ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาเยอรมัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
PointlessUsername (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
PointlessUsername (คุย | ส่วนร่วม)
→‎สัทวิทยา: แปลมาจากหน้าภาษาอังกฤษที่ en:German language
บรรทัด 45:
 
การใช้เครื่องหมายคำพูดในภาษาเยอรมัน นิยมใช้เครื่องหมายกลับด้านออก เช่น ''{{lang|de|„Guten Morgen!“}}''
 
== สัทวิทยา ==
 
=== เสียงสระ ===
เสียงสระภาษาเยอรมัน (นอกเหนือสระประสม) สามารถมีเสียงสั้นหรือยาวได้ ดังนี้
{| class="wikitable"
!รูปสระ
! A !! Ä !! E !! I !! O !! Ö !! U !! Ü
|-
! เสียงสั้น
| {{IPA|/a/}} || {{IPA|/ɛ/}} || {{IPA|/ɛ/, /ə/}} || {{IPA|/ɪ/}} || {{IPA|/ɔ/}} || {{IPA|/œ/}} || {{IPA|/ʊ/}} || {{IPA|/ʏ/}}
|-
! เสียงยาว
| {{IPA|/aː/}} || {{IPA|/ɛː/, /eː/}} || {{IPA|/eː/}} || {{IPA|/iː/}} || {{IPA|/oː/}} || {{IPA|/øː/}} || {{IPA|/uː/}} || {{IPA|/yː/}}
|}
เสียง {{IPA|/ɛ/}} ออกเสียงเป็น {{IPA|[ɛ]}} ในพยางค์ที่ลงน้ำหนัก แต่เป็น {{IPA|[ə]}} เมื่อไม่ลงน้ำหนัก เสียง {{IPA|/ɛ/}} ที่สั้นและลงน้ำหนัก ตรงกับรูปเขียนทั้ง ''e'' กับ ''ä'' เช่น ''{{lang|de|hätte}}'' ("จะมี") กับ ''{{lang|de|Kette}}'' ("โซ่") คล้องจองกัน โดยทั่วไปแล้วสระเสียงสั้นจะเป็นสระเปิด และเสียงยาวเป็นสระปิด เว้นแต่เสียง {{IPA|/ɛː/}} อันเป็นสระเปิดเสียงยาว ตรงกับรูปสระ ''ä'' แต่ในภาษาเยอรมันมาตรฐานบางสำเนียง เสียง {{IPA|/ɛ/}} กับ {{IPA|/eː/}} ได้หลอมรวมกันเป็นเสียง {{IPA|[eː]}} เสียงเดียว ข้อยกเว้นนี้จึงไม่มี ในกรณีของสำเนียงเหล่านี้ จะมีคู่ของคำพ้องเสียงเช่น ''{{lang|de|Bären/Beeren}}'' ("หมี/เบอร์รี่") หรือ ''{{lang|de|Ähre/Ehre}}'' ("รวงข้าว/เกียรติยศ")
 
ในภาษาเยอรมันมาตรฐานหลายสำเนียง เสียง {{IPA|/ɛr/}} ที่ไม่ลงน้ำหนัก จะไม่เป็นเสียง {{IPA|[ər]}} แต่เป็นสระ {{IPA|[ɐ]}}
 
การสังเกตว่ารูปสระแต่ละตัว ออกเสียงสั้นหรือเสียงยาว ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว แต่ก็มีหลักการเหล่านี้:
 
* หากสระ (ยกเว้น ''i'') อยู่ท้ายสุดพยางค์ หรือตามหลังด้วยพยัญชนะตัวเดียว มักออกเสียงยาว (เช่น ''{{lang|de|Hof}}'' {{IPA|[hoːf]}})
* หากสระตามด้วยตัว ''h'' และ สระ ''i'' ที่ตามด้วย ''e'' จะออกเสียงยาว
* หากสระตามด้วยพยัญชนะคู่ (เช่น ''ff'' ''ss'' หรือ ''tt'') ทวิอักษร ''ck'' ''tz'' หรือพยัญชนะผสม (เช่น ''st'' หรือ ''nd'') มักออกเสียงสั้นแทบจะเสมอ (เช่น ''{{lang|de|hoffen}}'' {{IPA|[ˈhɔfən]}}) ซึ่งพยัญชนะคู่ในภาษาเยอรมันใช้เพื่อแสดงความยาวสระในลักษณะนี้เท่านั้น ตัวพยัญชนะเสียงไม่เปลี่ยนไป
 
