ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาเยอรมัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
PointlessUsername (คุย | ส่วนร่วม)
แปลมาจากหน้าภาษาอังกฤษที่ en:German language
บรรทัด 22:
|mapcaption2= ภาษาเยอรมันในทวีปยุโรป
}}
 
[[ไฟล์:Knowledge German EU map.png|thumb|333px|ผู้รู้ภาษาเยอรมันในกลุ่มประเทศ[[สหภาพยุโรป]]]]
 
'''ภาษาเยอรมัน''' ({{lang-en|German}}; {{lang-de|Deutsch}}) เป็น[[ภาษากลุ่มเจอร์แมนิก]]ด้านตะวันตก และเป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดใน[[สหภาพยุโรป]] ส่วนใหญ่พูดใน[[ประเทศเยอรมนี]] [[ประเทศออสเตรีย|ออสเตรีย]] [[ประเทศลิกเตนสไตน์|ลิกเตนสไตน์]] ส่วนมากของ[[ประเทศสวิตเซอร์แลนด์|สวิตเซอร์แลนด์]] [[ประเทศลักเซมเบิร์ก|ลักเซมเบิร์ก]] แคว้นปกครองตนเอง[[แคว้นปกครองตนเองเตรนตีโน-อัลโตอาดีเจ|เตรนตีโน-อัลโตอาดีเจ]]ใน[[ประเทศอิตาลี|อิตาลี]] แคว้นทางตะวันออกของ[[ประเทศเบลเยียม|เบลเยียม]] บางส่วนของ[[ประเทศโรมาเนีย|โรมาเนีย]] [[แคว้นอาลซัส]]และบางส่วนของ[[แคว้นลอแรน]]ใน[[ประเทศฝรั่งเศส|ฝรั่งเศส]]
เส้น 29 ⟶ 31:
[[ชาวอามิช]] รวมถึง[[ชาวเมนโนไนต์]]บางคนก็เป็นภาษาเยอรมันอย่างหนึ่ง ประมาณ 120 ล้านคน คือ 1/4 ของชาวยุโรปทั้งหมด พูดภาษาเยอรมัน ภาษาเยอรมันเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนทั่วโลกมาเป็นอันดับ 3 และเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ใน[[ยุโรป]] (เป็นรองภาษาอังกฤษ) [[สหรัฐอเมริกา]] และ[[เอเชียตะวันออก]] (ประเทศญี่ปุ่น) เป็นหนึ่งในภาษาราชการของ[[สหภาพยุโรป]]
 
== ระบบเขียน ==
[[ไฟล์:Knowledge German EU map.png|thumb|333px|ผู้รู้ภาษาเยอรมันในกลุ่มประเทศ[[สหภาพยุโรป]]]]
ภาษาเยอรมันใช้[[อักษรละติน]]ในการเขียนเช่นเดียวกับภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป และมีอักขระพิเศษอีก 4 ตัว เป็นสระที่มีอุมเลาท์ (umlaut) 3 ตัว ได้แก่ ''ä ö'' และ ''ü'' กับอักษรเอสเซ็ท ß แต่สำหรับภาษาเยอรมันมาตรฐานของประเทศสวิตเซอร์แลนด์และลิกเตนสไตน์จะใช้ ''ss'' แทน ''ß'' ไม่ใช้ตัว ''ß'' เลย
 
ภาษาเยอรมันเป็นภาษาที่สามารถสังเกตเห็นได้ง่าย เพราะมีระบบเขียนที่เป็นเอกลักษณ์หลายประการ เช่น อักขระที่มีอุมเลาท์ข้างต้น การใช้อักษรตัวใหญ่เริ่มต้นคำนามทุกคำ (ซึ่งเป็นระเบียบที่เคยแพร่หลายในยุโรปเหนือแต่ปัจจุบันเหลืออยู่ไม่กี่ภาษา โดยเยอรมันเป็นภาษาที่ใหญ่ที่สุดที่ยังคงทำเช่นนี้) และการเขียนคำประสมติดกันโดยไม่เว้นวรรค (ต่างจากภาษาอังกฤษที่เวลานำคำนามมาประสมกันจะเว้นวรรคคั่น) ทำให้ภาษาเยอรมันสามารถมีคำประสมที่ยาวมาก ตัวอย่างเช่น คำเยอรมันที่ยาวที่สุดที่เคยมีการตีพิมพ์ คือ {{lang|de|Donaudampfschiffahrtselektrizitätenhauptbetriebswerkbauunterbeamtengesellschaft}} มี 79 ตัวอักษร อย่างไรก็ตาม เพื่อความสะดวกในการอ่าน คำที่ประสมจากคำนามมากกว่า 3-4 คำถือว่าพบได้ยาก นอกเหนือจากบริบทอารมณ์ขัน
 
