ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปฏิทินคงที่สากล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Applezapotis (คุย | ส่วนร่วม)
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 2:
 
== กฎเกณฑ์ ==
ในหนึ่งปีปฏิทินจะแบ่งออกเป็น 13 เดือน เดือนละ 28 วันเท่า ๆ กัน ทำให้ในแต่ละเดือนมี 4 สัปดาห์เท่ากันด้วย แต่เมื่อนำมาเทียบกับจำนวนวันในหนึ่งปีตาม[[ปฏิทินเกรโกเรียน]]แบบเดิมซึ่งมี 365 วัน จะพบว่าจำนวนวันตามปฏิทินนี้มีอยู่เพียง 13 × 28 = 364 วัน เท่านั้น คอตส์เวิร์ธจึงได้เพิ่มอีกหนึ่งวันเข้าไปท้ายปีและกำหนดให้เป็นวันหยุด (หลังวันที่ 28 ธันวาคม หรือเทียบเท่าวันที่ 31 ธันวาคมในปฏิทินเกรโกเรียน) และจะเรียกวันสุดท้ายนี้ว่า ''วันปี'' (Year Day) ในบางครั้ง ซึ่งวันสุดท้ายนี้จะไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัปดาห์ใดเลย เสมือนเป็นวันที่แยกออกมาต่างหากจากวันที่อื่น ๆ ของปี เป็นการแก้ปัญหาจำนวนวันไม่เท่ากับปฏิทินแบบเดิมในที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากในแต่ละปีจะเริ่มต้นวันที่ใหม่เหมือนกับปฏิทินเกรโกเรียนทุกประการ จึงทำให้วันที่ 1 มกราคม - 28 มกราคม ของทุกปีตรงกับปฏิทินเกรโกเรียนด้วยเช่นกัน<ref>See the table in Cotsworth, ''Rational Almanac'', p. i.</ref> นอกจากนี้คอตส์เวิร์ธยังคงชื่อและลำดับเดือนทั้งสิบสองเอาไว้เช่นเดิม แต่จะแทรกเดือนใหม่เพิ่มเข้าไประหว่างเดือนมิถุนายนและเดือนกรกฎาคม และเรียกเดือนใหม่นี้ว่า ''โซล'' (Sol) หรือ ''สุริยาพันธ์'' (สุริย + อาพันธ์) ตามหลักการเรียกชื่อเดือนในภาษาไทย ซึ่งเป็นการอ้างอิงถึง[[ดวงอาทิตย์]] เนื่องจากเดือนดังกล่าวอยู่ในช่วงกลางฤดูร้อน (ใน[[ซีกโลกเหนือ]]ซึ่งผู้ออกแบบอาศัยอยู่) และเป็นช่วงเวลาครึ่งปีที่เกิดปรากฎการณ์ปรากฏการณ์[[อายัน]] ([[ครีษมายัน]]) พอดิบพอดี<ref>Cotsworth suggested "Mid" as an alternative name. See his address in Royal Society of Canada, ''Proceedings and Transactions of the Royal Society of Canada,'' 3d series, vol. II (Ottawa: James Hope & Son, 1908), pp. 211-41 at 231.</ref>
 
ในปฏิทินคงที่สากล [[ปีอธิกสุรทิน]]จะมีจำนวนวันทั้งสิ้น 366 วัน และมีกฎเกณฑ์ตามแบบปฏิทินเกรโกเรียนทุกประการ ดังนั้นปีอธิกสุรทินจึงจะตกใน[[ปีปฏิทิน]] ([[คริสต์ศักราช]]) ที่หารด้วยสี่ลงตัว แต่ไม่ใช่ปีที่ด้วยหารหนึ่งร้อยลงตัว ยกเว้นแต่เพียงปีที่หารด้วยสี่ร้อยลงตัวเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000 ซึ่งหารด้วยสี่ร้อยลงตัว) จึงถือเป็นปีอธิกสุรทิน ในขณะที่ปี พ.ศ. 2243 (ค.ศ. 1700) พ.ศ. 2343 (ค.ศ. 1800) และ พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) ซึ่งหารด้วยสี่ร้อยไม่ลงตัว จะถือเป็น[[ปีปกติสุรทิน]] ทั้งนี้ในปฏิทินคงที่สากลจะแทรก[[อธิกวาร]]เป็นวันที่ 29 มิถุนายน หรือระหว่างวันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน และวันอาทิตย์ที่ 1 สุริยาพันธ์
บรรทัด 250:
|}
 
== ประวัติ ==
== ความเป็นมา ==
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับปฏิทินถาวร 13 เดือน ถือกำเนิดขึ้นมาอย่างช้าที่สุดก็ช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งแต่ละแนวคิดมีรูปแบบต่างกันหลัก ๆ ตรงที่ชื่อของเดือนและการจัดตำแหน่งอธิกวารในปีอธิกสุรทิน