หลักเหล่านี้ล้วนมีข้อยกเว้น เช่น ''{{lang|de|hat}}'' {{IPA|[hat]}} ("มี") เสียงสั้น ขัดกับหลักข้อแรก และ ''{{lang|de|Mond}}'' {{IPA|[moːnt]}} ("ดวงจันทร์") เสียงยาว ขัดกับข้อสาม ในบางกรณีอาจมีความแตกต่างในการออกเสียงระหว่างพื้นที่ เช่น ในเยอรมนีกลาง ([[รัฐเฮ็สเซิน|เฮ็สเซิน]]) ตัว ''o'' ในชื่อ ''Hoffmann'' ออกเสียงยาว แต่คนเยอรมันรัฐอื่น ๆ จะออกเสียงสั้น คำว่า ''{{lang|de|Städte}}'' ("เมือง") บางคนออกเสียงสั้นเป็น {{IPA|[ˈʃtɛtə]}} (เช่น [[ดัสแอร์สเทอ|ARD]] Television) บางคนออกเสียงยาวเป็น {{IPA|[ˈʃtɛːtə]}} (เช่น ZDF Television) ลำดับสุดท้าย คำที่สระอยู่หน้า[[ทวิอักษร]] ''ch'' ไม่มีหลักการบอกว่าจะออกเสียงสั้น เช่น ''{{lang|de|Fach}}'' {{IPA|[fax]}} ("ลิ้นชัก") กับ ''{{lang|de|Küche}}'' {{IPA|[ˈkʏçə]}} ("ครัว") หรือยาว เช่น ''{{lang|de|Suche}}'' {{IPA|[ˈzuːxə]}} ("ค้นหา") กับ ''{{lang|de|Bücher}}'' {{IPA|[ˈbyːçɐ]}} ("หนังสือ") โดยลักษณะนี้ คำว่า ''{{lang|de|Lache}}'' เป็นคำพ้องรูปที่อาจออกเสียงสั้น {{IPA|[laxə]}} ("ลักษณะการหัวเราะ") หรือยาว {{IPA|[laːxə]}} ("บ่อน้ำ") และยังตรงกับคำสั่งว่า ''{{lang|de|lache!}}'' ("หัวเราะ!")
 
สระภาษาเยอรมันสามารถเกิดเป็นทวิอักษร(ในการเขียน) และสระประสม(ในการออกเสียง) ดังตาราง ซึ่งการออกเสียงอาจไม่ตรงกับที่มองเห็นในรูปเสมอไป
{| class="wikitable"
! รูป
| ai, ei, ay, ey || au || äu, eu
|-
! เสียง
| {{IPA|/aɪ̯/}} || {{IPA|/aʊ̯/}} || {{IPA|/ɔʏ̯/}}
|}
นอกจากนี้ยังมีทวิอักษร ''ie'' ซึ่งตรงกับเสียงสระ {{IPA|/iː/}} ไม่ได้เป็นสระประสม ในภาษาเยอรมันหลายสำเนียงเสียง {{IPA|/r/}} ที่ท้ายพยางค์จะออกเสียงเป็นสระ แต่เสียงสระที่ตามด้วยเสียงสระของตัว {{IPA|/r/}} นี้ไม่เป็นสระประสมในทางสัทศาสตร์ (เช่น ในคำว่า ''{{lang|de|Bär}}'' {{IPA|[bɛːɐ̯]}} "หมี", ''{{lang|de|er}}'' {{IPA|[eːɐ̯]}} "เขา", ''{{lang|de|wir}}'' {{IPA|[viːɐ̯]}} "เรา", ''{{lang|de|Tor}}'' {{IPA|[toːɐ̯]}} "ประตู", ''{{lang|de|kurz}}'' {{IPA|[kʊɐ̯ts]}} "สั้น", ''{{lang|de|Wörter}}'' {{IPA|[vœɐ̯tɐ]}} "คำ")
 
ในสำเนียงส่วนใหญ่ พยางค์ที่ขึ่นต้นด้วยสระ จะมี[[เสียงกัก เส้นเสียง|เสียงกักเส้นเสียง]] {{IPA|[ʔ]}} (เสียงตัว อ) กั้น
 
