน]]
สนามแข่งขันเซปักตะกร้อ มีรูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดประมาณ 2 เท่าของสนามแบดมินตัน
มีความยาว 13.40 เมตร กว้าง 6.1 เมตร เพดานหรือสิ่งกีดขวางอื่นใด ต้องอยู่สูงกว่าสนามไม่น้อยกว่า 8 เมตร จากพื้นสนาม (ไม่เป็นพื้นหญ้า หรือพื้นทราย) และต้องไม่มีสิ่งกีดขวางอื่นใดในระยะ 3 เมตรจากขอบสนามโดยรอบ
 
ความกว้างของเส้นขอบทั้งหมดวัดจากด้านนอกเข้ามาไม่เกิน 4 เซนติเมตร ส่วนเส้นแบ่งแดนความกว้างไม่เกิน 2 เซนติเมตร โดยลากเส้นแบ่งแดนทั้ง 2 ข้างออกตามแนวขวาง แนวเส้นทับพื้นที่ของแต่ละแดนเท่าๆกัน เส้นขอบทั้งหมดนับรวมเป็นส่วนหนึ่งของแดนสำหรับผู้เล่นแต่ละฝ่าย
 
ปลายของเส้นแบ่งแดน ใช้เป็นจุดศูนย์กลางลากเส้นโค้งครึ่งวงกลมความกว้างเส้น 4 เซนติเมตร โดยขอบในของเส้นโค้งครึ่งวงกลมมีรัศมี 90 เซนติเมตร กำหนดไว้เป็นตำแหน่งยืนของผู้เล่นหน้าซ้าย และหน้าขวา ในขณะที่ส่งลูก
 
แดนทั้งสองจะมีวงกลมซึ่งกำหนดเป็นจุดยืนสำหรับผู้ส่งลูก โดยวาดเป็นวงกลมขอบในมีรัศมี 30 เซนติเมตร ความกว้างของเส้นคือ 4 เซนติเมตร จุดศูนย์กลางอยู่ที่ระยะ 2.45 เมตรจากเส้นหลังของแต่ละแดน และอยู่กึ่งกลางตามแนวกว้างของสนาม
 
=== ตาข่าย ===
ตาข่ายจะถูกขึงกั้นแบ่งแดนทั้งสองออกจากกัน ทำจากวัสดุจำพวกเชือกหรือไนลอน ความสูงของตาข่ายบริเวณกึ่งกลาง คือ 1.52 เมตรสำหรับนักกีฬาชาย (1.42 เมตรสำหรับนักกีฬาหญิง) ส่วนความสูงบริเวณเสายึดตาข่าย คือ 1.55 เมตรสำหรับนักกีฬาชาย (1.45 เมตรสำหรับนักกีฬาหญิง) ตาข่ายมีขนาดรู 6 - 8 เซนติเมตร ผืนตาข่ายมีความกว้าง 70 เซนติเมตร และยาวไม่น้อยกว่า 6.1 เมตร
 
== ลักษณะการเล่นรูปแบบอื่น ==
[[ไฟล์:Sepak Takraw.jpg|thumb|ตะกร้อหวาย]]
การเล่นตะกร้อยังสามารถเล่นได้หลายแบบ ดังนี้
* '''การเล่นเป็นทีม''' ผู้เล่นจะล้อมเป็นวง ผู้เริ่มต้นจะใช้เท้าเตะลูกตะกร้อไปให้อีกผู้รับหนึ่ง ผู้รับจะต้องมีความว่องไวในการใช้เท้ารับและเตะส่งไปยังอีกผู้หนึ่ง จึงเรียกวิธีเล่นนี้ว่า "เตะตะกร้อ" ความสนุกอยู่ที่การหลอกล่อที่จะเตะไปยังผู้ใด ถ้าผู้เตะทั้งวงมีความสามารถเสมอกัน จะโยนและรับไม่ให้ตะกร้อถึงพื้นได้เป็นเวลานานมาก กล่าวกันว่าทั้งวันหรือทั้งคืนก็ยังมี แต่ผู้เล่นยังไม่ชำนาญก็โยนรับได้ไม่กี่ครั้ง ลูกตะกร้อก็ตกถึงพื้น
* '''การติดตะกร้อ (เล่นเดี่ยว) ''' เป็นศิลปะการเล่นตะกร้อ คือ เตะตะกร้อให้ไปติดอยู่ที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย และต้องถ่วงน้ำหนักให้อยู่นาน แล้วใช้อวัยวะส่วนนั้นส่งไปยังส่วนอื่นโดยไม่ให้ตกถึงพื้น เช่น การติดตะกร้อที่หลังมือ ข้อศอก หน้าผาก จมูก เป็นต้น ผู้เล่นต้องฝึกฝนอย่างมาก
* '''ตะกร้อติดบ่วง''' การเตะตะกร้อติดบ่วง ใช้บ่วงกลมๆแขวนไว้ให้สูงสุด แต่ผู้เล่นจะสามารถเตะให้ลอดบ่วงไปยังผู้อื่นได้ กล่าวกันว่าบ่วงที่เล่นเคยสูงสุดถึง 7 เมตร และยิ่งเข้าบ่วงจำนวนมากเท่าไรยิ่งแสดงถึงความสามารถ ถือเป็นการฝึกฝนได้ดี
 
== ท่าเตะ ==
ท่าเตะตะกร้อมีหลายท่าที่แสดงให้เห็นถึงความงดงามและความว่องไว ตามปกติจะใช้หลังเท้า แต่ผู้เล่นตะกร้อจะมีวิธีเตะที่พลิกแพลง ใช้หน้าเท้า เข่า ไขว้ขา (เรียกว่าลูกไขว้) ไขว้ขาหน้า ไขว้ขาหลัง ศอก ข้อสำคัญ คือ ความเหนียวแน่นที่ต้องรับลูกให้ได้เป็นอย่างดีเมื่อลูกมาถึงตัว ผู้เล่นมักฝึกการเตะตะกร้อด้วยท่าต่าง ๆ ลีลาในการเตะตะกร้อมี 4 แบบ คือ การเตะเหนียวแน่น (การรับให้ได้อย่างดี) การเตะแม่นคู่ (การโต้ตรงคู่) การเตะดูงามตา (ท่าเตะสวย มีสง่า) การเตะท่ามาก (เตะได้หลายท่า)
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
{{เริ่มอ้างอิง}}
* Pogadaev, Victor. “Let’s Play Volleyball… By Foot!” - “Vostochnaya Kollektsia” (Oriental Collection). M.: Russian State Library. N 3 (34), 2008, 129-134. ISSN 1681—7559
{{จบอ้างอิง}}
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Sepak Takraw|เซปักตะกร้อ}}
* [http://www.gajahmas.com/mainpage.html Gajah Emas balls and equipment]
* [http://www.takraw.or.th/th/ TAKRAW ASSOCIATION OF THAILAND]
* [http://www.bolarotan.com/ Malaysia Sepak Takraw Fan News]
 
[[หมวดหมู่:เซปักตะกร้อ]]