ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เสรีภาพทางศาสนา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 10:
 
=== ในประเทศไทย ===
เสรีภาพในการนับถือศาสนาในประเทศไทย มีลักษณะเช่นเดียวกันกับเสรีภาพในเรื่องอื่น ๆ ตามที่บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้บัญญัติรับรองไว้ กล่าวคือ เสรีภาพในการนับถือศาสนา โดยเนื้อหาของการใช้เสรีภาพแล้วเป็นเสรีภาพที่สมบูรณ์และไม่อนุญาตให้มีการจำกัดใด ๆ ได้เลย รัฐหรือหน่วยงานของรัฐไม่มีอำนาจแทรกแซงเสรีภาพในการถือศาสนา<ref>ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์, หลักกฎหมายว่าด้วยสิทธิเสรีภาพ, กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์วิญญูชน, พ.ศ. 25472563.</ref>
 
สำหรับประเทศไทยนั้นเริ่มกล่าวถึงเสรีภาพต่าง ๆ ไว้ในรัฐธรรมนูญไทยฉบับแรกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 24752563 ได้บัญญัติเกี่ยวกับการรับรองเสรีภาพในการนับถือศาสนาไว้ในมาตรา 13 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 หมวด 2 ว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของ ชนชาวสยามความว่า
“บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการ ถือศาสนาหรือลัทธิใด ๆ และย่อมมีเสรีภาพ ในการปฏิบัติพิธีกรรมตามความนับถือของตน เมื่อไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมของประชาชน” แนวความคิดการให้ความคุ้มครองเสรีภาพในการ นับถือศาสนานี้เกิดจากคณะผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญ เห็นว่าการให้เสรีภาพในประเทศไทยไม่มีความชัดเจนแน่นอน ซึ่งไม่อาจเป็นการให้หลักประกันของประชาชนได้ จึงจำเป็นต้องบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญให้ชัดเจน ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศเพื่อเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนว่าผู้ปกครองจะละเมิดมิได้ และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา รัฐธรรมนูญไทยฉบับ หลัง ๆ ทุกฉบับก็ได้วางหลักประกันสิทธิเสรีภาพ ในศาสนาตลอดมา
 
ในส่วนของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันก็ได้บัญญัติรับรองเสรีภาพในการ ถือศาสนาไว้เช่นเดียวกัน แต่มีบางกรณีที่เกิดปัญหาอยู่บ่อยครั้ง คือ กรณีที่ผู้นับถือศาสนาอิสลามที่ศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาของรัฐที่ต้องแต่งกายโดยหญิงมุสลิมต้องคลุมหน้า (หิญาบ) ตามบทบัญญัติของศาสนาอิสลาม แต่ไม่อาจกระทำได้เนื่องจากผู้บริหารการศึกษาอ้างว่าไม่ได้บัญญัติรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญไทย ทำให้เป็นปัญหาแก่ผู้นับถือศาสนาในการปฏิบัติตน จะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้บัญญัติขยายความหมายเสรีภาพในศาสนาในรัฐธรรมนูญ ให้มีรายละเอียดชัดเจนขึ้น ส่งผลให้รัฐต้องอำนวยประโยชน์ให้บุคคลได้รับประโยชน์สมดังสิทธิที่ได้ รับรองไว้ และหลักการอีกประการหนึ่งคือ การใช้เสรีภาพจะต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมือง และไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนด้วย หากมีการใช้เสรีภาพที่ไม่ชอบย่อมจะไม่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้รัฐธรรมนูญยังได้วางหลักไว้ว่าบุคคลจะไม่นับถือศาสนาใด ๆ เลยก็ได้ รัฐจะบังคับให้ราษฎรนับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่งก็ไม่ได้ และยังได้วางหลักประกันความเป็นธรรมต่อบุคคลที่จะไม่ถูกเลือกปฏิบัติอย่างได้เปรียบหรือเสียเปรียบอันเนื่องมาจากความเชื่อทางศาสนาของตน ที่วางหลักไว้เช่นนี้เป็นการนำกรณีที่เคยมีปัญหาการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล มาบัญญัติให้ชัดแจ้งว่าจะเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมเพราะเหตุความเชื่อทางศาสนาไม่ได้
 
=== ในประเทศสหรัฐอเมริกา ===