=== เสียงพยัญชนะ ===
ภาษาเยอรมันมี[[หน่วยเสียง]]พยัญชนะประมาณ 25 เสียง ซึ่งถือว่าปานกลางเมื่อเทียบกับภาษาอื่น เสียงที่ค่อนข้างเป็นเอกลักษณ์คือ เสียงกักเสียดแทรก {{IPA|/p͡f/}} เสียงพยัญชนะในภาษามาตรฐานเป็นดังตาราง
{| class="wikitable" style="text-align:center"
!
! [[เสียงพยัญชนะริมฝีปาก|ริมฝีปาก]]
! [[เสียงพยัญชนะปุ่มเหงือก|ปุ่มเหงือก]]
! [[เสียงพยัญชนะเพดานแข็ง|เพดานแข็ง]]
! [[เสียงพยัญชนะเพดานอ่อน|เพดานอ่อน]]
! [[เสียงพยัญชนะลิ้นไก่|ลิ้นไก่]]
! [[เสียงพยัญชนะเส้นเสียง|เส้นเสียง]]
|-
! [[เสียงพยัญชนะนาสิก|นาสิก]]
| {{IPA|m}}
| {{IPA|n}}
|
| {{IPA|ŋ}}
|
|
|-
! [[เสียงพยัญชนะกัก|กัก]]
| {{IPA|p}}<sup>3</sup>&nbsp;&nbsp;{{IPA|b}}
| {{IPA|t}}<sup>3</sup>&nbsp;&nbsp;{{IPA|d}}
|
| {{IPA|k}}<sup>3</sup>&nbsp;&nbsp;{{IPA|ɡ}}
|
|
|-
! [[เสียงพยัญชนะกักเสียดแทรก|กักเสียดแทรก]]
| {{IPA|pf}}
| {{IPA|ts}}
| {{IPA|tʃ}}&nbsp;&nbsp;({{IPA|dʒ}})<sup>4</sup>
|
|
|
|-
! [[เสียงพยัญชนะเสียดแทรก|เสียดแทรก]]
| {{IPA|f}}&nbsp;&nbsp;{{IPA|v}}
| {{IPA|s}}&nbsp;&nbsp;{{IPA|z}}
| {{IPA|ʃ}}&nbsp;&nbsp;({{IPA|ʒ}})<sup>4</sup>
| {{IPA|x}}<sup>1</sup>
| {{IPA|(ʁ)}}<sup>2</sup>
| {{IPA|h}}
|-
! [[เสียงพยัญชนะรัว|รัว]]
|
| {{IPA|r}}<sup>2</sup>
|
|
| {{IPA|(ʀ)}}<sup>2</sup>
|
|-
! [[เสียงพยัญชนะข้างลิ้น|ข้างลิ้น]]
|
| {{IPA|l}}
| {{IPA|j}}
|
|
|
|}
* <sup>1</sup>{{IPA|/x/}} มีเสียงย่อยสองแบบคือ {{IPA|[x]}} และ {{IPA|[ç]}} เมื่ออยู่หลังสระหลังและสระหน้า ตามลำดับ
* <sup>2</sup>{{IPA|/r/}} มีเสียงย่อยได้สามแบบอย่างอิสระ: {{IPA|[r]}} {{IPA|[ʁ]}} และ {{IPA|[ʀ]}} และท้ายพยางค์พบ {{IPA|[ɐ]}} ในหลายสำเนียง
* <sup>3</sup> เสียงกัก ไม่ก้อง {{IPA|/p/}} {{IPA|/t/}} {{IPA|/k/}} เป็นเสียงพ่นลม เว้นแต่เมื่อตามหลังเสียงพยัญชนะเสียดแทรกเหมือนอังกฤษ
* <sup>4</sup>{{IPA|/d͡ʒ/}} และ {{IPA|/ʒ/}} พบในคำที่มาจากภาษาอื่น (มักเป็นอังกฤษและฝรั่งเศส)
* เมื่อพยางค์ที่ลงน้ำหนักขึ้นต้นด้วยสระ จะมีเสียง {{IPA|[ʔ]}} เนื่องจากเสียงนี้เห็นได้จากบริบท จึงไม่ถือเป็นหน่วยเสียง
 