ก่อนการปฏิรูประบบเขียนภาษาเยอรมัน ค.ศ.1996 อักษร ''ß'' ใช้แทน ''ss'' หลังสระเสียงยาวหรือสระประสม ก่อนพยัญชนะ และท้ายคำหรือหน่วยคำ หลังการปฏิรูปไปแล้ว จะใช้ ''ß'' แทน ''ss'' เฉพาะหลังสระเสียงยาวหรือสระประสมเท่านั้น
 
เนื่องจากตัว ''ß'' ไม่สามารถเริ่มต้นคำได้ ในอดีตจึงไม่เคยมีการคิดตัวอักษร ''ß'' ตัวใหญ่ขึ้นใช้ เมื่อจำเป็นต้องใช้ ''ß'' ตัวใหญ่ (เช่นเมื่อใช้ตัวใหญ่ทั้งคำ) ก็จะใช้ ''SS'' แทน เช่นคำว่า ''{{lang|de|Maßband}}'' ("ตลับเมตร") เขียนตัวใหญ่เป็น ''{{lang|de|MASSBAND}}'' ยกเว้นในชื่อที่เป็นอักษรตัวใหญ่ในเอกสารราชการ อนุโลมให้คง ''ß'' ตัวเล็กเอาไว้เพื่อป้องกันความสับสน (เช่น "''{{lang|de|KREßLEIN}}''" ไม่ใช่ "''{{lang|de|KRESSLEIN}}''") จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2017 ได้มีการบรรจุอักษร ''ẞ'' เป็นอักษรตัวใหญ่ของ ''ß'' ลงในระบบเขียน<ref>{{cite web|url=https://qz.com/1033265/germanys-century-long-debate-over-a-missing-letter-in-its-alphabet|title=Germany has ended a century-long debate over a missing letter in its alphabet|last=Ha|first=Thu-Huong|language=English|accessdate=5 December 2017|quote=According to the council’s 2017 spelling manual: When writing the uppercase [of ß], write SS. It’s also possible to use the uppercase ẞ. Example: Straße — STRASSE — STRAẞE.}}</ref>
 
หากไม่สะดวกที่จะพิมพ์สระอุมเลาท์ (''ä ö'' ''ü'') ทั่วไปสามารถใช้ ''ae'' ''oe'' ''ue'' แทน และใช้ ''ss'' แทน ''ß'' ในทำนองเดียวกัน แต่หากสามารถพิมพ์ได้ก็ควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากวิธีการนี้ถือเป็นเพียงวิธีการเฉพาะหน้า มิใช่การเขียนที่ถูกต้องตามระเบียบ
 
ในการจัดลำดับคำในพจนานุกรม ไม่มีระเบียบที่เป็นสากลว่าควรจัดตัวอักษรที่มีอุมเลาท์อย่างไร ในสมุดโทรศัพท์มักมองอักษรอุมเลาท์ว่าเป็นสระฐานกับตัว ''e'' เช่น ''{{lang|de|Ärzte}}'' อยู่หลัง ''{{lang|de|Adressenverlage}}'' แต่มาก่อน ''{{lang|de|Anlagenbauer}}'' เพราะมอง ''{{lang|de|Ärzte}}'' เป็น ''{{lang|de|Aerzte}}'' ส่วนในพจนานุกรมมักจัดคำที่มีอุมเลาท์ไว้หลังคำที่เหมือนกันที่ไม่มีอุมเลาท์ เช่น ''{{lang|de|Ärzte}}'' มาหลัง ''{{lang|de|Arzt}}'' แต่ก่อน ''{{lang|de|Ass}}'' และก็มีพจนานุกรมบางฉบับจะเอาคำที่มีอุมเลาท์ทุกคำไปต่อท้ายสุด คือทุกคำที่ขึ้นต้นด้วย ''Ä'' จะอยู่เป็นหมวดแยกหลังทุกคำที่ขึ้นต้นด้วย ''A'' นอกจากนี้พจนานุกรมเก่าแก่บางฉบับจะแยกเอา ''Sch'' และ ''St'' ไปเป็นหมวดแยกหลังหมวด ''S'' แต่โดยทั่วไปจะถือว่าเป็น S+C+H และ S+T
 
การใช้เครื่องหมายคำพูดในภาษาเยอรมัน นิยมใช้เครื่องหมายกลับด้านออก เช่น ''{{lang|de|„Guten Morgen!“}}''
 
== ดูเพิ่ม ==