ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
XXIVRR (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขผิดปกติในบทความคัดสรร/คุณภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
XXIVRR (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขผิดปกติในบทความคัดสรร/คุณภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
== มุมมองจากสาธารณชน ==
เนื่องจากพระองค์พระราชทานสัมภาษณ์น้อยครั้งทำให้สาธารณชนทราบถึงพระราชอัธยาสัยส่วนพระองค์ได้น้อยมาก และในฐานะที่เป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ทำให้ไม่สามารถแสดงทัศนะทางการเมืองส่วนพระองค์ในที่สาธารณะได้ ทรงมีพันธกิจด้านศาสนาและสังคมที่หยั่งรากลึกในพระราชหฤทัย อีกทั้งยังทรงกล่าวพระราชดำรัสสาบานพระองค์ในวันขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติอย่างจริงจัง<ref>{{cite news|url=http://news.bbc.co.uk/1/hi/uk/4921120.stm|title=Queen 'will do her job for life'|publisher=BBC|date=19 April 2006|accessdate=4 February 2007}}<br />Shawcross, pp. 194–195</ref> นอกเหนือจากการที่เป็นประมุขสูงสุดแห่ง[[คริสตจักรแห่งอังกฤษ]]อย่างเป็นทางการแล้ว พระองค์ยังทรงเลื่อมใสในคริสตจักรแห่งอังกฤษและ[[คริสตจักรแห่งสกอตแลนด์]]เป็นการส่วนพระองค์อีกด้วย<ref>{{cite web|url=http://www.churchofscotland.org.uk/about_us/how_we_are_organised|title=How we are organised|publisher=Church of Scotland|accessdate=4 August 2011}}</ref> และยังทรงแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ทรงมีต่อศาสนาอื่น ๆ ด้วยการพบปะกับผู้นำนิกายและศาสนาต่าง ๆ เช่น การที่ทรงพบปะกับ[[พระสันตะปาปา]]ถึงสามพระองค์ ได้แก่ [[สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 23]], [[สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2]] และ[[สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16]] ความศรัทธาเลื่อมใสในศาสนาของพระองค์ปรากฏให้เห็นบ่อยครั้งในพระราชดำรัสผ่านทางโทรทัศน์เนื่องในวันคริสต์มาสต์ซึ่งถ่ายทอดไปยังประเทศเครือจักรภพเป็นประจำทุกปี เช่นในปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) ที่มีพระราชดำรัสถึงความสำคัญของคริสต์สหัสวรรษที่ 2 อันเป็นปีที่[[การประสูติของพระเยซู]]ครบรอบ 2000 ปี ดังนี้
 
{{quote|สำหรับพวกเราหลายคน ความเชื่อเป็นหนึ่งในความสำคัญขั้นพื้นฐาน สำหรับข้าพเจ้าแล้ว การสั่งสอนของพระเยซูคริสต์และความรับผิดชอบส่วนตัวของข้าพเจ้าที่มีต่อพระเจ้า ได้นำมาซึ่งแนวทางที่ข้าพเจ้าพยายามจะใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ข้าพเจ้า เฉกเช่นเดียวกับพวกท่านทั้งหลาย ได้รับความสุขสบายในช่วงเวลาที่ยากลำบากจากคำสั่งสอนและตัวอย่างของพระเยซูคริสต์<ref>{{cite web|url=http://www.royal.gov.uk/ImagesandBroadcasts/TheQueensChristmasBroadcasts/ChristmasBroadcasts/ChristmasBroadcast2000.aspx|title=Historic speeches: Christmas Broadcast 2000|author=Elizabeth II|year=2000|publisher=Royal Household|accessdate=28 July 2009}}<br />Shawcross, pp. 236–237</ref>}}
[[ไฟล์:President Reagan and Queen Elizabeth II 1982.jpg|thumb|250px|left|alt=Elizabeth and Ronald Reagan on black horses. He bare-headed; she in a headscarf; both in tweeds, jodhpurs and riding boots.|สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ขณะทรงม้าพร้อมกับประธานาธิบดี[[โรนัลด์ เรแกน]] ณ วินด์เซอร์ พ.ศ. 2525]]
 
พระองค์ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์องค์กรและมูลนิธิต่างๆ มากกว่า 600 แห่ง<ref>{{cite web|url=http://www.royal.gov.uk/HMTheQueen/QueenCharities/Overview.aspx|title=Queen and Charities|publisher=Royal Household|accessdate=29 June 2010}}</ref> ส่วนการพักผ่อนที่ทรงสนพระราชหฤทัยโดยหลัก ๆ ได้แก่ การขี่ม้าและสุนัขทรงเลี้ยง โดยเฉพาะสุนัขพันธุ์เพ็มโบรคเวลช์คอร์กี<ref>{{cite web|title=80 facts about The Queen|publisher=Royal Household|url=http://www.royal.gov.uk/LatestNewsandDiary/Factfiles/80factsaboutTheQueen.aspx|accessdate=20 June 2010}}</ref> ความสนพระราชหฤทัยในสุนัขพันธุ์คอร์กีนี้เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2476 กับสุนัขทรงเลี้ยงที่ชื่อ "ดูกี" ซึ่งเป็นสุนัขพันธุ์คอร์กีตัวแรกที่พระราชวงศ์ของพระองค์ทรงเลี้ยงไว้<ref>{{cite book|last=Bush|first=Karen|title=Everything Dogs Expect You To Know|location=London |url=http://books.google.com/books?id=Zahiw9f9V5YC&pg=PA115|accessdate=18 September 2012|date=26 October 2007|publisher=New Holland Publishers|isbn=978-1-84537-954-4|page=115}}</ref><ref>{{cite web|url=http://www.telegraph.co.uk/news/uknews/1564705/Hug-for-Queen-Elizabeths-first-corgi.html|title=Hug for Queen Elizabeth's first corgi|work=The Telegraph|date=1 October 2007|accessdate=21 September 2012}}</ref> นอกจากนี้ ภาพพระราชอิริยาบถส่วนพระองค์ยามพักผ่อนและชีวิตประจำวันส่วนพระองค์ก็มีปรากฏให้เห็นอยู่เป็นครั้งคราว เช่น การที่สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่น ๆ ทรงตระเตรียมพระกระยาหารด้วยกันและทรงล้างจานด้วยกันหลังเสวยพระกระยาหารเสร็จสิ้น<ref>{{citation| url=http://www.thestar.com/news/canada/article/1193874--when-the-queen-is-your-boss| last=Delacourt| first=Susan| title=When the Queen is your boss| date=25 May 2012| newspaper=Toronto Star| accessdate=27 May 2012}}</ref>
 
ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1950 ที่เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเมื่อยังทรงพระเยาว์ ทรงได้รับการกล่าวขานราวกับเป็น "ราชินีในเทพนิยาย"<ref>Bond, p. 22</ref> ภายหลังความชอกช้ำจากสงครามโลก อังกฤษก็เข้าสู่ยุคแห่งความหวัง เป็นช่วงสมัยของการพัฒนาและความสำเร็จที่ได้รับการขนานนามว่า "สมัยเอลิซาเบธใหม่"<ref>Bond, p. 35; Pimlott, p. 180; Roberts, p. 82; Shawcross, p. 50</ref> ลอร์ดอัลตรินแชมกล่าวหาพระราชดำรัสของพระองค์ในปี พ.ศ. 2500 ว่าฟังเหมือนกับเสียงของ "เด็กนักเรียนหญิงผู้โอ้อวด" ซึ่งเป็นคำวิจารณ์ที่พบได้น้อยครั้งมาก<ref>Bond, p. 35; Pimlott, p. 280; Shawcross, p. 76</ref> ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1960 มีความพยายามมากขึ้นในการสร้างภาพราชวงศ์ยุคใหม่ในสารคดีโทรทัศน์เรื่อง "รอยัลแฟมิลี" ซึ่งอำพรางเจ้าชายชาลส์ด้วยพระนาม "เจ้าชายแห่งเวลส์"<ref>Bond, pp. 66–67, 84, 87–89; Bradford, pp. 160–163; Hardman, pp. 22, 210–213; Lacey, pp. 222–226; Marr, p. 237; Pimlott, pp. 378–392; Roberts, pp. 84–86</ref> พระราชินีนาถเอลิซาเบธทรงฉลองพระองค์ในที่สาธารณะด้วยฉลองพระองค์ที่ส่วนใหญ่เป็นสีเดียวพร้อมด้วยพระมาลา (หมวก) ประดับลูกไม้ ทำให้ประชาชนสามารถสังเกตเห็นพระองค์ได้โดยง่าย<ref>{{cite web|first=Jess|last=Cartner-Morley|url=http://www.guardian.co.uk/g2/story/0,,2076067,00.html|title=Elizabeth II, belated follower of fashion|date=10 May 2007|accessdate=5 September 2011|work=The Guardian}}</ref>
 
ในพระราชพิธีรัชดาภิเษก พ.ศ. 2520 ฝูงชนและการเฉลิมฉลองนับว่ามีชีวิตชีวาอย่างแท้จริง<ref>Bond, p. 97; Bradford, p. 189; Pimlott, pp. 449–450; Roberts, p. 87; Shawcross, pp. 114–117</ref> แต่ถัดมาในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1980 เสียงวิพากษ์วิจารณ์พระราชวงศ์เพิ่มมากขึ้นจากการที่ชีวิตส่วนพระองค์และชีวิตการทรงงานของบรรดาพระราชโอรส-พระราชธิดาอยู่ภายใต้การพินิจพิเคราะห์ของสื่อ<ref>Bond, p. 117; Roberts, p. 91</ref> ความนิยมของประชาชนต่อสมเด็จพระราชินีนาถตกต่ำถึงขีดสุดในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1990 และด้วยแรงกดดันจากความคิดเห็นของสาธารณชน พระองค์จึงทรงเริ่มชำระภาษีเงินได้เป็นครั้งแรก อีกทั้งยังเป็นครั้งแรกที่พระราชวังบักกิงแฮมเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าเยี่ยมชม<ref>Bond, p. 134; Pimlott, pp. 556–561, 570</ref> ความไม่พอใจต่อระบอบกษัตริย์ดำเนินมาถึงจุดสูงสุดเมื่อ[[ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์]][[การสิ้นพระชนม์ของไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์|สิ้นพระชนม์]] แม้กระนั้นก็ตาม ความนิยมในสมเด็จพระราชินีนาถและแรงสนับสนุนในระบอบกษัตริย์ก็ฟื้นคืนกลับมาหลังพระองค์มีพระราชดำรัสถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ไปทั่วโลกหลังจากการสิ้นพระชนม์ของเจ้าหญิงแห่งเวลส์ 5 วัน<ref>Bond, p. 134; Pimlott, pp. 624–625</ref>
 
ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2542 มี[[การลงประชามติว่าด้วยสาธารณรัฐออสเตรเลีย พ.ศ. 2542|การลงประชามติในออสเตรเลีย]]ว่าด้วยอนาคตของ[[ราชาธิปไตยของออสเตรเลีย|สถาบันพระมหากษัตริย์ออสเตรเลีย]] ผลที่ออกมาได้บ่งบอกถึงความต้องการที่จะรักษาไว้ซึ่งประมุขของประเทศที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรง<ref>Hardman, p. 310; Lacey, p. 387; Roberts, p. 101; Shawcross, p. 218</ref> จากการสำรวจความคิดเห็นในสหราชอาณาจักรในปี พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2550 พบว่ายังคงมีแรงสนับสนุนในสมเด็จพระราชินีนาถอยู่มาก<ref>{{cite web|url=http://www.ipsos-mori.com/researchpublications/researcharchive/poll.aspx?oItemId=378|title=Monarchy poll|date=April 2006|publisher=Ipsos MORI|accessdate=24 July 2009}}<br />{{cite web|url=http://populuslimited.com/uploads/download_pdf-160108-The-Discovery-Channel-Monarchy-Survey.pdf|format=PDF|title=Monarchy Survey|publisher=Populus Ltd|page=9|date=14–16 December 2007|accessdate=17 August 2010}}<br />{{cite news|url=http://news.bbc.co.uk/1/hi/uk/7162649.stm|title=Poll respondents back UK monarchy|publisher=BBC|date=28 December 2007|accessdate=17 August 2010}}</ref> ส่วนผล[[การลงประชามติว่าด้วยรัฐธรรมนูญตูวาลู พ.ศ. 2551|การลงประชามติในตูวาลู พ.ศ. 2551]] และ[[การลงประชามติว่าด้วยรัฐธรรมนูญเซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ พ.ศ. 2552|การลงประชามติในเซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ พ.ศ. 2552]] ยืนยันถึงความต้องการของทั้งสองประเทศที่ปฏิเสธการเปลี่ยนระบอบการปกครองไปเป็นสาธารณรัฐ<ref>{{cite web|url=http://www.bbc.co.uk/caribbean/news/story/2009/11/091126_nib.shtml|title=Vincies vote "No"|publisher=BBC|date=26 November 2009|accessdate=26 November 2009}}</ref>
 
=== การเงิน ===
[[ไฟล์:Sandringham House garden.jpg|thumb|right|[[พระตำหนักซานดริงแฮม]] ที่ประทับส่วนพระองค์ของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ใน[[ซานดริงแฮม, นอร์ฟอร์ก]]]]
การติดตามพระราชทรัพย์ส่วพระองค์ของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ดำเนินมาหลายปี [[นิตยสารฟอร์บ]]ประเมินพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในปี พ.ศ. 2553 ว่ามีมูลค่าสุทธิราว 450 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ<ref>{{cite web|url=http://www.forbes.com/2010/07/07/richest-royals-wealth-monarch-wedding-divorce-billionaire.html|title=The World's Richest Royals|work=Forbes|author=Serafin, Tatiana|date=7 July 2010|accessdate=13 January 2011|archiveurl=http://archive.is/ZHPX|archivedate=28 June 2012}}</ref> แต่แถลงการณ์สำนักพระราชวังบักกิงแฮมในปี พ.ศ. 2536 กล่าวว่าการประเมินพระราชทรัพย์ไว้ที่ 100 ล้านปอนด์นั้นเป็น "การกล่าวเกินจริงอย่างมากมาย"<ref>[[Lord Chamberlain]] [[David Ogilvy, 13th Earl of Airlie|Lord Airlie]] quoted in Hoey, p. 225 and Pimlott, p. 561</ref> จ็อค โคลวิลล์ อดีตราชเลขาธิการส่วนพระองค์และอดีตผู้อำนวยการธนาคารส่วนพระองค์ ''คุตส์'' (Coutts) ประเมินทรัพย์สินส่วนพระองค๋ในปี พ.ศ. 2514 ไว้ที่ 2 ล้านปอนด์ (เทียบเท่าประมาณ 21 ล้านปอนด์ในปัจจุบัน)<ref>{{Cite journal|title=£2m estimate of the Queen's wealth 'more likely to be accurate'|journal=The Times|date=11 June 1971|page=1}}</ref><ref>Pimlott, p. 401</ref> องค์สมเด็จพระราชินีนาถไม่ได้ทรงครอบครอง[[งานสะสมศิลปะหลวงของพระราชวงศ์อังกฤษ|งานสะสมศิลปะหลวง]] (ซึ่งรวมถึงงานศิลปะและ[[เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักร|เครื่องราชกกุธภัณฑ์]]) แต่มีการถือครองตาม[[กฎหมายทรัสต์]]<ref>{{cite web|url=http://www.royalcollection.org.uk/about/frequently-asked-questions|title=FAQs|publisher=Royal Collection|accessdate=29 March 2012}}<br />{{cite web|url=http://www.royal.gov.uk/The%20Royal%20Collection%20and%20other%20collections/TheRoyalCollection/TheRoyalCollection.aspx|title=Royal Collection|publisher=Royal Household|accessdate=9 December 2009}}</ref> ด้านอสังหาริมทรัพย์ที่ประทับอย่าง[[พระราชวังบักกิงแฮม]], [[พระราชวังวินด์เซอร์]]<ref name=res>{{cite web|url=http://www.royal.gov.uk/TheRoyalResidences/Overview.aspx|title=The Royal Residences: Overview|publisher=Royal Household|accessdate=9 December 2009}}</ref> และ[[ดัชชีแลงแคสเตอร์]] มีมูลค่าในปี พ.ศ. 2554 ที่ 383 ล้านปอนด์<ref>{{cite web|url=http://www.duchyoflancaster.com/management-and-finance-2/accounts-annual-reports-and-investments/|title=Accounts, Annual Reports and Investments|publisher=Duchy of Lancaster|date=18 July 2011|accessdate=18 August 2011}}</ref> ส่วนพระตำหนักซานดริงแฮมและ[[ปราสาทแบลมอรัล]]องค์สมเด็จพระราชินีนาถทรงถือครองเป็นการส่วนพระองค์<ref name=res/> พระราชทรัพย์ของ[[พระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร]] (The British Crown Estate) ซึ่งมีมูลค่าในปี พ.ศ. 2554 รวมกันทั้งสิ้น 7.3 พันล้านปอนด์<ref>{{cite web|url=http://www.thecrownestate.co.uk/about-us/financial-information/ |title=Financial Information |publisher=The Crown Estate|date=6 July 2011|accessdate=1 September 2011}}</ref> ได้รับการถือครองไว้ในกฎหมายทรัสต์ไว้เป็นสมบัติของชาติ สมเด็จพระราชินีนาถทรงไม่สามารถจำหน่ายพระราชทรัพย์เหล่านี้ได้เป็นการส่วนพระองค์<ref>{{cite web|url=http://www.thecrownestate.co.uk/about-us/faqs/|title=FAQs|publisher=Crown Estate|accessdate=1 September 2011}}</ref>
 
== พระราชอิสริยยศและตราอาร์ม ==