=== การสะกดพยัญชนะ ===
 
* '''c''' อยู่โดด ๆ ไม่เป็นอักษรเยอรมันแท้จริง ในคำยืมมักออกเสียง {{IPA|[t͡s]}} (หน้า ä, äu, e, i, ö, ü, y) หรือ {{IPA|[k]}} (หน้า a, o, u, และพยัญชนะ) ชุดอักษร '''ck''' ใช้แสดงว่าสระตัวหน้าออกเสียงสั้นเหมือนภาษาอังกฤษ
* '''ch''' พบบ่อย ออกเสียง {{IPA|[ç]}} (หลัง ä, ai, äu, e, ei, eu, i, ö, ü หรือพยัญชนะ ในปัจจัย ''{{lang|de|-chen}}'' และเมื่อเริ่มต้นคำ) {{IPA|[x]}} (หลัง a, au, o, u) หรือ {{IPA|[k]}} (เมื่อเริ่มต้นคำ ประกอบกับตามด้วย a, o, u หรือพยัญชนะ) '''Ch''' ไม่พบในตำแหน่งเริ่มต้นของคำเยอรมันแท้ สำหรับคำยืมที่ Ch อยู่ก่อนสระหน้า (เช่น ''{{lang|de|Chemie}}'' "เคมี") จะออกเสียง {{IPA|[ç]}} เป็นมาตรฐาน แต่ชาวเยอรมันทางตอนใต้และ[[ฟรังเคิน]] จะแทนที่เสียงนี้ด้วย {{IPA|[k]}} สำหรับสระอื่น ๆ และพยัญชนะ ทุกสำเนียงจะใช้ {{IPA|[k]}} เช่นใน ''{{lang|de|Charakter}}'' ("นิสัยใจคอ") และ ''{{lang|de|Christentum}}'' ("คริสตศาสนา")
* '''dsch''' ออกเสียง {{IPA|[d͡ʒ]}} (เช่น ''{{lang|de|Dschungel}}'' {{IPA|/ˈd͡ʒʊŋəl/}} "ป่าดิบชื้น") แต่พบเฉพาะใน[[คำทับศัพท์]]ไม่กี่คำ
* '''f''' ออกเสียง {{IPA|[f]}}
* '''h''' ออกเสียง {{IPA|[h]}} เมื่อเริ่มต้นพยางค์ เมื่อไปอยู่หลังสระจะไม่ออกเสียง แต่จะทำให้สระออกเสียงยาว (เช่น ''{{lang|de|Reh}}'' {{IPA|[ʁeː]}} เป็นกวางประเภทหนึ่ง)
* '''j''' ออกเสียง {{IPA|[j]}} ในคำเยอรมันแท้ (''{{lang|de|Jahr}}'' {{IPA|[jaːɐ̯]}} "ปี") ในคำทับศัพท์มักออกเสียงตามภาษาต้นทาง
* '''l''' ออกเสียง {{IPA|[l]}} เสมอ ไม่ใช่เสียง {{IPA|*[ɫ]}} (ต่างจากอังกฤษ ซึ่ง l ออกเสียง {{IPA|[ɫ]}} ท้ายคำ เช่น ''ball'')
* '''q''' มีเฉพาะอยู่หน้า '''u''' ออกเสียง {{IPA|[kv]}} ซึ่งพบทำคำเยอรมันแท้และคำละติน (''{{lang|de|quer}}'' {{IPA|[kveːɐ̯]}} "ตามขวาง"; ''{{lang|de|Qualität}}'' {{IPA|[kvaliˈtɛːt]}} "คุณภาพ") โดยคำส่วนใหญ่เป็นคำละติน ทำให้ตัว q หาได้ยากยิ่งกว่าในภาษาอังกฤษเสียอีก
* '''r''' โดยปกติจะออกเสียงจากลิ้นไก่ (เสียงเสียดแทรก ลิ้นไก่ ก้อง {{IPA|[ʁ]}} หรือเสียงรัวลิ้นไก่ {{IPA|[ʀ]}}) เมื่ออยู่หน้าสระหรือพยัญชนะ (''{{lang|de|Rasen}}'' {{IPA|[ˈʁaːzən]}} "สนาม"; ''{{lang|de|Burg}}'' {{IPA|[bʊʁk]}} "ปราสาท") แต่ในภาษาพูด เมื่อตามหลังเสียงสระ มักจะถูกออกเสียงเป็นสระไปด้วย (''{{lang|de|er}}'' ออกเสียงเป็น {{IPA|[ˈɛɐ̯]}}&nbsp;– ''{{lang|de|Burg}}'' {{IPA|[bʊɐ̯k]}}) ในบางสำเนียง '''r''' ออกเสียงที่ปลายลิ้น (เป็นเสียงรัวลิ้น {{IPA|[r]}} ตรงกับตัว ร กระดกลิ้น ในภาษาไทย)
* '''s''' ออกเสียง {{IPA|[z]}} เมื่ออยู่หน้าพยางค์ (เช่น ''{{lang|de|Sohn}}'' {{IPA|[zoːn]}} "ลูกชาย") นอกเหนือจากนั้นเป็น {{IPA|[s]}} (เช่น ''{{lang|de|Bus}}'' {{IPA|[bʊs]}} "รถบัส") ในออสเตรีย สวิตเซอร์แลนด์ และเยอรมนีใต้จะออกเสียง {{IPA|[s]}} เมื่อเริ่มพยางค์ด้วย หากมีสองตัวเป็น '''ss''' {{IPA|[s]}} จะบ่งชี้ว่าสระที่อยู่หน้าออกเสียงสั้น อักษร '''st''' และ '''sp''' ที่อยู่หน้าคำเยอรมันแท้จะออกเสียง {{IPA|[ʃt]}} และ {{IPA|[ʃp]}} ตามลำดับ
* '''ß''' (ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของภาษาเยอรมัน) มีต้นกำเนิดจากรูปอักษร '''ss''' และ '''sz''' ซึ่งออกเสียง {{IPA|[s]}} เสมอ โดยแต่เดิมใช้แทน '''ss''' ที่ท้ายพยางค์ (เช่น ''{{lang|de|ich muss}}'' → ''{{lang|de|ich muß}}''; ''{{lang|de|ich müsste}}'' → ''{{lang|de|ich müßte}}'') การใช้ '''ß''' ได้ลดบทบาทลงในการปฏิรูประบบเขียนครั้งล่าสุด โดยการใช้ '''ss''' หลังสระเสียงสั้นเสมอ (เช่น ''{{lang|de|ich muß}}'' and ''{{lang|de|ich müßte}}'' ซึ่งใช้ U/Ü เสียงสั้นมาโดยตลอด) และใช้ '''ß''' ตรงข้ามกับ '''ss''' กล่าวคือ บ่งชี้ว่าสระที่อยู่หน้าออกเสียงยาว (เช่น ''{{lang|de|in Maßen}}'' {{IPA|[ɪn ˈmaːsən]}} "โดยไม่มากไป" กับ ''{{lang|de|in Massen}}'' {{IPA|[ɪn ˈmasən]}} "อย่างมากมาย"); สำหรับสวิตเซอร์แลนด์และลิกเตนสไตน์ เลิกใช้อักขระนี้ไปแล้วเมื่อ ค.ศ.1934.<ref>{{cite web|url=http://www.mittelschulvorbereitung.ch/index.php?SUBJECT=&actualid=5|title=Mittelschulvorbereitung Deutsch|publisher=Mittelschulvorbereitung.ch|date=|accessdate=15 March 2010}}</ref>
* '''sch''' ออกเสียง {{IPA|[ʃ]}}
* '''tion''' ในคำทับศัพท์ละติน ออกเสียงเป็น {{IPA|[tsi̯oːn]}}
* '''th''' พบได้ยาก และเฉพาะในคำทับศัพท์ ออกเสียง {{IPA|[t]}} ถ้าทับศัพท์มาจาก[[ภาษากรีก]] ส่วนถ้ามาจากอังกฤษจะออกเสียงเหมือนคำต้นทาง (ผู้พูดบางคน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ มักออกเสียง {{IPA|[s]}} แทน เสียง th อังกฤษ)
* '''v''' ออกเสียง {{IPA|[f]}} ในคำจำนวนไม่มาก ที่เป็นเยอรมันแท้ เช่น ''{{lang|de|Vater}}'' {{IPA|[ˈfaːtɐ]}} ("พ่อ") ''{{lang|de|Vogel}}'' ("นก") {{lang|de|von}} ("จาก, ของ") {{lang|de|vor}} ("ก่อน, หน้า") {{lang|de|voll}} ("เต็ม") และคำอุปสรรค {{lang|de|ver-}} นอกจากนี้ยังพบในคำทับศัพท์ ซึ่งมักออกเสียง {{IPA|[v]}} เช่น ''{{lang|de|Vase}}'' ("แจกัน"), ''{{lang|de|Vikar}}'' ("พระในศาสนาคริสต์") ''{{lang|de|Viktor}}'' (ชื่อคน ใช้ออกเสียงอักษร V) ''{{lang|de|Viper}}'' ("งู") ''{{lang|de|Ventil}}'' ("วาล์ว") ''{{lang|de|vulgär}}'' ("หยาบคาย") และคำทับศัพท์อังกฤษ อย่างไรก็ตาม การออกเสียง {{IPA|[f]}} พบได้ในทางใต้ คำที่ไม่เป็นคำเยอรมันแท้ แต่ "v" ออกเสียงเป็น {{IPA|[f]}} เสมอ มีคำเดียวคือ ''{{lang|de|Eva}}'' ("[[เอวา]]")
* '''w''' ออกเสียง {{IPA|[v]}} (เช่น ''{{lang|de|was}}'' {{IPA|[vas]}} "อะไร")
* '''y''' ออกเสียงยาวเป็น {{IPA|[y]}} หรือเสียงสั้นเป็น {{IPA|[ʏ]}} (เช่น ''{{lang|de|Hygiene}}'' {{IPA|[hyɡi̯ˈeːnə]}} "อนามัย" ; ''{{lang|de|Labyrinth}}'' {{IPA|[labyˈʁɪnt]}} "เขาวงกต" or ''{{lang|de|Gymnasium}}'' {{IPA|/ɡʏmˈnaːzi̯ʊm/}} "โรงเรียนมัธยม") เว้นแต่ใน ''ay'' และ ''ey'' ซึ่งออกเสียงเป็น {{IPA|[aɪ̯]}} ทั้งคู่ สำหรับคำทับศัพท์ส่วนใหญ่จะออกเสียงเหมือนภาษาต้นทาง เช่น ''Style'' หรือ ''Recycling''
* '''z''' ออกเสียง {{IPA|[t͡s]}} เสมอ (e.g. {{lang|de|zog}} {{IPA|[t͡soːk]}}) ยกเว้นในคำทับศัพท์ ถ้าเป็น '''tz''' จะแสดงว่าสระก่อนหน้าเสียงสั้น
 
