ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mendang (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนกลับไปยังรุ่นของ Chainwit. เพราะเพิ่มข้อมูลโดยขาดอ้างอิง
บรรทัด 90:
== เหตุการณ์ทุบทำลาย ==
[[ไฟล์:Place_PhnomrungDestruction.jpg|thumb|250px|นายธานี สามารถกิจ ผู้ว่าฯ บุรีรัมย์ และเจ้าหน้าที่ เข้าตรวจสอบความเสียหาย]]
คืนวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เกิดเหตุคนร้ายไม่ทราบจำนวนเข้าทุบทำลาย รูปปั้นทวารบาลและสัตว์พาหนะ รวมถึงมีการเคลื่อนย้ายศิวลึงค์ โดยลักษณะเป็นการทำลายแขนเทวรูปก่อน แล้วจึงนำแขนเทวรูปไปทุบกับใบหน้าสัตว์พาหนะอื่นๆ โดย เทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการประวัติศาสตร์อิสระกล่าวว่า การใช้ข้อมือของของทวารบาลเป็นตัวทำลาย นั้นเพราะน่าจะเป็นวัสดุแข็งที่พอจะทำลายสิงห์ ทำลายนาค หรือ[[โคนนทิ]]ได้ คงไม่ใช่เรื่องของรายละเอียดที่จะต้องเน้นว่าเอามือทวารบาลไปทุบ<ref>[http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9510000059276 ‘พนมรุ้ง’ หลังประตูบานที่15...บูชาหรือทำลาย] ผู้จัดการรายวัน - 22 พฤษภาคม 2551 08:12 น.</ref>
 
แต่นักวิชาการบางท่านเชื่อว่าการบุกทุบทำลายนี้ เป็นการวางแผนทางไสยศาสตร์ โดยเชื่อว่าทวารบาลนั้นมีหน้าที่และอาวุธที่คอยปกป้องประเทศ การหักมือทวารบาลนั้นจะทำให้เมืองนั้นไม่มีอำนาจในการปกป้องประเทศ จึงหักมือทวารบาลแล้วเอามือทวารบาลไปทุบส่วนต่างๆของปราสาท เพื่อต้องการให้คนในชาติแตกกัน
 
ดุสิต ทุมมากรณ์ หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ระบุว่า เทวรูปที่ถูกทำลายเสียหายมีของจริงเพียงเศียรนาค 4 เศียร จาก 11 เศียร นอกนั้นเป็นเทวรูปที่จำลองขึ้นแต่มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี โดยวันที่ 26 พฤษภาคม นายช่างศิลปกรรม อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ได้เริ่มบูรณะซ่อมแซมโดยเริ่มจาก ซ่อมหัวสิงห์ 2 ตัว ที่ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกของปราสาทก่อน โดยวัสดุที่ใช้ในการซ่อมแซมคือ เหล็กไร้สนิม ที่ใช้เป็นแกนยึด ส่วนวัสดุประกอบคือ [[ยางพารา]] [[หินทรายเทียม]] [[สีฝุ่น]] [[ขุยมะพร้าว]] [[ปูนปลาสเตอร์]] และเชื่อมประสานด้วย[[อิพ็อกซี]] โดย[[กรมศิลปากร]]ระบุว่าจะใช้เวลา 1 เดือนในการบูรณปฏิสังขรณ์<ref>[http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9510000061097 เริ่มบูรณะแล้ว เทวรูป “พนมรุ้ง” -ส่วนคดีไม่คืบคนชั่วยังลอยนวล] ผู้จัดการออนไลน์ - 26 พฤษภาคม 2551 15:59 น </ref>
เส้น 99 ⟶ 97:
ในการเดินทางไปที่อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งโดยใช้รถยนต์ส่วนบุคคล สามารเลือกเดินทางได้ 2 เส้นทางออกจากตัวจังหวัดบุรีรัมย์ ดังนี้
* เดินทางโดยใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 218 (บุรีรัมย์-นางรอง) เป็นระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร จากนั้นให้เลี้ยวซ้ายไปตาม[[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24]] (สีคิ้ว-อุบลราชธานี) ไปจนถึงหมู่บ้านตะโก ประมาณ 14 กิโลเมตร แล้วจึงเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2117 ผ่านบ้านตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติอีกประมาณ 12 กิโลเมตร ก็จะถึงอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
* เดินทางโดยใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 219 (บุรีรัมย์-ประโคนชัย) เป็นระยะทางประมาณ 44 กิโลเมตร ถึงตัวอำเภอประโคนชัย จะเห็นทางแยกที่จะไปอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ซึ่งใช้เวลาเดินทางอีกประมาณ 21 กิโลเมตร โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 2075 และเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2117 ก็จะถึงอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
 
ถ้าเดินทางโดยใช้บริการรถโดยสารจากขนส่งบุรีรัมย์ ก็ให้ขึ้นรถโดยสารสายบุรีรัมย์-จันทบุรี พอถึงที่หมู่บ้านตะโก แล้วจึงลงจากรถ จากนั้นจะมีรถสองแถววิ่งไปอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง หรือไม่ก็นั่งวินมอเตอร์ไซค์รับจ้างก็ได้