ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วอยเอจเจอร์ 1"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Samnosphere (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เพิ่มยูอาร์แอล wikipedia.org การแก้ไขแบบเห็นภาพ
Samnosphere (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 244:
<!-- Diagram image -->
<!-- {{Css Image Crop |Image= |bSize= 160px |cWidth= 50 |cHeight= 80 |oTop= 0 |oLeft= 0 |Location= Center}} -->
| style="text-align:left;" | ออกแบบมาเพื่อทำการศึกษา[[สนามแม่เหล็ก]] ของดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ ปฏิกิริยาระหว่าง[[พายุสุริยะ]]ที่มีต่อ[[แม็กนีโตสเฟียร์]]ของดาวเคราะห์แต่ละดวง สนามแม่เหล็กของพื้นที่ระหว่างดวงดาว (interplanetary space) ไปจนถึงเส้นขอบระหว่างพายุสุริยะกับสนามแม่เหล็กของพื้นที่ว่างกลางอวกาศช่องว่างระหว่างดวงดาว (interstellar space) [https://nssdc.gsfc.nasa.gov/nmc/experimentDisplay.do?id=1977-084A-05 เพิ่มเติม]
 
|-
บรรทัด 475:
 
ยานสำรวจ ''วอยเอจเจอร์'' ทั้งสองลำได้เผยการค้นพบที่สำคัญของดาวพฤหัสบดีเป็นจำนวนมาก เช่น เหล่าดาวบริวาร แถบกัมมันตรังสี และวงแหวนของดาวพฤหัสบดีที่ไม่เคยค้นพบมาก่อน
 
{{Clear}}<gallery mode="packed" heights="180">
ไฟล์:Jupiter from Voyager 1 PIA02855 thumbnail 300px max quality.ogv|วิดีโอลำดับเวลาการบินเข้าใกล้ดาวพฤหัสบดีของยาน ''วอยเอจเจอร์ 1'' ([[:ไฟล์:Jupiter from Voyager 1 PIA02855 max quality.ogv|ดูวิดีโอฉบับเต็ม]])
ไฟล์:Great Red Spot From Voyager 1.jpg|ภาพถ่าย[[จุดแดงใหญ่]] (Great Red Spot) บนดาวพฤหัสบดีซึ่งเป็นพายุขนาดยักษ์หมุนทวนเข็มนาฬิกาที่มีขนาดใหญ่กว่าโลก
เส้น 514 ⟶ 515:
ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1998 ยานสำรวจ ''วอยเอจเจอร์ 1'' โคจรที่ระยะห่าง 69 [[หน่วยดาราศาสตร์]]จากดวงอาทิตย์ ซึ่งมากกว่าระยะที่ยาน[[ไพโอเนียร์ 10]] ที่เคยเป็นยานอวกาศที่โคจรห่างจากโลกมากที่สุด<ref name="cnn.9802">{{cite news|title=Voyager 1 now most distant man-made object in space|url=http://edition.cnn.com/TECH/space/9802/17/nasa.distant.objects/|publisher=CNN|accessdate=July 1, 2012|archiveurl=https://www.webcitation.org/68pdJn9M5?url=http://edition.cnn.com/TECH/space/9802/17/nasa.distant.objects/|archivedate=July 1, 2012|date=February 17, 1998|deadurl=yes|df=mdy-all}}</ref><ref name="g.2013sep13">{{cite news|last=Clark|first=Stuart|title=Voyager 1 leaving solar system matches feats of great human explorers|url=https://www.theguardian.com/science/across-the-universe/2013/sep/13/voyager-1-solar-system-great-explorers|newspaper=The Guardian|date=September 13, 2013}}</ref> นอกจากนี้ยานยังเดินทางด้วยความเร็วประมาณ 17 กิโลเมตรต่อวินาที (11 ไมล์ต่อวินาที)<ref name="goo.50">{{cite book|url=https://books.google.com/books?id=-vZ0BVSHix4C&pg=PA62|title=If the Universe is Teeming with Aliens … WHERE IS EVERYBODY?: Fifty Solutions to the Fermi Paradox and the Problem of Extraterrestrial Life|isbn=978-0-387-95501-8|last=Webb|first=Stephen|date=October 4, 2002}}</ref> ซึ่งเป็นความเร็วถอยห่างจากดวงอาทิตย์ (recession speed) ที่มากที่สุดเมื่อเทียบกับยานอวกาศทุกลำ<ref name="dd.fast">{{cite web|url=http://www.daviddarling.info/encyclopedia/F/fastest_spacecraft.html|title=Fastest Spacecraft|first=David|last=Darling|accessdate=August 19, 2013}}</ref>
 
