ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทวี ไกรคุปต์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pphongpan355 (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนกลับไปรุ่นที่ 8326110 โดย Gong102ด้วยสจห.
ป้ายระบุ: ทำกลับ
Jutiphan (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนกลับไปรุ่นที่ 8326076 โดย Pitpisitด้วยสจห.
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 35:
 
== งานการเมือง ==
ทวี ลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี และได้รับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก ใน พ.ศ. 2522 ได้รับเลือกเรื่อยมา จนถึงปี พ.ศ. 2539 ส่วนการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2544 ได้ลงสมัครในนาม[[พรรคไทยรักไทย]] แต่แพ้ให้กับนาง[[ประไพพรรณ เส็งประเสริฐ]] จาก[[พรรคประชาธิปัตย์]] ต่อมาจึงวางมือ โดยให้นางปารีณา บุตรสาวลงสมัครรับเลือกตั้งแทน
 
ทวี ไกรคุปต์ เคยได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เมื่อปี พ.ศ. 2523 และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย เมื่อปี พ.ศ. 2535<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/A/103/1.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย)]</ref> วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ทวี ไกรคุปต์ได้เดินทางมาสมัครเป็นสมาชิก [[พรรคพลังประชารัฐ]] พร้อมกับนาย [[บุญจง วงศ์ไตรรัตน์]]
บรรทัด 49:
# [[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539]] จังหวัดราชบุรี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
 
=== หลังจากวางมือทางการเมือง ===
<br />
ช่วง[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549]] ทวี ได้นั่งอดข้าวประท้วงที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน ตั้งแต่เวลาเที่ยง เพื่อประท้วงการปฏิวัติยึดอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
 
ในปี พ.ศ. 2557 นายทวี ได้เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับกลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) สนับสนุน[[แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ]]<ref>[https://www.youtube.com/watch?v=UZzJ3LOR_Es ทวี ไกรคุปต์ เวที กวป หน้าสำนักงาน ปปช สนามบินน้ำ นนทบุรี 27-3-14]</ref>
 
== คดีความ ==
=== คดีหมิ่นประมาทนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ===
ทวี ไกรคุปต์ ถูกศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อปี พ.ศ. 2546 ในฐานความผิดหมิ่นประมาทนายสุเทพ เทือกสุบรรณ<ref>[https://www.decha.com/article/section/relieve_lawyer/4214 ฎีกาแก้! ให้รอลงอาญา “ทวี ไกรคุปต์” หมิ่น “สุเทพ” ส่อโกงอีริเดียม]</ref> โดยการลงพิมพ์บทความในหนังสือพิมพ์มติชน ว่านายสุเทพมีพฤติการณ์ทุจริตในโครงการโทรศัพท์ผ่านสัญญาณดาวเทียมอิริเดียม ลงโทษจำคุก 3 เดือน และปรับ 5,000 บาท แต่โทษจำคุกให้ยก คงโทษปรับสถานเดียว ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น และศาลฎีกา มีคำพิพากษาลงโทษจำคุก 3 เดือน โดยให้รอการลงโทษ 2 ปี<ref>http://www.supremecourt.or.th/file/elc/News%20Clips%20for%20INTERNET/May2552/29dailynews.pdf</ref>
 
=== คดีทารุณกรรมสัตว์ ===
ทวี ไกรคุปต์ได้ใช้อาวุธปืนยิงสุนัขจนตาย ที่ บริเวณถนนหน้าร้านสะดวกซื้อ 7-11 สาขาชัฎป่าหวาย อำเภอสวนผึ้ง โดยใช้อาวุธปืนยิงสุนัขเร่ร่อนที่นอนอยู่หน้าร้านเซเว่น เบื้องต้นทราบว่านายทวี ขับรถไปซื้อของที่ร้านสะดวกซื้อดังกล่าว ขณะออกจากร้านสุนัขตัวดังกล่าวกัดเข้าที่ขา นายทวีจึงโมโห เดินกลับไปที่รถหยิบอาวุธปืนมารัวยิงสุนัขถึง 5 นัด ทั้งนี้สืบสวนสอบสวนมีพยานเห็น แต่กล้องวงจรปิดหน้าร้านสะดวกซื้อไม่สามารถจับภาพได้ ตำรวจจึงตามไปที่บ้านเชิญตัวสอบปากคำเบื้องต้น พร้อมสั่งการฝ่ายสืบสวนรวบรวมภาพจากกล้องภายในร้านเพื่อยืนยันทางหนึ่งแล้ว<ref>[https://www.matichon.co.th/local/news_62542 “ทวี ไกรคุปต์” อดีต สส.ราชบุรี ปืนดุ รัว 5 นัด เจ้าตูบหน้า 7-11 ตายคาที่ ตำรวจแจ้งข้อหาทารุณสัตว์]</ref> เบื้องต้นดำเนินคดี แจ้งข้อกล่าวหา ทารุณกรรมสัตว์ตาม พ.ร.บ. ป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ ม.20 ที่ว่าห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการอันเป็นการทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควร ซึ่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 20 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ข้อหา พกอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน ทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต และยิงปืนโดยไม่มีเหตุอันควร
 
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==