ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แม่ย่านาง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Athikhun.suw (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ZeroSixTwo (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''ประเพณีไหว้แม่ย่านางเรือ''' เป็นความเชื่อของชาวประมงทั่วไป โดยส่วนใหญ่แล้ว[[ชาวประมง]]เชื่อว่า เรือประมงทุกลำมีแม่ย่านางเรือประทับอยู่ เมื่อชาวประมงจะออกเรือเพื่อจับปลาทุกครั้งจะทำการเซ่นไหว้แม่ย่านางเรือ เพื่อให้มีสวัสดิมงคลต่อการประกอบอาชีพ และเพื่อให้แม่ย่านางเรือปกป้องคุ้มครองมิให้เกิดอันตราย (การนับน้ำจะเริ่มนับตั้งแต่ แรม ๓ ค่ำ-ขึ้น ๑๑ ค่ำ เรียกว่า ๑ น้ำ)
 
ที่สมุทรสาคร อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบพิธีไหว้แม่ย่านางเรือ ได้แก่ ขนม[[จันอับ]] เป็ด ปลาหมึกแห้ง เนื้อหมูสามชั้น ข้าว ผลไม้ ๓ อย่าง ผ้าสามสี กระดาษเงิน กระดาษทอง ธูป ๑ กำ ดอกไม้ ๑ กำ น้ำ ๑ ขัน กิ่งทับทิม ๑ กำ<ref>สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง เล่ม ๑๕ ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ หน้า ๗๒๗๗</ref>
 
ในการประกอบพิธีเจ้าของเรือจะนำขนมอันจับ เป็ด ปลาหมึกแห้ง เนื้อหมูสามชั้น ข้าว ผลไม้ ผ้าสามสี กระดาษเงิน กระดาษทอง ดอกไม้ น้ำ กิ่งทับทิม ใส่ในถาด นำถาดไปวางที่โขนเรือ แล้วจุดธูป เพื่อกล่าวคำอัญเชิญแม่ย่านางเรือมารับเครื่องเซ่นไหว้ รวมไปถึงขอพรให้คุ้มครองปกปักรักษาจากอันตรายและให้ประสบความเป็นสวัสดิมงคงในการประกอบอาชีพ จากนั้นจึงนำผ้าสามสี ดอกไม้ ธูป ไปผูกที่โขนเรือ เผากระดาษเงิน กระดาษทอง จุดประทัด ประพรมน้ำจากขันด้วยกิ่งทับทิมจนทั่วลำเรือ ต่อจากนั้นจึงเริ่มออกเรือ
 
ชาวประมงเชื่อว่าโขนเรือเป็นที่ประทับของแม่ย่านางเรือ ดังนั้น โขนเรือจึงนับว่าเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของเรือ และเป็นเสาเอกของเรือ จึงให้ความเคารพกราบไหว้และห้ามมิให้ผู้ใดเตะ เหยียบ นั่ง ยืน ข้าม หรือกระทำการใดๆใด ๆ อันเป็นที่ลบหลู่ต่อโขนเรือ ด้วยความเชื่อที่ว่าหากมีผุ้ผู้ลบหลู่โขนเรือแล้วจะนำความเดือดร้อนและความอับโชคมาสู่เจ้าของเรือและลูกเรือ
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
[[หมวดหมู่:ประเพณีไทย]]
[[หมวดหมู่:ความเชื่อไทย]]
[[หมวดหมู่:การประมง]]