ยาน ''วอยเอจเจอร์ 1'' ได้เดินทางเข้าสู่อวกาศชั้นมวลสารช่องว่างระหว่างดวงดาว (interstellar space) มีการใช้อุปกรณ์ตรวจวัดเพื่อทำการศึกษาระบบสุริยะอย่างต่อเนื่อง นักวิทยาศาสตร์ของศูนย์ปฏิบัติการเครื่องยนต์ไอพ่น (JPL) ได้เปิดใช้งานอุปกรณ์ปล่อยคลื่นพลาสมาที่ติดตั้งอยู่บนทั้งยาน ''วอยเอจเจอร์ 1'' และ ''2'' เพื่อทำการศึกษาเฮลิโอพอส (heliopause) ซึ่งเป็นแนวเขตที่[[ลมสุริยะ]] (solar wind) ได้ถูกหยุดลงเพราะเป็นบริเวณแรงดันของ[[มวลสารระหว่างดาว]] (interstellar medium) กับลมสุริยะเข้าสู่สมดุลกัน<ref name="nasa.int">{{cite web|url=https://voyager.jpl.nasa.gov/mission/interstellar.html|publisher=JPL|title=Voyager 1 in heliopause|accessdate=August 18, 2013}}</ref> ในปี ค.ศ. 2013 ยานสำรวจโคจรด้วยความเร็วสัมพัทธ์กับดวงอาทิตย์ประมาณ 17,030 เมตรต่อวินาที (55,900 ฟุตต่อวินาที)<ref name="nasa.201309062">{{cite web|url=https://voyager.jpl.nasa.gov/mission/weekly-reports/|title=Voyager Mission Operations Status Report # 2013-09-06, Week Ending September 6, 2013|publisher=JPL|accessdate=September 15, 2013}}</ref> และในปัจจุบันยาน ''วอยเอจเจอร์ 1'' โคจรโดยคงความเร็วคงที่ 325 ล้านไมล์ (523×10<sup>6</sup> กิโลเมตร) ต่อปี<ref>{{cite news|last=Wall|first=Mike|url=https://www.space.com/22729-voyager-1-spacecraft-interstellar-space.html|title=It's Official! Voyager 1 Spacecraft Has Left Solar System|work=Space.com|date=September 12, 2013|accessdate=May 30, 2014}}</ref> หรือประมาณ 1 [[ปีแสง]] (light-year) ใน 18,000 ปี
 
=== กำแพงกระแทก (Termination Shock) ===
เส้น 526 ⟶ 527:
วันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 2010 ไมีการยืนยันว่ายานสำรวจ ''วอยเอจเจอร์ 1'' เดินทางผ่านขอบเขตของการขยายตัวของ[[ลมสุริยะ]] โดยใช้ข้อมูลที่ได้จากเครื่องตรวจวัดอนุภาคมีประจุพลังงานต่ำ (Low Energy Charged Particle: LECP) นักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งข้อสันนิษฐานว่าลมสุริยะในบริเวณนี้มีทิศทางไหลย้อนกลับอันเนื่องมาจากสสารระหว่างดาว (interstellar) ที่พยายามไหลต้านกับเฮลิโอสเฟียร์ (heliosphere) และในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2010 มีการตรวจพบว่าลมสุริยะมีค่าคงที่เป็นศูนย์ ซึ่งสามารถใช้สนับสนุนข้อสันนิษฐานนี้ได้เป็นอย่างดี<ref name="nasa.36121">{{cite web|url=http://solarsystem.nasa.gov/news/display.cfm?News_ID=36121|title=Voyager 1 Sees Solar Wind Decline|publisher=NASA|date=December 13, 2010|accessdate=September 16, 2013|deadurl=yes|archiveurl=https://www.webcitation.org/617oC2rqu?url=http://solarsystem.nasa.gov/news/display.cfm?News_ID=36121|archivedate=August 22, 2011|df=mdy-all}}</ref><ref name="Krimigis2011">{{Cite journal|last1=Krimigis|first1=S. M.|last2=Roelof|first2=E. C.|last3=Decker|first3=R. B.|last4=Hill|first4=M. E.|title=Zero outward flow velocity for plasma in a heliosheath transition layer|doi=10.1038/nature10115|journal=Nature|volume=474|issue=7351|pages=359–361|year=2011|pmid=21677754|pmc=|bibcode=2011Natur.474..359K}}</ref> ในวันนั้นยานโคจรห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 116 หน่วยดาราศาสตร์ หรือประมาณ 17.3 พันล้านกิโลเมตร (10.8 พันล้านไมล์)<ref name="bbc.11988466">{{cite news|url=https://www.bbc.co.uk/news/science-environment-11988466|title=Voyager near Solar System's edge|first=Jonathan|last=Amos|work=BBC News|date=December 14, 2010|accessdate=December 21, 2010}}</ref>
 
ยานสำรวจ ''วอยเอจเจอร์ 1'' ได้รับคำสั่งให้เปลี่ยนทิศทางเพื่อทำการตรวจวัดการเลี้ยวเบนของลมสุริยะบริเวณตำแน่งนี้ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2011 (ประมาณ 33 ปีหลังการปล่อยยาน) ภายหลังการทดสอบการหมุนตัวของยานที่แล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ ทำให้ยานมีความพร้อมที่จะถูกควบคุมให้เปลี่ยนทิศทางได้อีกครั้ง โดยยังคงเส้นทางโคจรไว้เช่นเดิม แต่จะหมุนทิศทางของยานไป 70 องศาทวนเข็มนาฬิกาเมื่อเทียบกับโลกเพื่อทำการตรวจจับลมสุริยะ (ถือเป็นครั้งแรกที่มีการบังคับตัวยานครั้งใหญ่นับตั้งแต่การถ่าย[[ภาพครอบครัวสุริยะ]]ในปี ค.ศ. 1990) โดยหลังจากทดสอบการหมุนตัวยานในครั้งแรกพบว่าตัวยานสามารถหมุนตัวกลับมาหาดาว[[แอลฟาคนครึ่งม้า]] (α-Centauri) ซึ่งเป็นดาวนำทางของยาน ''วอยเอจเจอร์ 1'' ได้โดยไม่พบปัญหาใดๆ นอกจากนี้ยังสามารถส่งสัญญาณกลับมายังโลกได้อีกครั้งด้วย คาดว่ายาน ''วอยเอจเจอร์ 1'' เดินทางเข้าสู่อวกาศชั้นมวลสารช่องว่างระหว่างดวงดาว (interstellar space) ไปแล้วโดยไม่ทราบวันเวลาแน่ชัด ในขณะยาน ''วอยเอจเจอร์ 2'' ยังคงกำลังตรวจวัดการไหลออกของลมสุริยะที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งซึ่งคาดว่าน่าจะตามหลังยาน ''วอยเอจเจอร์ 1'' ในแง่ของเหตุการณ์ที่ได้พบไปประมาณหลายเดือนหรือหลายปี<ref name="nasa.mission">{{cite web|author=NASA|url=https://voyager.jpl.nasa.gov/news/answer_wind.html|title=Voyager – The Interstellar Mission|publisher=NASA|accessdate=September 16, 2013}}</ref><ref name="bbc.12688246">{{cite news|url=https://www.bbc.co.uk/news/science-environment-12688246|work=BBC News|title=Voyager: Still dancing 17 billion km from Earth|date=March 9, 2011}}</ref>
 
ปัจจุบันตำแหน่งของยานสำรวจ ''วอยเอจเจอร์ 1'' ณ วันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 2019 เทียบจากโลกตามพิกัดศูนย์สูตร (equatorial coordinates) คือ[[เดคลิเนชัน]]ที่ 12 องศา 27 ลิปดา, [[ไรต์แอสเซนชัน]]ที่ 17 ชั่วโมง 14 นาที และ[[ละติจูดสุริยะ]]ที่ 35 องศา (ละติจูดสุริยะจะเปลี่ยนช้ามาก) ซึ่งเป็นตำแหน่งของ[[กลุ่มดาวคนแบกงู]] (Ophiuchus)<ref name="faq3" />
 
ในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 2011 มีการประกาศว่ายาน ''วอยเอจเจอร์ 1'' ได้ตรวจพบรังสีช่วง[[:en:Lyman_series|ไลแมน-อัลฟา]] (Lyman-alpha) ที่มีจุดกำเนิดมาจากดาราจักร[[ทางช้างเผือก]] (Milky Way) ได้เป็นครั้งแรก จากปกติยานจะพบแต่รังสีช่วงไลแมน-อัลฟาที่มาจากดาราจักรอื่นๆ รังสีที่มาจากดาราจักรทางช้างเผือกจะถูกรบกวนจากดวงอาทิตย์ ทำให้ไม่สามารถตรวจจับได้<ref name="ng.111201">{{cite web|url=https://news.nationalgeographic.com/news/2011/12/111201-voyager-probes-milky-way-light-hydrogen-sun-nasa-space|title=Voyager Probes Detect "invisible" Milky Way Glow|publisher=National Geographic|date=December 1, 2011|accessdate=December 4, 2011}}</ref>
 
องค์การนาซ่าได้ประกาศในวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 2011 ว่ายาน ''วอยเอจเจอร์ 1'' ได้โคจรเข้าสู่อวกาศพื้นที่ใหม่ที่เรียกว่า "cosmic purgatory" ซึ่งเป็นชื่อเรียกพื้นที่สแตกเนชัน (stagnation) กล่าวคือ ภายในพื้นที่นี้อนุภาคมีประจุที่ปลดปล่อยออกมาจากดวงอาทิตย์จะเคลื่อนที่ช้าลงและเริ่มเคลื่อนที่ย้อนกลับ และด้วยสนามแม่เหล็กของระบบสุริยะที่มากกว่าสนามแม่เหล็กของช่องว่างระหว่างดวงดาว (interstellar space) ถึงสองเท่านั้นได้ก่อให้เกิดเป็นแรงดันขึ้น อนุภาคมีพลังงานที่มีจุดกำเนิดมาจากระบบสุริยะจะลดลงเกือบกึ่งหนึ่ง ขณะที่มีการตรวจพบอิเล็กตรอนพลังงานสูงจากบริเวณภายนอกมากถึง 100 ทบ เส้นขอบส่วนในของพื้นที่สแตกเนชันนี้อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 113 หน่วยดาราศาสตร์<ref name="cnn.20111206">{{cite news|url=http://lightyears.blogs.cnn.com/2011/12/06/spacecraft-enters-cosmic-purgatory/|title=Spacecraft enters 'cosmic purgatory'|date=December 6, 2011|accessdate=December 7, 2011|work=CNN}}</ref>
 
== อนาคตของยานสำรวจฯ ==