=== การเลื่อนเสียงพยัญชนะ ===
ภาษาเยอรมันไม่มีเสียงเสียดแทรกฟัน ซึ่งยังคงมีอยู่ในภาษาอังกฤษ (ตรงกับ '''th''') เพราะภาษาเยอรมันได้เกิดการเลื่อนเสียง และสูญเสียเสียงเหล่านี้ไประหว่างศตวรษที่ 8 และ 10<ref>For a history of the German consonants see {{harvp|Cercignani|1979}}.</ref> เห็นได้จากการเปรียบเทียบคำในภาษาอังกฤษกับภาษาเยอรมัน ซึ่งตัว '''th''' ในอังกฤษในหลายคำจะตรงกับ '''d''' ในเยอรมัน เช่น อังกฤษ ''thank →'' เยอรมัน ''{{lang|de|Dank}}''; อังกฤษ ''this/that'' → เยอรมัน ''{{lang|de|dies}}''/''{{lang|de|das}}''; อังกฤษ ''thou'' (สรรพนามบุรุษที่สองในอดีต) → เยอรมัน ''{{lang|de|du}}''; อังกฤษ ''think'' → เยอรมัน ''{{lang|de|denken}}''; อังกฤษ ''thirsty'' → เยอรมัน ''{{lang|de|durstig}}''
 
ในทำนองเดียวกัน '''gh''' ในอังกฤษ ซึ่งปัจจุบันออกเสียงได้หลายแบบ อาจเชื่อมโยงได้กับ '''ch''' ในเยอรมัน: อังกฤษ ''laugh'' → เยอรมัน ''{{lang|de|lachen}}''; อังกฤษ ''through'' → เยอรมัน ''{{lang|de|durch}}''; อังกฤษ ''high'' → เยอรมัน ''{{lang|de|hoch}}''; อังกฤษ ''naught'' → เยอรมัน ''{{lang|de|nichts}}''; อังกฤษ ''light'' → เยอรมัน ''{{lang|de|leicht}}'' หรือ ''{{lang|de|Licht}}''; อังกฤษ ''sight'' → เยอรมัน ''{{lang|de|Sicht}}''; อังกฤษ ''daughter'' → เยอรมัน ''{{lang|de|Tochter}}''; อังกฤษ ''neighbour'' → เยอรมัน ''{{lang|de|Nachbar}}''
 
== อ้างอิง ==