ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ป๋วย อึ๊งภากรณ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Kinkku Ananas (คุย | ส่วนร่วม)
→‎การศึกษา: เพิ่มวิกิลิงก์และแก้ตัวสะกด
บรรทัด 47:
ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2477]] ป๋วยได้สมัครเข้าเรียนต่อที่ [[มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง]] เป็นนักศึกษารุ่นแรก ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีการบังคับให้เข้าชั้นเรียน ทางมหาวิทยาลัยได้จัดพิมพ์คำบรรยายออกจำหน่ายในราคาถูก วิชาละประมาณ 2 บาท เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนที่กำลังทำงานอยู่สามารถศึกษาเองได้ ป๋วยใช้เวลาในตอนค่ำและวันหยุดเรียนอยู่ 4 ปี ก็สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางกฎหมาย การเมืองและเศรษฐการ([[ธรรมศาสตรบัณฑิต|หลักสูตรธรรมศาสตรบัณฑิต]], ธ.บ.) ซึ่งจัดการศึกษาในลักษณะสหสาขาวิชา เพื่อให้นักศึกษามีโอกาสประกอบอาชีพได้อย่างกว้างขวาง และมีความรู้ในลักษณะเป็นองค์รวม โดยสำเร็จการศึกษาในปี [[พ.ศ. 2480]] หลังจากนั้น ก็ลาออกจากโรงเรียนอัสสัมชัญ มาทำงานเป็นล่ามภาษาฝรั่งเศส ให้แก่อาจารย์ชาวฝรั่งเศสผู้หนึ่ง ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง
 
ในเดือนเมษายน [[พ.ศ. 2481]] ป๋วยสอบชิงทุนรัฐบาลได้ไปเรียนระดับ[[ปริญญาตรี]] สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์และการคลัง ที่ London School of Economics & Political Science (LSE)[[วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน]] แห่ง[[มหาวิทยาลัยลอนดอน]] ซึ่งหลังจากนั้นอีกเพียง 6 เดือน มารดาของป๋วยก็เสียชีวิตลง ป๋วยใช้เวลาสามปีก็สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ป๋วยเป็นนักเรียนดีเด่น และเป็นศิษย์เอกของ [[เฟรเดอริกฟรีดริช ฮาเย็กไฮเอ็ค|ศาสตราจารย์เฟรเดอริกฟรีดริช ฮาเย็กไฮเอ็ค]] (ซึ่งได้รับ [[รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์]] ในปี [[พ.ศ. 2517]]) ป๋วยเป็นคนไทยคนเดียว ในมหาวิทยาลัยนี้ที่สอบได้คะแนนสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง ในบรรดาเกียรตินิยมอันดับหนึ่งด้วยกันในปี [[พ.ศ. 2485]] โดยได้เกรดเอแปดวิชา และเกรดบีหนึ่งวิชา
 
จากผลการเรียนอันดีเด่นของป๋วย ทำให้ได้รับทุนลีเวอร์ฮูล์ม สามารถศึกษาต่อระดับปริญญาเอกได้ทันที แต่ในระหว่างนั้น เกิด[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] ขึ้น ทำให้ป๋วยตัดสินใจทำงานเพื่อชาติ ทำให้ป๋วยจบ[[ปริญญาเอก]]ภายหลังสงครามยุติในปี [[พ.ศ. 2491]] ป๋วยก็ได้เรียนสำเร็จปริญญาเอก โดยใช้เวลาสามปีทำวิทยานิพนธ์ "เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการควบคุมดีบุก"