ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอกซ์บอกซ์ (เครื่องเล่นวิดีโอเกม)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 86:
เอกซ์บอกซ์วางจำหน่ายอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2544 เกมวางจำหน่ายที่ได้รับความนิยมพร้อมเครื่องอย่าง ''[[เฮโล: คอมแบทอิวอลฟด์]]'', ''[[โปรเจกต์ก็อตแธมเรซิ่ง]]'' และ ''[[เดดออร์อะไลฟ์ 3]]'' โดยทั้ง 3 เกมนั้นมียอดขายเกิน 1 ล้านชุดในสหรัฐอเมริกา<ref>{{cite web|url=http://www.the-magicbox.com/Chart-USPlatinum.shtml|title=The Magic Box - US Platinum Chart Games.|publisher=|accessdate=December 30, 2016}}</ref>
 
แม้ว่าเอกซ์บอกซ์จะได้รับการสนับสนุนจากบริษัทภายนอกที่แข็งแกร่งตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง แต่เกมเอกซ์บอกซ์ในช่วงต้นจำนวนมากไม่ได้ใช้ฮาร์ดแวร์ที่มีประสิทธิภาพจนเต็มที่แม้ว่าจะวางจำหน่ายไปเป็นปี โดยเกมเวอร์ชันเอกซ์บอกซ์ของเกมที่ลงให้กับเครื่องเล่นวิดีโอเกมหลายเครื่องนั้นมักจะมาพร้อมกับการเพิ่มคุณสมบัติเล็กน้อยหรือการปรับปรุงด้านกราฟิกเพื่อแยกความแตกต่างจากเครื่องเพลย์สเตช้น 2 และเกมคิวบ์ ซึ่งทำให้จุดขายหลักของเอกซ์บอกซ์ไม่ได้รับการใส่ใจมาก ในช่วงเวลาสั้น ๆ โซนีโต้กลับเอกซ์บอกซ์ด้วยการรักษาเกมที่เป็นที่รอคอยอย่างมากให้เป็นเกมที่ลงเฉพาะเพลย์สเตชัน 2 ในช่วงเวลาหนึ่งอย่างเกมชุด ''[[แกรนด์เธฟต์ออโต]]'' และเกมชุด ''[[เมทัลเกียร์]]'' เช่นเดียวกับนินเทนโดที่รักษาเกมชุด ''[[เรซิเดนต์อีวิล]]'' ให้เป็นเกมเฉพาะเครื่อง[[เกมคิวบ์]] โดยบริษัทภายนอกเด่น ๆ ที่สนับสนุนเอกซ์บอกซ์คือ[[เซก้า]] ซึ่งประกาศว่ามีเกมจำนวน 11 เกมลงเฉพาะบนเอกซ์บอกซ์ในงาน[[โตเกียวเกมโชว์]]<ref>{{cite web|url=https://news.microsoft.com/2001/03/30/sega-and-microsoft-team-up-for-strategic-xbox-alliance/|title=Sega and Microsoft Team Up for Strategic Xbox Alliance - News Center|publisher=|accessdate=December 30, 2016}}</ref> เซก้าได้วางจำหน่ายเกมเฉพาะเอกซ์บอกซ์บนอย่างเอกซ์บอกซ์อย่าง ''[[เพนเซอร์ดรากูลออต้า]]'' และ ''[[เจ็ตเซ็ตเรดิโอฟิวเจอร์]]'' ซึ่งได้รับคำชมจากนักวิจารณ์<ref>{{cite web|url=http://www.gamerankings.com/xbox/537421-panzer-dragoon-orta/index.html|title=Panzer Dragoon Orta for Xbox - GameRankings|publisher=|accessdate=December 30, 2016}}</ref><ref>{{cite web|url=http://www.gamerankings.com/xbox/475263-jsrf-jet-set-radio-future/index.html|title=JSRF: Jet Set Radio Future for Xbox - GameRankings|publisher=|accessdate=December 30, 2016}}</ref>
 
ในปี 2545 และ 2546 การวางขายเกมที่มีชื่อเสียงสูงช่วยให้โมเมนตัมของเอกซ์บอกซ์ดีขึ้นและแยกตัวออกจากออกจากเพลย์สเตชัน 2 ไมโครซอฟท์ยังเข้าซื้อกิจการของแรร์ที่ทำเกมฮิตจำนวนมากบนเครื่องนินเทนโด 64 เพื่อที่จะขยายพอร์ตโฟลิโอของบริษัทเกมภายใน<ref name="ign.com">{{cite web|url=http://www.ign.com/articles/2002/09/24/microsoft-buys-rare|title=Microsoft Buys Rare|first=Aaron|last=Bouldling|date=September 24, 2002|publisher=|accessdate=December 30, 2016}}</ref> บริการเอกซ์บอกซ์ไลฟ์เริ่มให้บริการช่วงหลังปี 2545 พร้อมกับเกมอย่าง ''โมโตจีพี'' ''เมชแอสซอล'' และ''ทอม แคลนซี่ส์ โกสต์ รีคอน'' โดยเกมขายดีและได้รับคำวิจารณ์ในแง่บวกหลายเกมก็ออกตามมาเช่นทอม แคลนซี สปลินเตอร์ เซลล์และ ''[[สตาร์ วอร์ส: ไนทส์ออฟดิโอลด์รีพับลิค (วิดีโอเกม)|สตาร์ วอร์ส: ไนทส์ออฟดิโอลด์รีพับลิค]]'' เมื่อข้อตกลงของ [[Take-Two Interactive]] ที่จะทำเกมลงเฉพาะกับโซนีมีการแก้ไขเพื่อให้ ''[[แกรนด์เธฟต์ออโต III]]'' และภาคต่อวางจำหน่ายบนเอกซ์บอกซ์ บริษัทจัดจำหน่ายอื่นก็เริ่มที่จะนำเกมลงเอกซ์บอกซ์ โดยออกวางจำหน่ายห่างจากเวอร์ชันเพลย์สเตชัน 2 หลายเดือน