ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เศรษฐศาสตร์จุลภาค"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kinkku Ananas (คุย | ส่วนร่วม)
แก้แม่แบบอ้างอิง
Kinkku Ananas (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
'''เศรษฐศาสตร์จุลภาค''' ({{lang-en|microeconomics}}) เป็นสาขาของ[[เศรษฐศาสตร์]]ซึ่งศึกษาการตัดสินใจในระดับบุคคลหรือองค์กรธุรกิจ และความสัมพันธ์ของการตัดสิดใจของแต่ละฝ่าย<ref name="Palgrave Microeconomics" /><ref name="Tubaro 2015" /> เศรษฐศาสตร์จุลภาคแตกต่างจาก[[เศรษฐศาสตร์มหภาค]] ที่พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทางเศรษฐกิจในระดับมวลรวม เช่น [[ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ|ผลิตภัณฑ์มวลรวม]] [[ภาวะเงินเฟ้อ|อัตราเงินเฟ้อ]] [[การว่างงาน|อัตราการว่างงาน]] เป็นต้น
 
หัวข้อศึกษาหลักข้อหนึ่งของเศรษฐศาสตร์จุลภาคคือการศึกษากลไกการทำงานของ[[ตลาด (เศรษฐศาสตร์)|ตลาด]] ซึ่งกำหนด[[ราคา]]ของสินค้าต่างๆ และจัดสรรสินค้าเหล่านั้นให้กับแต่ละฝ่าย แบบจำลองเศรษฐศาสตร์จุลภาค มีฐานเริ่มต้นเป็นการตัดสินใจของแต่ละผู้บริโภคแต่ละคนที่ต้องการตัดสินใจเพื่อให้ได้รับ[[อรรถประโยชน์]]สูงสุด และองค์กรธุรกิจที่ต้องการ[[กำไร]]สูงสุด แบบจำลองเศรษฐศาสตร์จุลภาค มักมีพื้นฐานเป็นปัญหา[[การเลือกที่หาค่าเหมาะที่สุด]]ทางคณิตศาสตร์
 
นักเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาคเพื่อศึกษาหัวข้อเฉพาะทางต่างๆ เช่น ตลาดแรงงาน สาธารณสุข การศึกษา เป็นต้น
บรรทัด 15:
=== ระเบียบวิธีและข้อสมมติพื้นฐาน ===
 
ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาคเป็นการจำลองพฤติกรรมของบุคคลหรือองค์กรต่างๆ และศึกษาความสัมพันธ์ของการตัดสินใจเหล่านั้น โดยแต่ละบุคคลเลือกทางเลือกที่ตัวเองต้องการมากที่สุดในบรรดาทางเลือกที่เป็นไปได้ของตัวเอง แบบจำลองทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จึงมีลักษณะเป็น[[การหาค่าที่เหมาะที่สุด]]ทางคณิตศาสตร์<ref name="Palgrave Microeconomics" /> (แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์จุลภาคอาจถือเอาว่าองค์กรธุรกิจแต่ละหน่วยเปรียบเสมือนมีผู้ตัดสินใจหนึ่งคน <ref name="Shubik 1970" />) แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์จุลภาคจึงประกอบไปด้วยการระบุผู้ตัดสินใจ ทางเลือกที่ทำได้ และวัตถุประสงค์ของผู้ตัดสินใจ วัตถุประสงค์ของผู้ตัดสินใจนี้ มักจะเป็นการทำกำไรสูงสุด ในกรณีขององค์กรธุรกิจ หรือ[[อรรถประโยชน์]]สูงสุด ในกรณีของปัจเจกบุคคล<ref name="Palgrave Microeconomics" />
 
=== อุปสงค์และอุปทานในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ===