ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
XXIVRR (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
XXIVRR (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขผิดปกติในบทความคัดสรร/คุณภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
== ครองราชย์ ==
=== พระราชินีนาถกับเครือจักรภพ===
{{Wikisource|Queen Elizabeth II's Address to the United Nations General Assembly}}
สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทอดพระเนตรเห็นการเปลี่ยนแปลงของ[[จักรวรรดิอังกฤษ]]ไปสู่[[เครือจักรภพแห่งประชาชาติ]]ตลอดช่วงพระชนม์ชีพของพระองค์<ref>Marr, p. 272</ref> ตั้งแต่การเสด็จขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2495 ตำแหน่งพระประมุขของรัฐอธิปไตยหลากหลายรัฐก็สถาปนาขึ้นไว้แล้ว<ref>Pimlott, p. 182</ref> ซึ่งตลอดช่วงปี พ.ศ. 2496 - 2497 พระองค์และพระราชสวามีได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่าง ๆ รอบโลกเป็นเวลาหกเดือน และยังเป็นครั้งแรกที่[[ราชาธิปไตยของออสเตรเลีย|พระมหากษัตริย์แห่งออสเตรเลีย]]และ[[ราชาธิปไตยของนิวซีแลนด์|พระมหากษัตริย์แห่งนิวซีแลนด์]]เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศของพระองค์ขณะทรงครองราชย์อยู่<ref>{{cite web|url=http://www.royal.gov.uk/MonarchAndCommonwealth/Australia/Royalvisits.aspx|title=Queen and Australia: Royal visits|publisher=Royal Household|accessdate=8 December 2009}}<br />{{cite web|url=http://www.royal.gov.uk/MonarchAndCommonwealth/NewZealand/Royalvisits.aspx|title=Queen and New Zealand: Royal visits|publisher=Royal Household|accessdate=8 December 2009}}<br />Marr, p. 126</ref> ประมาณกันว่าสามในสี่ของประชาชนชาวออสเตรเลียได้พบเห็นสมเด็จพระราชินีนาถของตนระหว่างช่วงการเสด็จพระราชดำเนินเยือน<ref>Brandreth, p. 278; Marr, p. 126; Pimlott, p. 224; Shawcross, p. 59</ref> เสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศทั้งที่ใช่และไม่ใช่ประเทศเครือจักรภพมากมายตลอดช่วงรัชสมัยของพระองค์ และเป็นพระประมุขแห่งรัฐที่เสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศมากที่สุดในประวัติศาสตร์<ref>{{cite web|author=Challands, Sarah|title=Queen Elizabeth II celebrates her 80th birthday|date=25 April 2006|publisher=CTV News|url=http://www.ctv.ca/servlet/ArticleNews/story/CTVNews/20060418/queen_liz_birthday_060418|accessdate=13 June 2007|archiveurl=http://archive.is/wvpS|archivedate=30 May 2012}}</ref>
 
ในปี พ.ศ. 2499 [[นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส]] กี มอแล และ[[นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร|นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร]] เซอร์ [[แอนโทนี อีเดน]] ร่วมหารือถึงความเป็นไปได้ที่ฝรั่งเศสจะเข้าร่วมเป็นประเทศสมาชิกเครือจักรภพ แนวคิดดังกล่าวได้รับการปฏิเสธและในปีถัดมาฝรั่งเศสก็ร่วมลงนามใน[[สนธิสัญญาโรม]]จัดตั้ง[[ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป]] ซึ่งจะนำไปสู่การก่อตั้ง[[สหภาพยุโรป]]ในภายหลัง<ref>{{cite news|url= http://news.bbc.co.uk/1/hi/uk/6261885.stm|title=When Britain and France nearly married|publisher=BBC|date=15 January 2007|accessdate=14 December 2009|first=Mike|last=Thomson}}</ref> ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2499 สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสเข้ารุกราน[[อียิปต์]]ใน[[วิกฤตการณ์คลองสุเอซ|ความพยายามทางการทหารที่ล้มเหลว]]ในการยึด[[คลองสุเอซ]] ลอร์ดเมาท์แบตเตนกล่าวว่าพระราชินีนาถทรงต่อต้านการรุกรานครั้งนั้น ซึ่งเซอร์ แอนโทนีปฏิเสธคำพูดดังกล่าวและลาออกในอีกสองเดือนถัดมา<ref>Pimlott, p. 255; Roberts, p. 84</ref>
 
กลไกในการเลือกผู้นำคนใหม่ของ[[พรรคอนุรักษนิยม (สหราชอาณาจักร)|พรรคอนุรักษนิยม]]ที่หยุดชะงักลง หมายความว่าหลังการลาออกของเซอร์ แอนโทนี เป็นพระราชภาระของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ที่จะต้องทรงเลือกว่าใครควรที่จะเป็นผู้นำในการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ เซอร์ แอนโทนีได้ถวายคำแนะนำแด่พระองค์ให้ทรงปรึกษากับลอร์ดซอลส์บรี ประธานสภาองคมนตรี ลอร์ดซอลส์บรีและลอร์ดคิลเมียร์ (ขณะนั้นดำรงรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม) ก็ได้ไปปรึกษากับคณะรัฐมนตรี [[วินสตัน เชอร์ชิลล์]] และคณะกรรมธิการ 1922 (1922 Committee) จนในที่สุดก็ได้จึงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้[[เฮโรลด์ แมคมิลแลน]] ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามที่ได้รับการถวายคำแนะนำมา<ref>Marr, pp. 175–176; Pimlott, pp. 256–260; Roberts, p. 84</ref>
 
[[วิกฤตการณ์คลองสุเอซ]]และการเลือกผู้สืบทอดตำแหน่งของเซอร์ แอนโทนีนำมาซึ่งเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในตัวพระราชินีนาถครั้งใหญ่ครั้งแรก ลอร์ดอัลตรินแชมกล่าวหาว่าพระองค์ทรง "กู่ไม่กลับ"<ref>Lord Altrincham in ''[[National Review (London)|National Review]]'' quoted by Brandreth, p. 374 and Roberts, p. 83</ref> ในนิตยสารที่เขาเป็นเจ้าของและเป็นบรรณาธิการเอง<ref>Lacey, p. 199; Shawcross, p. 75</ref> ต่อมาเขาจึงถูกประณามโดยบุคคลที่มีชื่อเสียงและถูกทำร้ายร่างกายโดยสาธารณชนผู้ตกตะลึงกับคำกล่าวของเขา<ref>Brandreth, p. 374; Pimlott, pp. 280–281; Shawcross, p. 76</ref> หกปีถัดมาในปี พ.ศ. 2506 เฮโรลด์ แมคมิลแลน ลาออกและถวายการแนะนำให้ทรงเลือกเซอร์ อเลค ดักลาส-ฮูม ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนถัดไป ซึ่งพระองค์ก็ทรงทำตามคำแนะนำ<ref name=r84>Hardman, p. 22; Pimlott, pp. 324–335; Roberts, p. 84</ref> ทำให้พระองค์ถูกวิจารณ์อีกครั้งว่าทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามคำแนะนำของรัฐมนตรีเพียงไม่กี่คนหรือเพียงคนเดียวเท่านั้น<ref name=r84/> ในปี พ.ศ. 2508 พรรคอนุรักษนิยมจึงกลับมาใช้กลไกลเลือกตั้งผู้นำพรรคอย่างเป็นทางการ จึงช่วยลดพระราชภาระอันข้องเกี่ยวกับทางการเมืองของพระราชินีนาถลง<ref>Roberts, p. 84</ref>
 
[[ไฟล์:Queen Elizabeth II and the Prime Ministers of the Commonwealth Nations, at Windsor Castle (1960 Commonwealth Prime Minister's Conference).jpg|thumb|left|230px|alt=A formal group of Elizabeth in tiara and evening dress with eleven prime ministers in evening dress or national costume.|สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 พร้อมด้วยนายกรัฐมนตรีและคณะแห่งประเทศเครือจักรภพ ณ การประชุมนายกรัฐมนตรีประเทศเครือจักรภพที่[[พระราชวังวินด์เซอร์]] พ.ศ. 2503]]
[[ไฟล์:Richard and Pat Nixon with Queen Elizabeth II.jpg|230px|thumb|left|alt=|สมเด็จพระราชินีนาถพร้อมด้วยนายกรัฐมนตรี[[เอ็ดวาร์ด ฮีธ]] (ซ้าย), ประธานาธิบดี[[ริชาร์ด นิกสัน]]แห่งสหรัฐอเมริกา และ[[สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งแห่งสหรัฐอเมริกา|สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง]] [[แพต นิกสัน]] พ.ศ. 2513]]
ในปี พ.ศ. 2500 พระองค์เสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการ ที่ซึ่งทรงกล่าวสุนทรพจน์ต่อ[[สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ]]ในนามของเครือจักรภพแห่งชาติ ในครั้งนั้นยังได้เสด็จฯ ไปเปิดการประชุมรัฐสภาแคนาดาสมัยที่ 23 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่[[ราชาธิปไตยของแคนาดา|พระมหากษัตริย์แห่งแคนาดา]]เสด็จพระราชดำเนินมาเปิดการประชุมของรัฐสภา<ref name=Canada>{{cite web|url=http://www.royal.gov.uk/MonarchAndCommonwealth/Canada/Royalvisits.aspx|title=Queen and Canada: Royal visits|publisher=Royal Household|accessdate=12 February 2012}}</ref> สองปีถัดมา เสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกาและแคนาดาผู้เดียวในฐานะสมเด็จพระราชินีนาถแห่งแคนาดาอีกครั้ง<ref name=Canada/><ref>Bradford, p. 114</ref> ที่ซึ่งทรงทราบจากการลงจอดของเครื่องบินที่ประทับ ณ สนามบินเซนต์จอห์นนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์ว่าทรงพระครรภ์รัชทายาทองค์ที่สามอยู่<ref>{{Citation| last=Bousfield| first=Arthur| coauthors=Toffoli, Gary| title=Fifty Years the Queen| publisher=Dundurn Press| year=2002| location=Toronto| page=107| url=http://books.google.ca/books?id=w8l5reK7NjoC&printsec=frontcover&source=gbs_v2_summary_r&cad=0#v=onepage&q=&f=false| isbn=1-55002-360-8}}</ref> ในปี พ.ศ. 2504 เสด็จพระราชดำเนินเยือนไซปรัส, อินเดีย, ปากีสถาน, เนปาล และอิหร่าน<ref>Pimlott, p. 303; Shawcross, p. 83</ref> ในช่วงการเสด็จพระราชดำเนินเยือน[[กานา]]ในปีเดียวกัน ทรงเพิกเฉยต่อความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของพระองค์ หลังจากที่ผู้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จฯ ก็คือประธานาธิบดี[[กวาเม อึนกรูมา]] ตกเป็นเป้าลอบสังหาร ซึ่งเขาเป็นผู้ที่เปลี่ยนประมุขแห่งรัฐของกานาจากพระราชินีนาถมาเป็นตัวเขาเอง<ref name=mac/> เฮโรลด์ แมคมิลแลน เขียนไว้ว่า "สมเด็จพระราชินีนาถทรงพิจารณาอย่างถี่ถ้วน&nbsp;... ทรงอดทนต่อทัศนคติที่มีต่อพระองค์ ที่ปฏิบัติต่อพระองค์ราวกับว่าเป็น&nbsp;... ดาราภาพยนตร์&nbsp;... ซึ่งแท้ที่จริงแล้วพระองค์ประดุจเป็นดังชายชาติบุรุษ&nbsp;... ทรงรักในพระราชกรณียกิจของพระองค์และทรงเจตนาที่จะเป็นพระราชินีนาถอย่างแน่วแน่"<ref name=mac>Macmillan, pp. 466–472</ref> ต่อมาก่อนการเสด็จฯ เยือน[[รัฐควิเบก|ควิเบก]]ในปี พ.ศ. 2507 สื่อรายงานข่าวว่าขบวนการแบ่งแยกควิเบกหัวรุนแรงวางแผนลอบปลงพระชนม์สมเด็จพระราชินีนาถ<ref>{{Citation| last=Speaight| first=Robert| title=Vanier, Soldier, Diplomat, Governor General: A Biography| publisher=William Collins, Sons and Co. Ltd.| year=1970| location=London| isbn=978-0-00-262252-3}}</ref><ref>{{cite web| url=http://www.crht.ca/LibraryShelf/CourageoftheQueen.html| title=Courage of the Queen| publisher=Canadian Royal Heritage Trust| accessdate=22 February 2010}}</ref><ref>{{Citation| last=Dubois| first=Paul| title=Demonstrations Mar Quebec Events Saturday| newspaper=Montreal Gazette| page=1| date=12 October 1964| url=http://news.google.com/newspapers?nid=1946&dat=19641012&id=3K4tAAAAIBAJ&sjid=YZ8FAAAAIBAJ&pg=6599,2340498| accessdate=6 March 2010}}</ref> อย่างไรก็ตามไม่ปรากฏเหตุการณ์ดังกล่าวตามที่มีรายงานออกมา มีเพียงการก่อจลาจลระหว่างเสด็จฯ เยือน[[มอนทรีออล]]; ครั้งนั้น "ความสุขุมและความกล้าเผชิญหน้ากับความรุนแรง" ของพระองค์ยังคงเป็นที่จดจำ<ref>Bousfield, p. 139</ref>
 
ในช่วงที่ทรงพระครรภ์[[เจ้าชายแอนดรูว์ ดยุกแห่งยอร์ก|เจ้าชายแอนดรูว์]]และ[[เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด เอิร์ลแห่งเวสเซ็กส์|เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด]]ในปี พ.ศ. 2502 และ พ.ศ. 2506 เป็นช่วงที่ยังมิได้เสด็จฯ ไปเปิดประชุมรัฐสภาสหราชอาณาจักรด้วยพระองค์เป็นครั้งแรกในรัชกาลของพระองค์<ref>{{cite web|author=Dymond, Glenn|date=5 March 2010|url=http://www.parliament.uk/documents/documents/upload/lln2010-007.pdf|title=Ceremonial in the House of Lords|publisher=House of Lords Library|page=12|accessdate=5 June 2010}}</ref> นอกจากนี้ยังทรงริเริ่มระเบียบประเพณีใหม่ด้วยการเสด็จพระราชดำเนินพบปะกับประชาชนที่มาเฝ้ารอเสด็จฯ อย่างใกล้ชิดเป็นครั้งแรกในช่วงของการเสด็จฯ เยือนออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ พ.ศ. 2513<ref>{{cite web|url=http://www.royal.gov.uk/HMTheQueen/Publiclife/PublicLife1962-1971/1962-1971.aspx|title=Public life 1962–1971|publisher=Royal Household|accessdate=1 September 2011}}</ref>
 
ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 เป็นช่วงที่สหราชอาณาจักร[[การให้เอกราช|มอบเอกราช]]ให้แก่ประเทศแถบ[[ทวีปแอฟริกา]]และแถบ[[ทะเลแคริบเบียน]] มากกว่า 20 ประเทศได้รับเอกราชอันเป็นส่วนหนึ่งของแผนการเปลี่ยนผ่านไปสู่การปกครองตนเอง อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2508 นายกรัฐมนตรีแห่ง[[โรดีเซีย]] เอียน สมิธ ต่อต้านการเปลี่ยนผ่านนี้ โดยประกาศเอกราชจากสหราชอาณาจักรฝ่ายเดียวในขณะที่ยังคงแสดง "ความจงรักภักดีและความอุทิศตน" ต่อสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แม้ว่าพระองค์จะทรงเพิกเฉยต่อคำประกาศนี้ในทางสาธารณะก็ตาม ซึ่งปฏิกิริยาจากประชาคมระดับนานาชาติก็คือการคว่ำบาตรต่อโรดีเซีย แม้กระนั้นการบริหารประเทศของเอียน สมิธ ก็ยังสามารถอยู่รอดมาได้เกือบทศวรรษ<ref>Bond, p. 66; Pimlott, pp. 345–354</ref>
 
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517 นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร [[เอ็ดวาร์ด ฮีธ]] ทูลเกล้าให้ทรงยุบสภาและจัด[[การเลือกตั้งทั่วไปในสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2517|การเลือกตั้งทั่วไป]]ขึ้นในขณะที่เสด็จพระราชดำเนินเยือนชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกในออสเตรเลีย ทำให้ทรงต้องเสด็จฯ กลับสหราชอาณาจักร<ref>Bradford, p. 181; Pimlott, p. 418</ref> ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าไม่มีพรรคใดได้เสียงมากพอจะจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมากได้ พรรคอนุรักษนิยมของฮีธไม่ได้รับเลือกให้มีเสียงมากที่สุดในสภา แต่ยังสามารถจัดตั้งรัฐบาลผสมกับพรรคเสรีประชาธิปไตยได้ ซึ่งฮีธเลือกที่จะลาออกหลังจากการเจรจาไม่ประสบผลสำเร็จ สมเด็จพระราชินีนาถจึงทรงมีกระแสรับสั่งให้พรรคฝ่ายค้านในรัฐสภา [[พรรคแรงงาน (สหราชอาณาจักร)|พรรคแรงงาน]]ของนาย[[เฮโรลด์ วิลสัน]] จัดตั้งรัฐบาล<ref>Bradford, p. 181; Marr, p. 256; Pimlott, p. 419; Shawcross, pp. 109–110</ref>
 
ในปีถัดมาในช่วงตึงเครียดที่สุดของ[[วิกฤตการณ์รัฐธรรมนูญออสเตรเลีย พ.ศ. 2518]] [[กอฟ วิทแลม]] [[นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย]] ถูก[[ผู้สำเร็จราชการเครือรัฐออสเตรเลีย|ผู้สำเร็จราชการ]] เซอร์ จอห์น เคอร์ ปลดออกจากตำแหน่ง หลังจากที่วุฒิสภาออสเตรเลียซึ่งฝ่ายค้านมีเสียงส่วนใหญ่ไม่ผ่านร่างงบประมาณที่เสนอโดยวิทแลม<ref name=Aus>Bond, p. 96; Marr, p. 257; Pimlott, p. 427; Shawcross, p. 110</ref> และเนื่องจากวิทแลมมีเสียงส่วนมากในสภาผู้แทนราษฎรออสเตรเลีย โฆษกประจำสภาผู้แทนราษฎร กอร์ดอน สโคลส์ จึงทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาแด่สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ให้ทรงเพิกถอนคำสั่งปลดของเซอร์ จอห์น เคอร์ แต่สมเด็จพระราชินีนาถทรงปฏิเสธฎีกาดังกล่าว โดยตรัสว่าจะมิทรงเข้าแทรกแซงอำนาจการตัดสินใจของผู้สำเร็จราชการแห่งออสเตรเลียซึ่งรับรองโดย[[รัฐธรรมนูญแห่งเครือรัฐออสเตรเลีย|รัฐธรรมนูญแห่งออสเตรเลีย]]<ref>Pimlott, pp. 428–429</ref> วิกฤตการณ์ในครั้งนี้จึงเท่ากับเป็นการเติมเชื้อไฟให้แก่แนวคิดสาธารณรัฐนิยมในออสเตรเลีย<ref name=Aus/>
 
[[ไฟล์:President_Ford_and_Queen_Elizabeth_dance_-_NARA_-_6923701.jpg|thumb|right|230px|สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ขณะทรงเต้นรำกับประธานาธิบดี[[เจอรัลด์ ฟอร์ด]] ในงานเลี้ยงพระกระยาหารค่ำเนื่องในวโรกาสเสด็จฯ เยือนสหรัฐอเมริกา ณ [[ทำเนียบขาว]] 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2519]]
 
=== รัชดาภิเษก ===
ในปี พ.ศ. 2520 สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ครองสิริราชสมบัติครบ 25 ปีในพระราชพิธีรัชดาภิเษก การเฉลิมฉลองและงานรื่นเริงต่าง ๆ จัดขึ้นทั่วทุกหนแห่งในประเทศเครือจักรภพ และหลายแห่งที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปทรงร่วมงาน การเฉลิมฉลองเหล่านี้เป็นเครื่องยืนยันถึงความนิยมในตัวพระองค์ของเหล่าพสกนิกร แม้ว่าจะมีการนำเสนอข่าวด้านลบเกี่ยวกับชีวิตคู่ที่ล้มเหลวของเจ้าหญิงมาร์กาเรตกับพระสวามีออกมาประจวบเหมาะกับช่วงเวลาดังกล่าว<ref>Pimlott, p. 449</ref> ในปี พ.ศ. 2521 ทรงต้องฝืนพระองค์ให้การต้อนรับการเดินทางมาเยือนสหราชอาณาจักรของผู้นำเผด็จการคอมมิวนิสต์แห่งโรมาเนีย [[นิโคไล เชาเชสกู]] พร้อมด้วยภริยา เอเลนา เชาเชสกู<ref>Hardman, p. 137; Roberts, pp. 88–89; Shawcross, p. 178</ref> ซึ่งในพระทัยก็ทรงมองว่าทั้งสองเป็นพวก "มือเปื้อนเลือด"<ref>Elizabeth to her staff, quoted in Shawcross, p. 178</ref> ในปีถัดมามีเหตุการณ์สองเหตุการณ์ใหญ่เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระองค์: เหตุการณ์แรกคือการเปิดโปง แอนโทนี บลันท์ อดีตผู้กลั่นกรองพระบรมฉายาลักษณ์ส่วนพระองค์ ว่าเป็น[[สายลับ]]คอมมิวนิสต์ อีกเหตุการณ์ก็คือการลอบสังหารหลุยส์ เมาท์แบตเตน เอิร์ลเมาท์แบตเตนที่ 1 แห่งพม่า โดยกองกำลังติดอาวุธไออาร์เอ (Provisional Irish Republican Army; IRA)<ref>Pimlott, pp. 336–337, 470–471; Roberts, pp. 88–89</ref>
 
ตามคำกล่าวอ้างของพอล มาร์ติน ซีเนียร์. ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 พระราชินีนาถทรงกังวลว่าสถาบันกษัตริย์ "มีความหมายเพียงน้อยนิด" สำหรับนายกรัฐมนตรีแคนาดา ปีแยร์ ตรูโด<ref name=Post/> โทนี เบนน์ กล่าวว่าในสายพระเนตรของพระองค์ ปีแยร์ ตรูโด "ค่อนข้างน่าผิดหวัง"<ref name=Post>{{cite journal|last=Heinricks|first=Geoff|title=Trudeau: A drawer monarchist|journal=[[National Post]]|date=29 September 2000|page=B12}}</ref> ซึ่งแนวคิดสาธารณรัฐนิยมของปีแยร์เป็นที่แน่ชัดขึ้นจากท่าทีแสดงการล้อเลียนของเขา เช่น การลื่นไถลตัวเขาเองไปตามราวบันใดในพระราชวังบักกิงแฮม และการเต้นบัลเลต์ท่าหมุนรอบตัวเองอยู่ด้านหลังของพระราชินีนาถในปี พ.ศ. 2520 รวมไปถึงการที่เขาถอดถอนสัญลักษณ์ที่แสดงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์แคนาดาหลายประการตลอดช่วงที่ดำรงตำแหน่ง<ref name=Post/> ในปี พ.ศ. 2523 นักการเมืองแคนาดาหลายคนได้รับการส่งไปกรุงลอนดอนในกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งแคนาดา พวกเขาพบว่าพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรง "มีความรู้ความเข้าใจ&nbsp;... มากกว่านักการเมืองหรือข้าราชการชาวอังกฤษเป็นไหน ๆ "<ref name=Post/> ทรงให้ความสนพระราชหฤทัยกับการแก้ไขครั้งนี้โดยเฉพาะหลังจากที่ร่างพระราชบัญญัติซี-60 (Bill C-60) ไม่ผ่านรัฐสภา ซึ่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวอาจมีผลต่อพระราชสถานะ[[ประมุขแห่งรัฐ]]ของพระองค์<ref name=Post/> การแก้ไขดังกล่าวเพิกถอนบทบาทของ[[รัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักร]]ที่มีต่อรัฐธรรมนูญแห่งแคนาดาแต่ยังคงไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ ปีแยร์กล่าวว่าในความทรงจำของเขาพระราชินีนาถทรงเห็นชอบกับความพยายามของเขาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญและเขาประทับใจใน "พระจริยวัตรอันสง่างามที่ทรงแสดงต่อสาธารณชน" และ "พระอัจฉริยะภาพอันปราดเปรื่องที่ทรงแสดงเป็นการส่วนพระองค์"<ref>Trudeau, p. 313</ref>
 
=== คริสต์ทศวรรษ 1980 ===
[[ไฟล์:ElizabethIItroopingcolour crop.jpg|thumb|right|230px|alt=Elizabeth in red uniform on a black horse|สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ขณะทรงม้าชื่อ ''เบอร์มีส'' ในพิธีสวนสนามเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา]]
ในช่วงของพิธีสวนสนามเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พ.ศ. 2524 ซึ่งเป็นเวลาเพียงหกสัปดาห์ก่อนพระราชพิธีอภิเษกสมรสระหว่าง[[เจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์|เจ้าชายแห่งเวลส์]]กับ[[ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์|เลดีไดอานา สเปนเซอร์]] มีเสียงปืนดังขึ้นหกนัด โดยปืนเล็งไปที่สมเด็จพระราชินีนาถในระยะประชิดขณะทรงม้าไปตามถนน[[เดอะมอลล์ (ถนน)|เดอะมอลล์]]บนม้าทรงชื่อเบอร์มีส ภายหลังตำรวจสืบทราบว่าปืนกระบอกดังกล่าวบรรจุกระสุนเปล่า ผู้ก่อเกตุเป็นเด็กชายอายุ 17 ปีนามว่า มาร์คัส ซาร์เจนต์ ซึ่งถูกตัดสินจำคุกห้าปีและได้รับการปล่อยตัวหลังเวลาผ่านไปสามปี<ref>{{cite news|url=http://news.bbc.co.uk/onthisday/hi/dates/stories/september/14/newsid_2516000/2516713.stm|title=Queen's 'fantasy assassin' jailed|publisher=BBC|accessdate=21 June 2010|date=14 September 1981}}</ref> นอกจากนี้ความสงบและทักษะด้านการควบคุมม้าทรงของพระองค์ในเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นที่กล่าวสรรเสริญไปทั่ว<ref>Lacey, p. 281; Pimlott, pp. 476–477; Shawcross, p. 192</ref> ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงกันยายน พ.ศ. 2525 ทรงกระวนกระวายพระราชหฤทัย<ref>Bond, p. 115; Pimlott, p. 487</ref> แต่ก็ทรงภูมิใจ<ref>Shawcross, p. 127</ref> ที่พระราชโอรส เจ้าชายแอนดรูว์ทรงรับใช้ชาติในกองทัพอังกฤษในช่วง[[สงครามฟอล์กแลนด์]] ในวันที่ 9 กรกฎาคม ทรงตื่นจากพระบรรทมในพระราชวังบักกิงแฮมและพบว่าไมเคิล เฟแกน บุกรุกเข้ามาในห้องพระบรรทม ทรงมีท่าทีสงบและทรงโทรเรียกตำรวจพระราชวังผ่านทางแผงไฟถึงสองครั้ง ทรงพูดคุยกับไมเคิลผู้ซึ่งนั่งอยู่ปลายแท่นพระบรรทมอยู่นานเจ็ดนาทีก่อนที่ความช่วยเหลือจะมาถึง<ref>Lacey, pp. 297–298; Pimlott, p. 491</ref> แม้ว่าจะทรงให้การต้อนรับประธานาธิบดี[[โรนัลด์ เรแกน]] ณ พระราชวังวินด์เซอร์ในปี พ.ศ. 2525 และเคยเสด็จฯ ไปเยือนบ้านพักส่วนตัวของประธานาธิบดีในแคลิฟอร์เนียในปี พ.ศ. 2526 แต่ก็ทรงกริ้วอย่างมากเมื่อคณะทำงานของประธานาธิบดีเรแกนมีคำสั่งบุกเกรนาดาซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศเครือจักรภพโดยไม่ได้มีการแจ้งให้พระองค์ทราบ<ref>Bond, p. 188; Pimlott, p. 497</ref>
 
ช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1980 เกิดความสนใจอย่างแรงกล้าของสื่อมวลชนในพระราชอัธยาศัยและพระราชกิจวัตรประจำวันของพระบรมวงศานุวงศ์ นำไปสู่การเผยแพร่เรื่องราวเหลือเชื่อมากมาย ซึ่งแต่ละเรื่องไม่ถูกต้องอย่างครบถ้วนสมบูรณ์<ref>Pimlott, pp. 488–490</ref> เช่นที่เคลวิน แมคเคนซี บรรณาธิการประจำหนังสือพิมพ์ ''[[เดอะซัน (สหราชอาณาจักร)|เดอะซัน]]'' กล่าวกับลูกน้องของเขาว่า "เอาข่าวสาดโคลนเกี่ยวกับราชวงศ์สำหรับตีพิมพ์วันจันทร์มาให้ฉันทีสิ ไม่ต้องห่วงถ้าข่าวนั้นจะไม่เป็นความจริง ตราบใดที่ช่วงหลังมานี้ยังคงไม่มีข่าวซุบซิบราชวงศ์ออกมา"<ref>Pimlott, p. 521</ref> ด้านบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ โดนัลด์ เทรลฟอร์ดเขียนในหนังสือพิมพ์ ''[[ดิออบเซิร์ฟเวอร์]]'' ฉบับวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2529 ว่า "ละครน้ำเน่าเกี่ยวกับพระราชวงศ์บัดนี้ได้มาถึงจุดที่เส้นแบ่งระหว่างข้อเท็จจริงกับนิยายถูกเลือนหาย&nbsp;... ไม่ใช่เพียงแค่บางหนังสือพิมพ์ไม่ตรวจสอบข้อเท็จจริงหรือรับฟังข้อโต้แย้ง แต่พวกเขายังไม่สนใจว่าเรื่องดังกล่าวจะเป็นความจริงหรือไม่อีกด้วย" ในหนังสือพิมพ์ ''[[เดอะซันเดย์ไทมส์]]'' ฉบับวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 มีรายงานข่าวอันโด่งดังว่าพระราชินีนาถกังวลพระราชหฤทัยในนโยบายด้านเศรษฐกิจของนายกรัฐมตรีหญิง [[มาร์กาเรต แทตเชอร์]] ว่าจะทำให้สังคมเกิดความแตกแยกซึ่งมีสัญญาณบ่งชี้หลายอย่างเช่น อัตราการว่างงานที่สูง การก่อจลาจลหลายระลอก ความรุนแรงจากกลุ่มคนงานเหมืองที่ประท้วงนัดหยุดงาน รวมไปถึงการที่มาร์กาเรตปฏิเสธการคว่ำบาตรต่อรัฐบาล[[การถือผิวในประเทศแอฟริกาใต้|ถือผิวในประเทศแอฟริกาใต้]] โดยข่าวลือนี้มีที่มาจากเสนาธิการประจำราชสำนัก ไมเคิล ชีอา และผู้สำเร็จราชการประจำเครือจักรภพ ไชร์ดาท แรมพัล แต่ไมเคิลอ้างว่าคำกล่าวของเขาผิดเพี้ยนไปจากบริบทและถูกเสริมแต่งจากการคาดการณ์ส่วนตัว<ref>Pimlott, pp. 503–515; see also Neil, pp. 195–207 and Shawcross, pp. 129–132</ref> ต่อมาคำกล่าวของมาร์กาเรตก็เป็นที่โจทก์ขานกันไปทั่วเมื่อเธอกล่าวว่า "สมเด็จพระราชินีนาถจะทรงลงคะแนนเสียงให้แก่พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย" ซึ่งเป็นพรรคคู่แข่งของเธอ<ref>Thatcher to [[Brian Walden]] quoted in Neil, p. 207; [[Andrew Neil]] quoted in [[Woodrow Wyatt]]'s diary of 26 October 1990</ref> นักชีวประวัติของมาร์กาเรต แทตเชอร์ จอห์น แคมป์เบล อ้างว่า "รายงานชิ้นดังกล่าวเป็นเพียงการสร้างความเสื่อมเสียจากการสื่อสารมวลชน"<ref>Campbell, p. 467</ref> ซึ่งเกิดจากการที่สื่อรายงานผิดเพี้ยนจากความจริงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ในภายหลังมาร์กาเรต แทตเชอร์จึงแสดงความชื่นชมของเธอที่มีต่อพระราชินีนาถออกมา<ref>Thatcher, p. 309</ref> และหลังจากที่มาร์กาเรต แทตเชอร์ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยมี[[จอห์น เมเจอร์]] ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่แล้ว สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ก็ได้พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เมริตและ[[เครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เตอร์]]แด่มาร์กาเรต แทตเชอร์ เป็นของขวัญพระราชทาน<ref>Roberts, p. 101; Shawcross, p. 139</ref> นอกจากนี้อดีตนายกรัฐมนตรีแคนาดา ไบรอัน มัลรอนีย์ กล่าวว่าพระองค์เป็น "พลังขับเคลื่อนเบื่องหลัง" ในการยุติ[[การถือผิวในประเทศแอฟริกาใต้]]<ref name=Geddes>{{cite journal| last=Geddes| first=John| title=The day she descended into the fray| journal=Maclean's| edition=Special Commemorative Edition: The Diamond Jubilee: Celebrating 60 Remarkable years| year=2012| page=72| publisher=Rogers Communications}}</ref><ref name=MacQueen>{{cite journal| last1=MacQueen| first1=Ken| last2=Treble| first2=Patricia| title=The Jewel in the Crown| journal=Maclean's| edition=Special Commemorative Edition: The Diamond Jubilee: Celebrating 60 Remarkable years| year=2012| pages=43–44| publisher=Rogers Communications}}</ref>
 
ในปี พ.ศ. 2530 ในแคนาดา สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 มีพระราชดำรัสว่าทรงสนับสนุนข้อตกลงมีชเลค (Meech Lake Accord) ซึ่งเป็นข้อตกลงที่สร้างความแตกแยกทางการเมือง เป็นข้อตกลงที่โน้มน้าวให้รัฐควิเบกยอมรับร่างพระราชบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2525 และยังคงเป็นส่วนหนึ่งของแคนาดาต่อไป ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากฝ่ายต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เช่น อดีตนายกรัฐมนตรีปีแยร์ ตรูโด<ref name=Geddes /> ในปีเดียวกันนั้นเองที่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของ[[ฟิจิ]]ถูกรัฐประหารโดยกองทัพ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ในฐานะที่เป็น[[พระมหากษัตริย์ฟิจิ]] ให้การสนับสนุนผู้สำเร็จราชการแห่งฟิจิ เพเนเอีย กานิเลา ในการพยายามเจรจาประนีประนอมและยันยันถึงสิทธิ์อันชอบธรรมของรัฐบาล แต่ผู้นำการปฏิวัติ ซิติเวนี ราบูกา กลับเนรเทศผู้สำเร็จราชการและประกาศให้ฟิจิเป็นสาธารณรัฐ<ref>Pimlott, pp. 515–516</ref> ต่อมาในช่วงต้นของปี พ.ศ. 2534 แนวคิดสาธารณรัฐนิยมในสหราชอาณาจักรเพิ่มขึ้นจากรายงานตัวเลขคาดการณ์พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระราชินีนาถซึ่งถูกโต้แย้งโดยสำนักพระราชวัง รวมไปถึงข่าวชีวิตคู่ที่ล้มเหลวของพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์<ref>Pimlott, pp. 519–534</ref> นอกจากนี้ความเกี่ยวข้องกับ[[เกมโชว์]]การกุศล ''อิตส์รอยัลน็อคเอาต์'' ของราชนิกุลรุ่นเยาว์ได้รับการเย้ยหยัน<ref>Hardman, p. 81; Lacey, p. 307; Pimlott, pp. 522–526</ref> และสมเด็จพระราชินีนาถก็ทรงตกเป็นเป้าของการเสียดสีล้อเลียน<ref>Lacey, pp. 293–294; Pimlott, p. 541</ref>
 
===คริสต์ศตวรรษ 1990===
ในปี พ.ศ. 2534 ช่วงที่อังกฤษและสหรัฐอเมริกาได้รับชัยชนะใน[[สงครามอ่าวเปอร์เซีย]] สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จฯ เยือนสหรัฐอเมริกาอีกครั้งและเป็นพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรพระองค์แรกที่ได้มีพระราชดำรัสแก่ที่ประชุมร่วมของ[[สภาผู้แทนราษฎรแห่งสหรัฐอเมริกา|สภาผู้แทนราษฎร]]และ[[วุฒิสภาแห่งสหรัฐอเมริกา|วุฒิสภาสหรัฐอเมริกา]]<ref>Pimlott, p. 538</ref>
[[ไฟล์:Bundesarchiv Bild 199-1992-089-19Acropped.jpg|thumb|left|alt=Elizabeth, in formal dress, holds a pair of spectacles to her mouth in a thoughtful pose|เจ้าชายฟิลิปและสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2535]]
ในพระราชดำรัสวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 เนื่องในวโรกาสครองราชสมบัติครบ 40 ปี ทรงกล่าวว่าปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) เป็น ''แอนนัสฮอริบิลิส'' ({{lang-la|annus horribilis}}; ปีแห่งความเลวร้าย) ของพระองค์เนื่องจากมีเหตุการณ์เลวร้ายเกิดขึ้นมากมาย ดังนี้:<ref>{{cite web|url=http://www.royal.gov.uk/ImagesandBroadcasts/Historic%20speeches%20and%20broadcasts/Annushorribilisspeech24November1992.aspx|title=Annus horribilis speech, 24 November 1992|publisher=Royal Household|accessdate=6 August 2009}}</ref> ในเดือนมีนาคม พระราชโอรสองค์ที่สอง เจ้าชายแอนดรูว์ทรงหย่าร้างกับซาราห์ ดัชเชสแห่งยอร์ก ต่อมาในเดือนเมษายน เจ้าหญิงแอนน์ พระราชกุมารี ก็ทรงหย่าร้างกับพระสวามี [[มาร์ก ฟิลลิปส์]];<ref>Lacey, p. 319; Marr, p. 315; Pimlott, pp. 550–551</ref> ในช่วงการเสด็จพระราชดำเนินเยือนเยอรมนีในเดือนตุลาคม กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงผู้โกรธแค้นใน[[เดรสเดิน]]ปาไข่ไก่ใส่พระองค์ สาเหตุมาจากปมการทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรในเดรสเดินช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปราว 25,000 คน;<ref>{{cite web|author=Stanglin, Doug|title=German study concludes 25,000 died in Allied bombing of Dresden|url=http://content.usatoday.com/communities/ondeadline/post/2010/03/official-german-study-concludes-25000-died-in-allied-bombing-of-dresden/1?csp=34|work=USA Today|date=18 March 2010|accessdate=19 March 2010}}</ref> ในเดือนพฤศจิกายน พระราชวังวินด์เซอร์ได้รับความเสียหายอย่างหนักจากเหตุอัคคีภัย ด้านสถาบันพระมหากษัตริย์ก็ได้รับเสียงวิพากษวิจารณ์และการจับจ้องจากสาธารณชนมากขึ้น<ref>Brandreth, p. 377; Pimlott, pp. 558–559; Roberts, p. 94; Shawcross, p. 204</ref> ในพระราชดำรัสส่วนพระองค์ซึ่งค่อนข้างจากผิดแปลกไปจากปกติ ทรงกล่าวว่าทุก ๆ สถาบันล้วนแล้วแต่ต้องได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ไม่เว้นแม้แต่สถาบันพระมหากษัตริย์ แต่การวิพากษ์วิจารณ์ควรกระทำขึ้นบนพื้นฐานของ "อารมณ์ขัน, ความนุ่มนวล และความเข้าอกเข้าใจ"<ref>Brandreth, p. 377</ref> สองวันถัดมา นายกรัฐมนตรี[[จอห์น เมเจอร์]] ประกาศแผนปฏิรูปการเงินของพระราชวงศ์ซึ่งตระเตรียมไว้ตั้งแต่ปีก่อนหน้า ในแผนดังกล่าวประกอบด้วยการปฏิรูปต่าง ๆ เช่น การที่สมเด็จพระราชินีนาถจะต้องทรงชำระภาษีเงินได้เป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 เป็นต้นไป และการตัดลดงบประมาณรายจ่ายสำหรับพระมหากษัตริย์ (Civil list)<ref>Bradford, p. 229; Lacey, pp. 325–326; Pimlott, pp. 559–561</ref> ในเดือนธันวาคม [[เจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์]] และ[[ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์]] ทรงแยกกันอย่างเป็นทางการ<ref>Bradford, p. 226; Hardman, p. 96; Lacey, p. 328; Pimlott, p. 561</ref> ในช่วงวันท้าย ๆ ของปี พ.ศ. 2535 สมเด็จพระราชินีนาถทรงฟ้องร้องหนังสือพิมพ์ ''[[เดอะซัน]]'' ฐานละเมิดลิขสิทธิ์ตีพิมพ์ร่างกระแสพระราชดำรัสเนื่องในวันคริสต์มาสสองวันก่อนการออกอากาศทางโทรทัศน์อย่างเป็นทางการ ศาลตัดสินให้หนังสือพิมพ์จ่ายเงินชดเชยแก่พระองค์ตามกฎหมายและบริจาคเงินให้การกุศลกว่า 200,000 ปอนด์<ref>Pimlott, p. 562</ref>
 
ในปีถัดมาการเปิดเผยเรื่องราวของเจ้าชายชาลส์และเจ้าหญิงไดอานาต่อสาธารณชนยังคงดำเนินต่อไป<ref>Brandreth, p. 356; Pimlott, pp. 572–577; Roberts, p. 94; Shawcross, p. 168</ref> ด้านการเมืองแม้ว่ากระแสสาธารณรัฐนิยมจะมีมากกว่าช่วงใด ๆ ในความทรงจำของพระองค์ แต่ประชาชนที่มีแนวคิดเช่นนี้ก็ยังคงเป็นกลุ่มคนส่วนน้อยของสังคม อีกทั้งการยอมรับสมเด็จพระราชินีนาถของสังคมก็ยังคงมีอยู่สูง<ref>MORI poll for ''[[The Independent]]'' newspaper, March 1996, quoted in Pimlott, p. 578 and {{cite news|author=O'Sullivan, Jack|date=5 March 1996|url=http://www.independent.co.uk/news/uk/watch-out-the-roundheads-are-back-1340396.html|title=Watch out, the Roundheads are back|work=The Independent|accessdate=17 September 2011}}</ref> การวิพากษ์วิจารณ์เปลี่ยนจากการจับจ้องแต่เพียงพระราชจริยวัตรและพระราชอัธยาศัยของพระราชินีนาถมาเป็นการจับจ้องสถาบันพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ในภาพรวม<ref>Pimlott, p. 578</ref> ในปลายเดือนธันวาคม พ.ศ. 2538 หลังจากทรงปรึกษากับนายกรัฐมนตรีจอห์น เมเจอร์, [[อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี]] จอร์จ เครีย์, ราชเลขาธิการส่วนพระองค์ โรเบิร์ต เฟลโลว์ส และเจ้าชายฟิลิป พระราชสวามี จึงมีพระราชหัตถเลขาถึงเจ้าชายชาลส์และเจ้าหญิงไดอานาว่าโปรดจะให้มีการหย่าร้างอย่างเป็นทางการ<ref>Brandreth, p. 357; Pimlott, p. 577</ref> หนึ่งปีหลังจากการหย่าร้างซึ่งมีขึ้นในปี พ.ศ. 2539 [[การสิ้นพระชนม์ของไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์|ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ สิ้นพระชนม์จากอุบัติเหตุทางรถยนต์]]ในกรุงปารีส 31 สิงหาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งพระราชินีนาถทรงอยู่ระหว่างการพักร้อนที่[[ปราสาทบาลมอรัล]]กับพระราชโอรสและพระราชนัดดา ในขณะนั้นพระโอรสทั้งสองของเจ้าหญิงไดอานาโปรดที่จะเสด็จไปยังโบสถ์ ดังนั้นพระราชินีนาถและเจ้าชายฟิลิปจึงนำเสด็จฯ ไปยังโบสถ์ในตอนเช้า<ref>Brandreth, p. 358; Hardman, p. 101; Pimlott, p. 610</ref> หลังจากการปรากฏพระองค์ในครั้งนั้น ห้าวันต่อมาพระราชินีนาถและเจ้าชายฟิลิปก็ทรงปิดกั้นพระนัดดาทั้งสองจากสื่อที่ให้ความสนใจต่อเหตุการณ์นี้อย่างล้นหลาม โดยประทับ ณ ปราสาทบาลมอรัลที่ซึ่งจะได้ใช้เวลาแห่งความโศกเศร้าเป็นการส่วนพระองค์<ref>Bond, p. 134; Brandreth, p. 358; Marr, p. 338; Pimlott, p. 615</ref> แต่การปิดกั้นตัวเองจากสาธารณชนของพระบรมวงศานุวงศ์และการที่พระราชวังบักกิงแฮมไม่ได้[[การลดธงครึ่งเสา|ลดธงลงครึ่งเสา]]สร้างความไม่พอใจแก่สาธารณชนเป็นอย่างมาก<ref name=MacQueen/><ref>Bond, p. 134; Brandreth, p. 358; Lacey, pp. 6–7; Pimlott, p. 616; Roberts, p. 98; Shawcross, p. 8</ref> ต่อมาหลังจากที่ทรงรับทราบกระแสความไม่พอใจ พระราชินีนาถจึงเสด็จฯ กลับลอนดอนและมีพระราชดำรัสแก่ประชาชนซึ่งแพร่ภาพสดไปทั่วโลกในวันที่ 5 กันยายน หนึ่งวันก่อนพระราชพิธีพระศพของเจ้าหญิงไดอานาจะมีขึ้น<ref>Brandreth, pp. 358–359; Lacey, pp. 8–9; Pimlott, pp. 621–622</ref> ในกระแสพระราชดำรัสทรงกล่าวชื่นชมเจ้าหญิงไดอานาและความรู้สึกในฐานะ "พระอัยยิกา" ของ[[เจ้าชายวิลเลียม ดยุกแห่งเคมบริดจ์|เจ้าชายวิลเลียม]]และ[[เจ้าชายแฮร์รีแห่งเวลส์|เจ้าชายแฮร์รี]]<ref name="b&b">Bond, p. 134; Brandreth, p. 359; Lacey, pp. 13–15; Pimlott, pp. 623–624</ref> เป็นผลให้กระแสความไม่พอใจของสาธารณชนที่มีต่อพระบรมวงศานุวงศ์คลี่คลายลง<ref name="b&b"/>
 
=== กาญจนาภิเษก ===
[[ไฟล์:George W. Bush toasts Elizabeth II 2007.jpg|thumb|alt=In evening wear, Elizabeth and President Bush hold wine glasses of water and smile|สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 กับประธานาธิบดี[[จอร์จ ดับเบิลยู. บุช]] ในงานเลี้ยงพระกระยาหารค่ำ ณ ทำเนียบขาว 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2550]]
[[ไฟล์:Royal Visit Toronto 2010 5.JPG|thumb|right|alt=Street scene of Elizabeth and spectators|สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ในฉลองพระองค์สีชมพูขณะทรงพระดำเนินทักทายประชาชน ณ ควีนส์ปาร์ค [[โตรอนโต]] 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553]]
ปี พ.ศ. 2545 ซึ่งเป็นปีเฉลิมฉลองพระราชพิธีกาญจนาภิเษก [[เจ้าหญิงมาร์กาเรต เคาน์เตสแห่งสโนว์ดอน]] พระขนิษฐา สิ้นพระชนม์ในเดือนกุมภาพันธ์ ตามมาด้วยการสวรรคตของ[[สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี]] ในเดือนมีนาคม ทำให้สื่อตั้งคำถามว่าพระราชพิธีกาญจนาภิเษกในปีนี้จะประสบกับความสำเร็จหรือความล้มเหลว<ref>Bond, p. 156; Bradford, pp. 248–249; Marr, pp. 349–350</ref> และเป็นอีกครั้งที่สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศเครือจักรภพ โดยเริ่มต้นขึ้นที่[[จาเมกา]]ในเดือนกุมภาพันธ์ ที่ซึ่งตรัสเรียกการเสด็จฯ ครั้งนั้นว่า "เป็นที่จดจำ" หลังจากที่เกิดเหตุไฟฟ้าขัดข้องจนมืดสนิทไปทั่วบริเวณงานเลี้ยงส่งเสด็จฯ ณ พระตำหนักคิงส์เฮาส์ ซึ่งเป็นที่พำนักอย่างเป็นทางการของผู้สำเร็จราชการแห่งจาเมกา<ref>Brandreth, p. 31</ref> ในงานเฉลิมฉลองการครองราชสมบัติครบ 50 ปีในครั้งนี้ มีการเฉลิมฉลองและงานเลี้ยงสังสรรค์บนท้องถนนมากมายเช่นเดียวกับครั้งที่เฉลิมฉลองพระราชพิธีรัชดาภิเษกในปี พ.ศ. 2520 มีอนุสาวรีย์ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกการเฉลิมฉลองในครั้งนี้มากมาย และประชาชนกว่าล้านคนออกมาเฉลิมฉลองในงานเฉลิมฉลองอย่างเป็นทางการสามวันของกรุงลอนดอน<ref>Bond, pp. 166–167</ref> ซึ่งความสนใจของประชาชนต่อพระราชินีนาถและพระราชพิธีนี้มีมากกว่าที่สื่อส่วนมากคาดการณ์ไว้<ref>Bond, p. 157</ref>
 
แม้ว่าจะมีพระพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงมาตลอดช่วงพระชนม์ชีพ แต่ในปี พ.ศ. 2546 ทรงเข้ารับ[[การผ่าตัดส่องกล้อง]]บริเวณพระชานุ (เข่า) ทั้งสองข้าง ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 ก็มิได้เสด็จฯ ไปในงานเปิดสนาม[[เอมิเรตส์สเตเดียม]]ด้วยเพราะทรงมีอาการกล้ามพระปฤษฎางค์ (กล้ามเนื้อหลัง) รัดแน่น ซึ่งทรงมีอาการดังกล่าวมาตั้งแต่ช่วงฤดูร้อน<ref>{{cite news|url=http://news.bbc.co.uk/1/hi/uk/6087724.stm|title=Queen cancels visit due to injury|publisher=BBC|date=26 October 2006|accessdate=8 December 2009}}</ref> สองเดือนต่อมา เสด็จฯ ออกปรากฏพระองค์ต่อสาธารณชนโดยมี[[แถบปิดแผล]]ที่บริเวณพระหัตถ์ขวา ทำให้สื่อคาดการณ์กันถึงพระพลานามัยที่เสื่อมลง<ref>{{cite web|url=http://www.dailymail.co.uk/news/article-420950/Plaster-Queens-hand-minor-cut-IV-drip.html|title=Plaster on Queen's hand: minor cut or IV drip?|author=Greenhill, Sam; Hope, Jenny|work=Daily Mail|date=6 December 2006|accessdate=8 December 2009}}</ref> ต่อมาก็ทรงถูกกัดโดยหนึ่งในสุนัขพันธุ์คอร์กีที่ทรงเลี้ยงไว้เพราะทรงพยายามแยกสุนัขทรงเลี้ยงทั้งสองขณะกำลังกัดกันออกจากกัน<ref>{{cite web|url=http://www.thesun.co.uk/sol/homepage/news/article75313.ece|title=Corgi put the queen in plaster|author=Whittaker, Thomas|work=The Sun|date=14 December 2006|accessdate=18 August 2011}}</ref>
 
ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550 หนังสือพิมพ์ ''เดอะเดลีย์เทเลกราฟ'' รายงานอ้างจากแหล่งข่าวผู้ประสงค์จะไม่ออกนามว่าพระราชินีนาถทรง "ขุ่นเคืองและผิดหวัง" จากนโยบายของนายกรัฐมนตรี[[โทนี แบลร์]] และกังวลพระทัยจากการที่กองทัพสหราชอาณาจักรเข้าไปพัวพันกับความขัดแย้งใน[[อิรัก]]และ[[อัฟกานิสถาน]]มากเกินไป อีกทั้งยังกังวลพระทัยจากประเด็นปัญหาในแถบชนบทและทุรกันดารกับโทนี แบลร์ ซ้ำไปซ้ำมา<ref>{{cite web|url=http://www.telegraph.co.uk/news/uknews/1552769/Revealed-Queens-dismay-at-Blair-legacy.html|author=Alderson, Andrew|work=The Telegraph|title=Revealed: Queen's dismay at Blair legacy|date=28 May 2007|accessdate=31 May 2010}}</ref> อย่างไรก็ตาม ทรงชื่นชมโทนี แบลร์ ในความพยายามแสวงหาสันติภาพใน[[ไอร์แลนด์เหนือ]]ของเขา<ref>{{cite web|url=http://www.telegraph.co.uk/news/uknews/1552767/Tony-and-Her-Majesty-an-uneasy-relationship.html|author=Alderson, Andrew|work=The Telegraph|title=Tony and Her Majesty: an uneasy relationship|date=27 May 2007|accessdate=31 May 2010}}</ref> ในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2551 ณ มหาวิหารเซนต์แทริค อาร์มาจ์ ของคริสจักรแห่งไอร์แลนด์ ทรงเข้าร่วมพระราช[[พิธีวันพฤหัสบดีศักดิ์สิทธิ์]] (Royal Maundy) ซึ่งเป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นนอกอังกฤษและเวลส์<ref>{{cite web|url=http://news.bbc.co.uk/1/hi/northern_ireland/7305675.stm |title=Historic first for Maundy service|publisher=BBC|date=20 March 2008|accessdate=12 October 2008}}</ref> ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 เสด็จพระราชดำเนินเยือน[[ไอร์แลนด์]]ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของประธานาธิบดีแมรี แมคอาลีส์ ซึ่งเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนสาธารณรัฐไอร์แลนด์เป็นครั้งแรกของพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร<ref>Bradford, p. 253</ref>
 
สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 มีพระราชดำรัส ณ ที่สมัชชาใหญ่สหประชาชาติเป็นครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2553 ในฐานะที่เป็นพระประมุขแห่งประเทศเครือจักรภพ<ref name=UN>{{cite web|title=Address to the United Nations General Assembly|date=6 July 2010|url=http://www.royal.gov.uk/LatestNewsandDiary/Speechesandarticles/2010/AddresstotheUnitedNationsGeneralAssembly6July2010.aspx|publisher=Royal Household|accessdate=6 July 2010}}</ref> [[เลขาธิการสหประชาชาติ]] [[พัน กีมุน]] กล่าวสดุดีพระองค์ว่าเป็น "เสาหลักสำหรับยุคของเรา"<ref name="BBC UN">{{cite news|url=http://news.bbc.co.uk/1/hi/uk/10518044.stm|title=Queen addresses UN General Assembly in New York|publisher=BBC|date=7 July 2010|accessdate=7 July 2010}}</ref> ในระหว่างการเสด็จฯ เยือน[[นครนิวยอร์ก]]ซึ่งตามมาด้วยการเสด็จฯ เยือนแคนาดา เสด็จฯ ไปทรงเปิดสวนอนุสรณ์ระลึกถึงเหยื่อผู้เสียชีวิตชาวอังกฤษจาก[[วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544|เหตุวินาศกรรม 11 กันยายน]]<ref name="BBC UN"/> ต่อมาเสด็จพระราชดำเนินเยือนออสเตรเลียในปีเดียวกัน ซึ่งเป็นครั้งที่ 16 นับตั้งแต่ พ.ศ. 2497 และได้รับการขนานนามจากสื่อว่าเป็น "การเสด็จฯ เยือนอำลา" เนื่องจากพระองค์มีพระพรรษามากแล้ว<ref>{{cite web|title=Royal tour of Australia: The Queen ends visit with traditional 'Aussie barbie'|url=http://www.telegraph.co.uk/news/uknews/queen-elizabeth-II/8857106/Royal-tour-of-Australia-The-Queen-ends-visit-with-traditional-Aussie-barbie.html|work=The Telegraph|date=29 October 2011|accessdate=30 October 2011}}</ref>
 
=== พัชราภิเษกและปัจจุบัน ===
{{main|พระราชพิธีพัชราภิเษกในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2}}
[[ไฟล์:West Midlands Police - Diamond Jubilee Visit (7555593638).jpg|thumb|สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จฯไปยัง [[พระราชวังบักกิงแฮม]] เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทัวร์พระราชพิธีพัชราภิเษกของพระองค์]]
ในปี พ.ศ. 2555 เป็นปีที่ทรงเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี (พระราชพิธีพัชราภิเษกแบบอังกฤษ) ซึ่งจัดขึ้นในทุกประเทศเครือจักรภพ ในกระแสพระราชดำรัสที่เผยแพร่ในวันคล้ายวันเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ทรงกล่าวว่า: "ในปีแห่งความพิเศษนี้ ขณะที่ข้าพเจ้าอุทิศตัวเองรับใช้พวกท่านทั้งหลายอีกครั้ง ข้าพเจ้าหวังว่าพวกเราทุกคนจะยังคงระลึกถึงพลานุภาพของความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว และการรวบรวมพละกำลังของครอบครัว, มิตรภาพ และความเป็นเพื่อนบ้านที่ดี&nbsp;... ข้าพเจ้าหวังว่าในปีพัชราภิเษกนี้จะเป็นปีสำหรับการมอบคำขอบคุณสำหรับความก้าวหน้าอันยิ่งใหญ่ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2495 และมองไปยังอนาคตด้วยหัวสมองอันปลอดโปร่งและหัวใจอันอบอุ่น"<ref>{{cite web| url=http://www.royal.gov.uk/LatestNewsandDiary/Pressreleases/2012/TheQueensDiamondJubileemessage.aspx|title=The Queen's Diamond Jubilee message|publisher=Royal Household|accessdate=31 May 2012}}</ref> พระองค์และพระราชสวามีได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนไปทั่วสหราชอาณาจักร ในขณะที่พระราชโอรส-ธิดาและพระราชนัดดาหลายพระองค์ เสด็จเยือนประเทศในเครือจักรภพอื่น ๆ ในพระนามของสมเด็จพระราชินีนาถ<ref>{{citation| url=http://www.dailymail.co.uk/tvshowbiz/article-2106246/Prince-Edward-Sophie-wear-ordinated-outfits-attend-Barbados-state-dinner.html| date=24 February 2012| last=Gower| first=Eleanor| title=A royal match! Glamorous Prince Edward and Sophie wear co-ordinated outfits as they attend Barbados state dinner| date=25 February 2012| newspaper=Daily Mail| accessdate=31 May 2012}}</ref><ref>{{cite news| url=http://www.bbc.co.uk/news/uk-17281585| title=Prince Harry pays tribute to the Queen in Jamaica| date=7 March 2012| publisher=BBC| accessdate=31 May 2012}}</ref><ref>{{cite web| url=http://www.gg.ca/document.aspx?id=14382| title=Their Royal Highnesses The Prince of Wales and The Duchess of Cornwall to Undertake a Royal Tour of Canada in 2012| date=14 December 2011| publisher=Office of the Governor General of Canada| accessdate=31 May 2012}}</ref> ต่อมาในวันที่ 4 มิถุนายน ดวงประทีปแห่งการเฉลิมฉลองก็จุดขึ้นทั่วโลก<ref>{{cite web|url=http://www.visitlondon.com/events/special/queens-diamond-jubilee-in-london|title=The Queen's Diamond Jubilee in London|last=Anon|work=Visit London|publisher=London and Partners|accessdate=25 May 2012}}</ref>
 
[[ไฟล์:Queen Elizabeth II 2015 HO3.jpg|left|thumb|upright|สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จฯไปยัง[[สำนักปิตุภูมิ]] เมื่อปี พ.ศ. 2558]]
 
สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดการแข่งขันกีฬา[[โอลิมปิกฤดูร้อน 2012]] ในวันที่ 27 กรกฎาคม และ[[พาราลิมปิกฤดูร้อน 2012]] ในวันที่ 29 สิงหาคม ที่จัดขึ้น ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร นอกจากนี้ยังทรงร่วมแสดงคู่กับ[[แดเนียล เคร็ก]] ผู้รับบทเป็นสายลับ[[เจมส์ บอนด์]] ในภาพยนตร์สั้นซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ[[พิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2012]]<ref>[http://www.bbc.co.uk/news/uk-19018666 How James Bond whisked the Queen to the Olympics] at BBC</ref> ด้านพระราชบิดา สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 ทรงเคยเปิดการแข่งกันกีฬา[[โอลิมปิกฤดูร้อน 1948]] ส่วนพระปัยกา (ปู่ทวด) [[สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร|สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7]] ก็ทรงเคยเปิดการแข่งขันกีฬา[[โอลิมปิกฤดูร้อน 1908]] ซึ่งสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงเคยเสด็จฯ ไปทรงเปิดการแข่งขันกีฬา[[โอลิมปิกฤดูร้อน 1976]] ที่[[มอนทรีออล|นครมอนทรีออล]] ประเทศแคนาดามาแล้วครั้งหนึ่ง ด้านพระราชสวามี [[เจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ|เจ้าชายฟิลิป]] ก็เคยเสด็จฯ ไปทรงเปิดการแข่งขันกีฬา[[โอลิมปิกฤดูร้อน 1956]] ที่[[เมลเบิร์น|นครเมลเบิร์น]] ประเทศออสเตรเลียด้วยเช่นกัน<ref>{{cite web|url=http://www.royal.gov.uk/LatestNewsandDiary/Pressreleases/2012/OpeningOlympicParalympicGames2012.aspx|title=Opening of the Olympic and Paralympic Games|publisher=Royal Household|accessdate=1 March 2012}}</ref> ทำให้สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เป็นพระประมุขแห่งรัฐพระองค์แรกที่ได้ทรงเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2 ครั้งใน 2 ประเทศ<ref>{{cite web|url=http://bellmediapr.ca/olympics/releases/release.asp?id=15365&yyyy=2012 |title=Canada's Olympic Broadcast Media Consortium Announces Broadcast Details for London 2012 Opening Ceremony, Friday |publisher=Bellmediapr.ca |date=24 July 2012 |accessdate=30 July 2012|archiveurl=http://archive.is/UGT3H|archivedate=1 January 2013}}</ref>
 
ในวันที่ 18 ธันวาคม เสด็จพระราชดำเนินไปร่วมการประชุมของคณะรัฐมนตรี ซึ่งนับเป็นพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรพระองค์แรกที่เสด็จฯ ไปร่วมการประชุมของคณะรัฐมนตรีในสภาวะไร้สงครามนับตั้งแต่การเสด็จฯ ของ[[สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร|สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3]] ในปี พ.ศ. 2324 ต่อมาไม่นานรัฐมนตรีต่างประเทศสหราชอาณาจักร วิลเลียม เฮก ก็ประกาศให้ดินแดนตอนใต้ของ[[บริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี|ดินแดนแอนตาร์กติกาของสหราชอาณาจักร]]ที่ยังไม่ได้รับการตั้งชื่อเป็น ''เอลิซาเบธแลนด์'' เพื่อเป็นเกียรติแด่สมเด็จพระราชินีนาถ<ref>{{cite news|title=UK to name part of Antarctica Queen Elizabeth Land|url=http://www.bbc.co.uk/news/uk-politics-20757382|publisher=BBC|date=18 December 2012}}</ref>
 
ในวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556 เสด็จฯ ไปประทับในโรงพยาบาลเพื่อการเฝ้าประเมินอย่างใกล้ชิด หลังจากการกำเริบของพระอาการประชวรด้วยโรค[[กระเพาะอาหารกับลำไส้อักเสบ]] ก่อนที่จะเสด็จฯ กลับไปประทับ ณ พระราชวังบักกิงแฮมในวันถัดมา<ref>{{cite web|title=Queen leaves hospital after stomach bug|url=http://www.bbc.co.uk/news/uk-21659635|publisher=BBC|accessdate=4 March 2013}}</ref> หนึ่งสัปดาห์ต่อมาทรงลงพระปรมาภิไธยในกฎบัตรใหม่ของเครือจักรภพ<ref>{{cite news|title=Recovering Queen signs Commonwealth charter|url=http://www.bbc.com/news/uk-21737817|accessdate=23 October 2016|publisher=BBC News|date=11 March 2013}}</ref> เนื่องจากพระชนมพรรษาที่มากขึ้นทำให้ต้องจำกัดการปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ในปีนั้นเอง พระองค์ตัดสินพระทัยที่จะไม่เสด็จฯร่วมการประชุมรัฐบาลของเครือจักรภพเป็นครั้งแรกในรอบ 40 ปี โดยทรงโปรดเกล้าฯให้ เจ้าชายชาลส์ เสด็จฯแทนพระองค์ในการประชุมที่[[ประเทศศรีลังกา|ศรีลังกา]]<ref>{{cite web| title=Queen to miss Commonwealth meeting| url=http://www.bbc.co.uk/news/uk-22431757| publisher=BBC News| date=7 May 2013| accessdate=7 May 2013}}</ref>
 
สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงครองราชย์ยาวนานแซงหน้า[[สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย]] ผู้เป็นพระมารดาของพระปัยกา (ทวด) ของพระองค์ ทรงเป็นพระราชวงศ์อังกฤษที่มีพระชนมายุมากที่สุด เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 เป็น[[พระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร]]ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์อังกฤษ เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558<ref>{{cite web| url=http://www.huffingtonpost.co.uk/2014/09/06/elizabeth-set-to-beat-victorias-record-as-longest-reigning-monarch-in-british-history_n_5777134.html| title=Elizabeth Set To Beat Victoria's Record As Longest Reigning Monarch In British History| work=[[The Huffington Post]]| date=6 September 2014| accessdate=28 September 2014}}</ref> พระองค์ได้รับการเฉลิมฉลองที่แคนาดาในฐานะ ''"ประมุขที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดในยุคสมัยใหม่ของแคนาดา"'' <ref>{{cite web| url=http://www.gg.ca/document.aspx?id=16168&lan=eng| title=Governor General to Host Special Event in Honour of Her Majesty's Historic Reign| date=9 September 2015| publisher=Office of the Secretary to the Governor General| accessdate=9 September 2015}}</ref> ([[พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส]] ทรงเป็นพระประมุขของแคนาดายาวนานกว่าสมัยที่เป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส)<ref>{{cite web| url=http://news.gc.ca/web/article-en.do?nid=975969| author=Office of the Prime Minister of Canada| title=Statement by the Prime Minister of Canada on the occasion of Victoria Day| date=18 May 2015| publisher=Government of Canada| accessdate=21 May 2015}}</ref> พระองค์ยังเป็นพระราชินีนาถที่ทรงราชย์นานที่สุดในประวัติศาสตร์<ref>{{cite news|last=Williams|first=Kate |url=https://www.theguardian.com/uk-news/2015/sep/06/queen-record-reign-change|title=The Queen's record-long reign has seen Britain's greatest time of change| date=6 September 2015| accessdate=8 September 2015 | work=[[The Guardian]]}}</ref> และพระองค์ทรงเป็น[[รายพระนามพระมหากษัตริย์ซึ่งทรงราชย์อยู่เรียงตามอายุรัชกาล|พระมหากษัตริย์ที่ยังทรงราชย์ยาวนานที่สุดในโลก]] หลังจาก[[การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช|การสวรรคต]]ของ[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] แห่ง[[ประเทศไทย]] เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559<ref>{{cite news|url=http://www.bbc.com/news/world-asia-37643326|title=Thailand's King Bhumibol Adulyadej dies at 88|date=13 October 2016|publisher=BBC News|access-date=13 October 2016}}</ref><ref>{{cite news|author=PA |url=http://www.aol.co.uk/news/2016/10/13/queen-takes-over-longest-reign-mantle-after-thailands-king-bhumibol-dies/ |title=Queen takes over longest reign mantle after Thailand's King Bhumibol dies|publisher=AOL (UK) |date=13 October 2016 |accessdate=13 October 2016}}</ref> วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร พระองค์แรกที่มีการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 65 ปี<ref>{{cite web| last=Rayner| first=Gordon|url=http://www.telegraph.co.uk/news/2017/01/28/blue-sapphire-jubilee-queen-will-not-celebrate-65th-anniversary/|title=The Blue Sapphire Jubilee: Queen will not celebrate 65th anniversary but instead sit in 'quiet contemplation' remembering father's death| work=The Telegraph| date=29 January 2017| accessdate=3 February 2017}}</ref>
 
พระองค์ไม่มีพระราชประสงค์ที่จะสละราชสมบัติ<ref>Brandreth, pp. 370–371; Marr, p. 395</ref> แม้ว่าสัดส่วนของพระราชกรณียกิจสาธารณะของเจ้าชายชาลส์ ผู้ทรงฉลองวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 91 พรรษาและปฏิบัติพระราชกรณียกิจสาธารณะแทนพระองค์เพิ่มขึ้น<ref>{{cite web| last1=Mansey| first1=Kate| last2=Leake| first2=Jonathan| last3=Hellen| first3=Nicholas| url=http://www.thesundaytimes.co.uk/sto/news/uk_news/National/royalwedding/article1365067.ece?CMP=OTH-gnws-standard-2014_01_18|title=Queen and Charles start to 'job-share'| work=[[The Sunday Times]]| date=19 January 2014| accessdate=20 January 2014}}<br />Marr, p. 395</ref> ขณะที่สมเด็จพระราชินีนาถลดพระราชกรณียกิจสาธารณะของพระองค์ลง<ref>{{cite web|author=Owen, Glen; Smith, Martin|url=http://www.dailymail.co.uk/news/article-417251/Key-aides-Windsor-ahead-Queens-retirement.html|title=Key aides move to Windsor ahead of Queen's retirement|work=The Mail on Sunday|date=18 November 2006|accessdate=29 March 2012}}</ref> [[ปฏิบัติการสะพานลอนดอน|แผนสำหรับวันสวรรคตและงานพระศพของพระองค์]]ได้รับการเตรียมพร้อมอย่างแพร่หลายจากรัฐบาลอังกฤษและองค์กรสื่อ<ref>{{cite web|url=https://www.theguardian.com/uk-news/2017/mar/16/what-happens-when-queen-elizabeth-dies-london-bridge|last=Knight|first=Sam|title=Operation London Bridge: the secret plan for the days after the Queen's death|date=16 March 2017|work=The Guardian|accessdate=17 March 2017}}</ref>
 
== มุมมองจากสาธารณชน ==
เนื่องจากพระองค์พระราชทานสัมภาษณ์น้อยครั้งทำให้สาธารณชนทราบถึงพระราชอัธยาสัยส่วนพระองค์ได้น้อยมาก และในฐานะที่เป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ทำให้ไม่สามารถแสดงทัศนะทางการเมืองส่วนพระองค์ในที่สาธารณะได้ ทรงมีพันธกิจด้านศาสนาและสังคมที่หยั่งรากลึกในพระราชหฤทัย อีกทั้งยังทรงกล่าวพระราชดำรัสสาบานพระองค์ในวันขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติอย่างจริงจัง<ref>{{cite news|url=http://news.bbc.co.uk/1/hi/uk/4921120.stm|title=Queen 'will do her job for life'|publisher=BBC|date=19 April 2006|accessdate=4 February 2007}}<br />Shawcross, pp. 194–195</ref> นอกเหนือจากการที่เป็นประมุขสูงสุดแห่ง[[คริสตจักรแห่งอังกฤษ]]อย่างเป็นทางการแล้ว พระองค์ยังทรงเลื่อมใสในคริสตจักรแห่งอังกฤษและ[[คริสตจักรแห่งสกอตแลนด์]]เป็นการส่วนพระองค์อีกด้วย<ref>{{cite web|url=http://www.churchofscotland.org.uk/about_us/how_we_are_organised|title=How we are organised|publisher=Church of Scotland|accessdate=4 August 2011}}</ref> และยังทรงแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ทรงมีต่อศาสนาอื่น ๆ ด้วยการพบปะกับผู้นำนิกายและศาสนาต่าง ๆ เช่น การที่ทรงพบปะกับ[[พระสันตะปาปา]]ถึงสามพระองค์ ได้แก่ [[สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 23]], [[สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2]] และ[[สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16]] ความศรัทธาเลื่อมใสในศาสนาของพระองค์ปรากฏให้เห็นบ่อยครั้งในพระราชดำรัสผ่านทางโทรทัศน์เนื่องในวันคริสต์มาสต์ซึ่งถ่ายทอดไปยังประเทศเครือจักรภพเป็นประจำทุกปี เช่นในปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) ที่มีพระราชดำรัสถึงความสำคัญของคริสต์สหัสวรรษที่ 2 อันเป็นปีที่[[การประสูติของพระเยซู]]ครบรอบ 2000 ปี ดังนี้